แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) PDF
Document Details
Uploaded by SharperFife201
Chonradsadornumrung School
ศิริชัย วิชชุวัชรากร
Tags
Related
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (PDF)
- Philippine Development Plan 2023-2028 PDF
- 13th Five Year Plan (2024-2029) Royal Government of Bhutan PDF
- Vision Sénégal 2050 - Stratégie nationale de Développement 2025-2029 PDF
- 12th Five Year Plan Guideline (2018-2023) PDF
- Rencana Induk Pembangunan Industri Nasional 2015-2035 PDF
Summary
เอกสารนี้เป็นร่างของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของประเทศไทย มีการอธิบายหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ และเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
Full Transcript
เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิข์ องนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ๑. หลักการและแนวคิด (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเท...
เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิข์ องนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ๑. หลักการและแนวคิด (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้สามารถบรรลุผลตาม เป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่ก ำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ช าติ โดยมุ่งหวังให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ทำหน้าที่เป็นกลไกในการชี้ประเด็นที่มีล ำดับความสำคัญสูงต่อการพัฒนาประเทศในระยะ ๕ ปี และเพื่อ ผลักดันให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนสู่ความเจริญเติบโตที่ ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ อย่างเท่าเทียมกัน โดย (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ ได้กำหนดทิศทางและเป้าหมายของการพัฒนาบนพื้นฐานของ หลักการและแนวคิดที่สำคัญ ๔ ประการ ได้แก่ ๑.๑ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสืบสาน รักษา ต่อยอดการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความ พอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีควบคู่กับการใช้เงื่อนไข ๒ ประการเพื่อกำกับการกำหนดทิศทางและ ประเด็นการพัฒนาในส่วนต่ าง ๆ ได้แก่ เงื่อนไขความรู้โดยการใช้องค์ความรู้ทางวิชาการที่รอบด้าน และเงื่อนไข คุณธรรม โดยยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนและความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคม ๑.๒ แนวคิด Resilience ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการลดความเปราะบางต่อความเปลี่ยนแปลงอันประกอบด้วยการพัฒนาความสามารถ ใน ๓ ระดับ ได้แก่ (๑) การพร้อมรับ (Cope) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้สภาวะวิกฤติ ให้ สามารถยืนหยัดและต้านทานความยากลำบาก รวมถึงฟื้นคืนกลับ สู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว (๒) การปรับตัว (Adapt) หมายถึง การปรับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการพัฒนาให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมกระจาย ความเสี่ยงและปรับตัวอย่างเท่าทันเพื่อแสวงหาประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น และ (๓) การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติ บโต อย่างยั่งยืน (Transform) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง ๑.๓ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติซึ่งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยมุ่ง เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุก กลุ่ม ทั้งในมิติของการมีปัจจัยที่จ ำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานที่ เพียงพอ การมีสภาพแวดล้อมที่ดี การมีปัจจัยสนับสนุนให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การมีโอกาสที่จะ ใช้ศักยภาพของตนในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และการมุ่งส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีไปยังคนรุ่นต่อไป ๑.