บทที่ 1 การรู้ดิจิทัล การใช้คอมและสมาร์ทดีไวท์ PDF
Document Details
Uploaded by RecommendedOnyx7828
Tags
Summary
This document is about digital literacy, computer usage, and smart devices. It introduces the concept of digital literacy and its importance. The document also discusses the differences between digital literacy and information technology skills. It also covers various aspects of computer usage and the use of smart devices.
Full Transcript
1 บทที่ 1 การรู้ดิจิทัล การใช้งานคอมพิวเตอร์และสมาร์ทดีไวท์ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายความหมายและความสาคัญของการรู้ดิจิทัลได้ 2. บอกข้อแตกต่างระหว่างทักษะการรู้ดิจิทัลและทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวก...
1 บทที่ 1 การรู้ดิจิทัล การใช้งานคอมพิวเตอร์และสมาร์ทดีไวท์ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายความหมายและความสาคัญของการรู้ดิจิทัลได้ 2. บอกข้อแตกต่างระหว่างทักษะการรู้ดิจิทัลและทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และสมาร์ทดีไวท์ 4. มีความรู้ความเข้าใจการใช้งานคอมพิวเตอร์และการใช้สมาร์ทดีไวท์เบื้องต้น 5. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์และการติดตั้งแอพ พลิเคชันบนสมาร์ทดีไวท์ วิธีการสอน/กิจกรรมการเรียนการสอน 1. สอนบรรยายพร้อมสาธิตการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นและ Smart device 2. ทางานตามใบงาน 1 ตามโจทย์กาหนดไว้ การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 1. มีส่วนร่วมในชั้นเรียน 2. การตอบคาถามจากใบงาน 2 บทนา ปัจจุบนั เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทลั ซึ่งเข้ามามี บทบาทอย่างมากในชีวิตประจาวัน เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน หรือสื่อ สังคมออนไลน์ในการติดต่อสื่อสาร ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ในทางาน เป็นต้น ซึง่ พบว่าส่วน ใหญ่ยังใช้งานเทคโนโลยีดิจิทลั เพื่อความบันเทิง ขาดความเข้าใจที่แท้จริงในเรื่องการใช้สื่อดิจิทลั ซึง่ อาจทาให้เกิดปัญหาของความปลอดภัยของข้อมูลหรือการถูกล่อลวงในโลกออนไลน์ได้งา่ ย ดังนั้นทุกคนจึงควรมีความตระหนักความรู้ความเข้าใจทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ หรือทักษะการรู้ดิจิทัลซึ่งเป็นทักษะสาคัญที่ผู้เรียนจาเป็นต้อง มีในการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เนื้อหา 1. การรู้ดิจิทัล 2. ความหมายและประเภทของคอมพิวเตอร์ 3. ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ 4. การติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 5. การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 6. ความหมายของสมาร์ทดีไว 7. ประเภทของสมาร์ทดีไว 8. ระบบปฏิบัติการของสมาร์ทดีไว 9. การเลือกใช้สมาร์ทดีไว 10. การใช้งานสมาร์ดไี วเบื้องต้น การรู้ดิจิทัล ความก้า วหน้าของเทคโนโลยีส ารสนเทศในปัจจุ บันมี การเปลี่ย นแปลงอย่างรวดเร็ว นาไปสู่สังคมดิจิทัล ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการดาเนินชีวิตและพฤติกรรมการ 3 ทางาน ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงสารสนเทศ มีปฎิสัมพันธ์ในการสื่อสาร สามารถสร้างและเผยแพร่ สารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วยการนาสารสนเทศดิจิทัลมาเรียบเรียง ดัดแปลงในรูปแบบ ต่าง ๆ และแบ่งปันโดยการโพสต์เผยแพร่สารสนเทศเหล่านั้น คนในสังคมจึงต้องมีความรู้ความ เข้าใจมีทักษะ และมีความสามารถในการเชื่อมโยงทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบการสื่อสารและการ จัดการสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้รัฐบาลไทยได้มีโมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เปลี่ยน เศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่เน้นเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และภาคบริการภายใต้วิสัยทัศน์ มั่นคง มั่นคั่งและยั่งยืนที่เรียกว่า ประเทศไทย 4.0 และกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ความสาคัญกับการพัฒนา “การรูด้ ิจิทัล (Digital Literacy)” โดย กาหนดการรู้ดิจิทัลลงในแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในยุทธศาสตร์ ที่ 3 สร้างสังคม คุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีเป้ าหมาย คือ ให้ประชาชนทุกคนมีความ ตระหนักความรู้ความเข้าใจทักษะในการใช้ เทคโนโลยีดิ จิทัล ให้ เกิดประโยชน์ และสร้างสรรค์ (สานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2562) ทั้งนี้การรู้ดิจิทัลจึงเป็น ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนจาเป็นต้องเรียนรู้ควบคู่ไปกับทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหา เพื่อเป็นบุคคลที่พร้อมเรียนรู้อยู่ ตลอดเวลา (ธิดา แซ่ชั้น และทัศนีย์ หมอสอน, 2559) 1. ความหมาย การรู้ดิจิทัล มาจากคาภาษาอังกฤษว่า Digital literacy ถูกนาเสนอครั้งแรกใน หนังสือ Digital Literacy โดย Paul Gilster ในปี 1997 สาหรับภาษาไทยนอกจากใช้คาว่าการรู้ ดิจิทัลอาจจะมีการเรียกด้วยชื่ออื่น เช่น การรู้เท่าทันดิจิทัล ทักษะและความรู้ดิจิทัล ทักษะความ เข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจทิ ัล เป็นต้น ส่วนความหมายมีนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้ให้ความหมายไว้หลากหลายพอสรุปได้ดังนี้ Gilster (1997) นักวิชาการที่ศึกษาการรู้ดิจิทัลในยุคแรก ๆ และเผยแพร่งานเขียน เกี่ยวกับแนวคิดการรู้ดิจิทัล ได้พยายามให้คานิยามของการรู้ดจิ ิทัลอย่างง่ายว่า เป็นทักษะในการ อ่านออกเขียนได้ในยุคดิจิทัล (literacy for a digital age) ซึง่ หมายถึง ความสามารถในการทา ความเข้าใจและใช้สารสนเทศในหลากหลายรูปแบบจากหลากหลายแหล่งที่ถูกนาเสนอด้วย คอมพิวเตอร์ ได้มีนักวิชาการทีพ่ ยายามเสนอคานิยามของการรู้ดิจิทัลต่อจากนิยามของ Gilster จนมีการนาเสนอนิยามที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น โดย Martin (2008) ได้ให้ความหมายของการ รู้ดิจทัลว่า เป็นความตระหนัก ทัศนคติ และความสามารถของแต่ละบุคคลในการใช้เครื่องมือ ดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมเพื่อระบุ เข้าถึง จัดการ บูรณาการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ทรัพยากร 4 สารสนเทศดิจทิ ัล รวมทั้งการสร้างความรู้ใหม่ และสร้างสื่อดิจิทลั ในรูปแบบต่างๆ และการสื่อสาร สะท้อนกลับทางความคิดไปยังผูอ้ ื่นในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต สาหรับการให้นิยาม ความหมายของการรู้ดิจิทัลของแต่ละมหาวิทยาลัยอาจมีการให้ความหมายเฉพาะของตน อย่างเช่น มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ (University of Illinois) ได้ให้ความหมายการรู้ดิจิทัลว่า เป็น ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทลั เครื่องมือหรือเครือข่ายทางการสื่อสารเพื่อระบุแหล่ง ประเมิน ใช้และสร้างสารสนเทศ ความสามารถในการเข้าใจและใช้ข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ จากหลากหลายแหล่งที่นาเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ รวมถึงความสามารถของบุคคลในการทางาน อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมดิจิทัล (Walton G., 2016) มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทางด้านการศึกษาในประเทศไทยไม่ได้มีการนิยาม ความหมายของการรู้ดิจิทัลเฉพาะ แต่พบว่ามีการใช้ความหมายที่กาหนดโดยสานักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งได้ให้ความหมายของการรู้ดิจิทัล หรือทักษะความเข้าใจและ ใช้เทคโนโลยีดิจิทลั ว่าหมายถึง ทักษะในการนาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจทิ ัลที่มีอยู่ใน ปัจจุบนั อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้ เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทางานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนา กระบวนการทางาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ (สานักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2560) ในเอกสารประกอบการสอนฉบับนี้จะใช้นิยามการรู้ ดิจิทัลตามควมหมายของสานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2. ความสาคัญและประโยชน์ของการรู้ดิจิทัล 2.1 ความสาคัญของการรู้ดิจิทัล ในปัจจุบนั แม้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นแต่โดยมากใช้เพื่อความบันเทิง การ ใช้เทคโนโลยีดิจิทลั เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทางานขององค์กรพบว่ายังมีไม่มากนัก แต่ถ้าองค์กร ใดหรือคนกลุ่มใดมีการนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทางานจะพบว่าการทางานจะมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยงั มีช่องว่างทางดิจิทัล (Digital Divide) ซึง่ สร้างความเลื่อมล้าให้ สังคมมากขึ้น ทั้งในภาคประชาชนระหว่างกลุ่มที่มีทักษะทางดิจิทัลหรือกลุ่มที่มีฐานะในการซือ้ เทคโนโลยีมาใช้ได้ รวมถึงระหว่างสังคมในเมืองและชนบทที่มีโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่ แตกต่างกันทั้งในแง่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตหรือบริการดิจิทัลที่มีอยู่ และระหว่างองค์กรที่มี งบประมาณการลงทุนด้านเทคโนโลยีหรือมีบุคลากรที่มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี จะเห็นว่า ช่องว่างของการใช้เทคโนโลยีดิจทิ ัล ระหว่างคนรวยกับคนจน ระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ระหว่างคนในเมืองกับชนบท ระหว่างภาคราชการกับภาคเอกชน หรือระหว่างบริษัทขนาดใหญ่กับ 5 เอสเอ็มอียังมีอยู่มาก คนที่มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจะมีโอกาสและมีความได้เปรียบใน การหารายได้มากขึ้น การรู้ดิจิทัลจึงเป็นทักษะสาคัญที่ใช้ในการดาเนินชีวติ ในยุคดิจิทัล แม้ว่าผู้เรียนใน ยุคนี้จะมีความรู้พนื้ ฐานด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาร์ทโฟน แต่ ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนจะเกิดสมรรถนะทางด้านดิจิทลั ที่จาเป็นในการสร้างกระบวนการคิดและ กระบวนการรับรู้ที่มปี ระโยชน์ตอ่ การเรียนรู้ หรือสามารถนาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ การทางานได้เป็นอย่างดี ทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จาเป็นต้องอาศัยความรู้ด้านการพัฒนาความคิด ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการใช้ งานอินเทอร์เน็ต ความคิดสร้างสรรค์ จริยธรรมและการใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ การรู้ดิจิทัล จะสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวติ (Lifelong Learning) เนื่องจากผู้ที่มีทักษะการรู้ดิจิทัลจะ สามารถแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ สามารถตั้งคาถาม คัดเลือกแหล่ง วิเคราะห์ สังเคราะห์และ ตีความสารสนเทศที่สบื ค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ รวมทั้งบูรณาการ ความรู้ที่มีอยู่กับความรู้ใหม่ที่ได้รับโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ (สิริวัจนา แก้วผนึก, 2560) ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเสริมสุขภาพ เราต้องสามารถแยกแยะ ความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่เป็นกลลวงการตลาดที่หลอกขายอาหารเสริมกับข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ได้ หรือเมื่อต้องการค้นหางานในอินเทอร์เน็ต ก็ต้องมีทักษะในการค้นหาข้อมูลที่ตรงกับงานที่เรา ต้องการหรือต้องรู้ว่าจะค้นหาจากแหล่งที่นา่ เชื่อถือได้ที่ไหน หรือการทากิจกรรมหรือโครงการเรา ก็ต้องรู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารและทางานร่วมกับคนอืน่ อย่างไร 2.2 การรู้ดิจิทัลมีประโยชน์ในหลายด้านดังนี้ (สิริวัจนา แก้วผนึก, 2560) 1) การรู้ดิจิทัลช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เนื่องจาก ประเทศที่มีประชากรที่มีทักษะการรู้ดิจิทัล จะมีความได้เปรียบในด้านการแข่งขันโดยเฉพาะ อุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) การรู้ดิจิทัลช่วยลดช่องว่างทางดิจทิ ัล ช่วยส่งผ่านให้ประเทศสามารถพัฒาและ ก้าวหน้าได้ 3) การรู้ดิจิทัลช่วยในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต การทางานในสภาพแวดล้อมการ เรียนรู้แบบดิจิทัล 4) การรู้ดิจิทัลทาให้กระบวนการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รบั การฝึกฝนทักษะและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 6 5) การรู้ดิจิทัลช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี 6) การรู้ดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และสามารถ นาข้อมูลมาใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจในชีวิตประจาวันได้ 7) การรูด้ ิจิทัลมีประโยชน์ในการพัฒนาทางด้านธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และเพิ่ม ประสิทธิภาพโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจและด้านผลผลิต 8) การรู้ดิจิทัลช่วยให้เยาวชนของประเทศ คิดเป็น ทาเป็น เรียนรู้เป็นและ แก้ปัญหาได้อย่างมีวิจารณญาณ 3. ทักษะการรู้ดจิ ิทัล ทักษะการรู้ดิจิทัลมีความหมายมากกว่าทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างง่าย เพราะต้องมีความสามารถในการเข้าใจสื่อดิจิทัล รวมถึงความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมิน สารสนเทศ และสามารถสร้างสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีรวมถึงความสามารถในการทางานอย่างมี ประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมดิจิทัล คาที่ใช้แสดงลักษณะการรู้ดิจิทัล คือ รู้ใช้ รู้เข้าถึง รู้เข้าใจ รู้สร้าง ดังนั้นความสามารถสาหรับการรู้ดิจิทัลสามารถแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ (สานักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ม.