๔ โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใน ๓ รูปแบบควบคู่กัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว โดยอาศัยฐานศักยภาพและความเข้มแข็งของประเทศอันประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๑ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) และความหลากหลายทางวัฒนธรรม พร้อมกับการใช้ ประโยชน์จากองค์ความรู้ทางดานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อผลักดันให้ประเทศมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และสามารถกระจาย รายได้ โอกาส และความมั่งคั่งได้อย่างทั่วถึง ๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา การวางกรอบการพัฒนาประเทศในระยะ ๕ ปี ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ มีความมุ่งหมายที่จะเร่ง เพิ่ม ศักยภาพของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงและเสริมสร้างความสามารถ ในการ สร้างสรรค์ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที การกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ พลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่า อย่างยั่งยืน” ซึ่งหมายถึง การสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับโครงสร้าง นโยบาย และกลไก เพื่อมุ่ง เสริมสร้างสังคมที่ก้าวทันพลวัตของโลก และเกื้อหนุนให้คนไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อม กับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์มีความสามารถใน การสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูง และคำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ ได้กำหนดเป้าหมายหลักจำนวน ๕ ประการ ประกอบด้วย ๒.๑ การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการสำคัญให้สูงขึ้น และสามารถตอบ โจทย์พัฒ นาการของเทคโนโลยีและสั งคมยุค ใหม่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงเศรษฐกิจท้องถิ่ น และ ผู้ประกอบการรายย่อยกับห่วงโซ่มูลค่าของภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย รวมถึงพัฒนาระบบนิเวศที่ส่งเสริมการค้า การลงทุนและนวัตกรรม ๒.๒ การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ โดยพัฒนาให้คนไทยมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับ โลกยุคใหม่ ทั้งทักษะในด้านความรู้ทักษะทาง พฤติกรรม และคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม เตรียมพร้อมกำลังคนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดแรงงาน เอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ภาคการผลิตและบริการเป้าหมายที่มีศักยภาพและผลิตภาพ สูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาหลักประกันและความคุ้มครองทางสังคมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงในชีวิต ๒.๓ การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม โดยลดความเหลื่อมล้ำทั้งในเชิงรายได้ความมั่งคั่ง และโอกาสในการแข่งขันของภาคธุรกิจ สนับสนุนช่วยเหลือ กลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาสให้มี โอกาสในการเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงจัดให้มีบริการสาธารณะที่มี คุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๒ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิข์ องนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ๒.๔ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน โดยปรับ ปรุงการใช้ทรัพ ยากรธรรมชาติในการผลิต และบริโ ภคให้ม ีประสิ ทธิภ าพและสอดคล้ องกั บ ขี ด ความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ แก้ไขปัญหามลพิษสำคัญด้วยวิธีการที่ยั่งยืน โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ ขยะ และมลพิษทางน้ำ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในครึ่งแรกของศตวรรษนี้ ๒.๕ การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้ บริบทโลกใหม่ โดยการสร้างความพร้อมในการรับมือและแสวงหาโอกาสจากการเป็นสังคมสูงวัย การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ภัยโรคระบาด และภัยคุกคามทางไซเบอร์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกลไกทางสถาบันที่เอื้อต่อการ เปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารงานของภาครัฐให้สามารถตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงของบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีได้อย่างทันเวลา มีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล โดยตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาในภาพรวมในแต่ละเป้าหมายหลัก มีดังนี้ เป้าหมายหลัก ตัวชี้วัด สถานะปัจจุบัน ค่าเป้าหมายในปี ๒๕๗๐ ๒.๑ การปรับโครงสร้าง รายได้ประชาชาติต่อหัว ๗,๐๕๐ เหรียญสหรัฐ ๘,๘๐๐ เหรียญสหรัฐ การผลิตสู่เศรษฐกิจ ในปี ๒๕๖๓ ฐานนวัตกรรม ๒.๒ การพัฒนาคน ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ๐.๗๗๗ ๐.๘๒๐ สำหรับโลกยุคใหม่ (การพัฒนามนุษย์ระดับสูง) (การพัฒนามนุษย์ระดับ ในปี ๒๕๖๒ สูงมาก) ๒.๓ การมุ่งสู่สังคมแห่ง ความแตกต่างของความ (Top ๑๐ / Bottom ๔๐) ต่ำกว่า ๕ เท่า โอกาสและความเป็น เป็นอยูร่ ะหว่างกลุ่ม ๕.๖๖ เท่า ธรรม ประชากรที่มีฐานะทาง ในปี ๒๕๖๒ เศรษฐกิจสูงสุดร้อยละ ๑๐ และต่ำสุดร้อยละ ๔๐ ๒.๔ การเปลี่ยนผ่าน ปริมาณการปล่อย การปล่อยก๊าซ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไปสู่ความยั่งยืน ก๊าซเรือนกระจก เรือนกระจกในภาค โดยรวม (สาขาพลังงานและ พลังงานในปี ๒๕๖๓ ขนส่ง/อุตสาหกรรม/การ ลดลงร้อยละ ๑๖ จัดการของเสีย) ลดลงไม่น้อย จากการปล่อย กว่าร้อยละ ๑๕ จากการ ในกรณีปกติ ปล่อยในกรณีปกติ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๓ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) ๒.๕ การเสริมสร้าง ดัชนีรวมสะท้อนความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย ๔ ตัวชี้วัดย่อย ความสามารถของ คือ ประเทศในการรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงและ ๑) ขีดความสามารถของ ร้อยละ ๘๕ ร้อยละ ๙๐ ความเสี่ยงภายใต้บริบท การปฏิบัติตามกฎอนามัย ในปี ๒๕๖๓ โดยสมรรถนะหลักแต่ละ โลกใหม่ ระหว่างประเทศและการ ด้านไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ เตรียมความพร้อมฉุกเฉิน ด้านสุขภาพ ๒) อันดับความเสี่ยงด้าน อันดับเฉลี่ย ๕ ปี อันดับเฉลี่ย ๕ ปี ภูมิอากาศ (๒๕๕๘-๒๕๖๒) (๒๕๖๖-๒๕๗๐) เท่ากับ ๓๖.๘ ไม่ตำ่ กว่า ๔๐ ๓) อันดับความสามารถใน อันดับที่ ๓๙ อันดับที่ ๓๓ การแข่งขันด้านดิจิทัล ในปี ๒๕๖๓ ๔) อันดับประสิทธิภาพ อันดับที่ ๒๐ อันดับที่ ๑๕ ของรัฐบาล ในปี ๒๕๖๔ ๓. หมุดหมายการพัฒนา เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจนในลักษณะของวาระการพัฒนา (Agenda) ที่ เอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนในการผลักดันการพัฒนาในเรื่องใดเรื่องหนี่งให้ เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ จึงได้กำหนดหมุดหมายการพัฒนา จำนวน ๑๓ ประการ ซึ่งเป็น การบ่งบอกถึงสิ่งที่ประเทศไทยปรารถนาจะ ‘เป็ น’ มุ่งหวังจะ ‘มี’ หรือต้องการจะ‘ขจัด’ เพื่อสะท้อนประเด็นการ พัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูงต่อการพลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” และ การบรรลุเป้าหมายหลักในช่วงระยะเวลา ๕ ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ โดยหมุดหมายการพัฒนาทั้ง ๑๓ ประการ มีที่มาจากการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของไทยในการพัฒนาประเทศภายใต้กรอบของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งได้มีการ พิจารณาถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -๑๙ รวมถึงผลการพัฒนาใน ประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งนี้ หมุดหมายการพัฒนาที่กำหนดขึ้นเป็นประเด็นที่มีลักษณะเชิงบูรณาการ ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาทั้ง ในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ทำให้หมุดหมายแต่ละประการสามารถ สนับสนุนเป้าหมายหลักได้มากกว่าหนึ่งข้อ โดยหมุดหมายทั้ง ๑๓ ประการ แบ่งออกได้เป็น ๔ มิติ ดังนี้ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๔ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิข์ องนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ๓.๑ มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมายที่ ๒ ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน หมุดหมายที่ ๓ ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก หมุดหมายที่ ๔ ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง หมุดหมายที่ ๕ ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค หมุดหมายที่ ๖ ไทยเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่สำคัญของโลก ๓.๒ มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม หมุดหมายที่ ๗ ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ หมุดหมายที่ ๘ ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน หมุดหมายที่ ๙ ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม ๓.๓ มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมุดหมายที่ ๑๐ ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ หมุดหมายที่ ๑๑ ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ๓.๔ มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ หมุดหมายที่ ๑๒ ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต หมุดหมายที่ ๑๓ ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน โดยตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระดับหมุดหมาย มีดังนี้ หมุดหมาย ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้า - รายได้สุทธิต่อครัวเรือนเกษตรกร ไม่ต่ำกว่า ๕๓๗,๐๐๐ เกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง บาท ต่อครัวเรือน เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ - พื้นที่ทำเกษตรกรรมยั่งยืน เพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ ล้านไร่ เมื่อ สิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ - มีตลาดกลางสินค้าเกษตรภูมิภาคในภาคเหนือ ๒ แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ แห่ง ภาคใต้ ๒ แห่ง ภาค กลาง ๑ แห่ง และภาคตะวันออก ๑ แห่ง เมื่อสิ้นสุด แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๕ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) - ระบบชลประทานมีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ - ผู้ประกอบการเกษตรเพิ่มขึ้น ปีละ ๔,๐๐๐ ราย หมุดหมายที่ ๒ ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่ - นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมีค่าใช้จ่ายต่อวัน เน้นคุณภาพและความยั่งยืน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๑๐ ต่อปี - รายได้จากการท่องเที่ยวเมืองท่องเที่ยวรองเฉลี่ยทุกเมือง เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ ต่อปี - รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ ต่อปี - ผู้ประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวได้รับมาตรฐานการ ท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ ต่อปี หมุดหมายที่ ๓ ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ - ปริมาณการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ ๒๖ ของ สำคัญของโลก ยานยนต์ทั้งหมด ภายในปี ๒๕๗๐ - ปริมาณการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ ๑๗ ของ ยานยนต์ทั้งหมด ภายในปี ๒๕๗๐ - อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นฐานการผลิตอันดับ ๑ ใน อาเซียน และอยู่อันดับ ๑ ใน ๑๐ ของโลก - จำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ/หัวจ่ายชาร์จเร็ว เพิ่มขึ้น ๕,๐๐๐ หัวจ่าย ภายในปี ๒๕๗๐ หมุดหมายที่ ๔ ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และ - สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนต่อค่าใช้จ่าย สุขภาพมูลค่าสูง สุขภาพทั้งหมดไม่เกินร้อยละ ๑๒ หมุดหมายที่ ๕ ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและ - ดัชนีประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศอยู่ใน ยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค อันดับไม่ต่ำกว่าอันดับที่ ๒๕ หมุดหมายที่ ๖ ไทยเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์ - จำนวนผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของโลก อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่สำคัญของโลก ลงทุนในประเทศไทยอย่างน้อย ๓ ราย ภายในปี ๒๕๗๐ - จำนวนสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นเป็น ๓๐๐ แห่ง ภายในปี ๒๕๗๐ หมุดหมายที่ ๗ ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด - จำนวนสตาร์ทอัพ ซีรีย์ซี เพิ่มขึ้นเป็น ๒๐ ราย ภายในปี ย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ ๒๕๗๐ หมุดหมายที่ ๘ ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ - เมืองอัจฉริยะมีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า ๑๐๕ พื้นที่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ภายในปี ๒๕๗๐ หมุดหมายที่ ๙ ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคน - แรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า ไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ ร้อยละ ๖๐ ของกำลังแรงงานรวม เหมาะสม - สัดส่วนผู้สูงอายุที่ยากจนลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ ๔ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๖ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิข์ องนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! หมุดหมายที่ ๑๐ ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคม - พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น โดยเป็นป่าไม้ธรรมชาติ ร้อยละ ๓๓ คาร์บอนต่ำ และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ ร้อยละ ๑๒ ของพื้นที่ประเทศภายในปี ๒๕๗๐ - ปริมาณขยะต่อหัวในปี ๒๕๗๐ ลดลงจากปี ๒๕๖๐ ร้อย ละ ๑๐ หมุดหมายที่ ๑๑ ไทยสามารถลดความเสี่ยงและ - จำนวนประชาชนที่เสียชีวิต สูญหาย และได้รับ ผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพ ผลกระทบโดยตรงจากภัยธรรมชาติ ลดลงไม่น้อยกว่าร้อย ภูมิอากาศ ละ ๓๐ จากค่าเฉลี่ย ๕ ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ใน แต่ละภัย หมุดหมายที่ ๑๒ ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้ - ดัชนีพัฒนาการเด็กสมวัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘๘ ณ สิ้น อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต สิ้นสุดแผนฯ หมุดหมายที่ ๑๓ ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ - ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของภาครัฐ ไม่ และตอบโจทย์ประชาชน น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ บรรณานุกรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ตุลาคม ๒๕๖๔). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” ใช้สำหรับการประชุม รับฟังความคิดเห็น. สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๗ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law