ป.ป.) 3.1 ใช้ (Use) คือทักษะและความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐานในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคา (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) อีเมล (e-mail) และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ไปสู่เทคนิคขั้นสูงขึน้ สาหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) และฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ เช่น Cloud Computing และ Internet of Things (IoT) 3.2 เข้าถึง (Access) คือ ทักษะในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทลั และข้อมูลข่าวสาร สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางต่าง ๆ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย ของแต่ละช่องทาง เพื่อให้สามารถไช้ Search Engine ค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตได้ อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนีย้ ังจาเป็นต้องเข้าใจสื่อทางดิจิทลั ชนิดต่าง ๆ รวมถึงการนาไป ประยุกต์ไข้งานในป้จจุบัน 3.3 เข้าใจ (Understand) คือทักษะที่ทาให้เราเข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจทิ ัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่ทาและพบบนโลกออนไลน์ ซึง่ เป็นทักษะที่สาคัญและจาเป็น เมื่อเริ่มเข้าสู่โลกออนไลน์ ทาให้เข้าใจและตระหนักว่าเทคโนโลยีดิจิทัลมีผลกระทบต่อพฤติกรรม 7 มุมมอง ความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับโลกดิจิทัลรอบตัวของเราอย่างไร นอกจากนี้ยังรวมถึง ทักษะการจัดการสารสนเทศเพือ่ ค้นหา ประเมิน และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ ติดต่อสื่อสาร ประสานงานร่วมมือ และแก้ไขปัญหา 3.4 สร้าง (Create) คือทักษะในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านทางสื่อดิจิทัลประเภทต่างๆ การสร้างเนื้อหาด้วยสื่อดิจทิ ัลเป็นมากกว่าการรู้วิธีการใช้ โปรแกรมประมวลผลคาหรือการเขียนอีเมล แต่ยังรวมถึงความสามารถในการดัดแปลงสื่อสาหรับ ผู้ชมที่หลากหลาย ความสามารถในการสร้างและสื่อสารด้วยการใช้ Rich Media เช่น ภาพ วิดโี อ และเสียง ตลอดจนความสามารถในการมีส่วนร่วมกับ Web 2.0 อย่างมีประสิทธิภาพและ รับผิดชอบ เช่น การเขียน Blog การแชร์ภาพหรือวิดีโอ รวมถึงการใช้ Social Media รูปแบบ ต่างๆ การพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทลั หรือทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทลั แบ่ง ออกเป็น 9 ด้านดังนี้ (สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2560) 1) การใช้งานคอมพิวเตอร์ 2) การใช้งานอินเทอร์เน็ต 3) การใช้งานเพื่อความมัน่ คงปลอดภัย 4) การใช้โปรแกรมประมวลคา 5) การใช้โปรแกรมตารางคานวณ 6) การใช้โปรแกรมนาเสนองาน 7) การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล 8) การทางานร่วมกันแบบออนไลน์ 9) การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย 4. มาตรฐานด้านทักษะการรู้ดจิ ิทัลหรือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทลั ประเทศไทยจะไปสู่ Thailand 4.0 ได้ ประชาชนจะต้องมีความรู้และทักษะในการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล หรือการรู้ดิจิทลั (Digital Literacy: DL) ได้อย่างถูกต้องและมีมาตรฐานสากล หน่วยงานที่ได้มีการจัดทามาตรฐานทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทลั ได้แก่ สถาบัน คุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ TPQI เป็นสถาบันที่พัฒนาและขับเคลื่อนระบบคุณวุฒิ วิชาชีพและมาตรฐานอาชีพที่สอดคล้องกับ Thailand 4.0 คือ ICDL (International Computer Driving License) ซึง่ เป็นวุฒิบตั รมาตรฐานสากลด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทลั ที่ ได้รับการรับเลือกให้เป็นมาตรฐานคุณวุฒิด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital 8 Literacy) ของประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2559 โดย TPQI จะกาหนดมาตรฐานสมรรถนะหลักใน การทางานด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในเรื่องของสมรรถนะความสามารถด้านการใช้ดิจทิ ัล (Digital Literacy) ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล, 2561) ระดับที่ 1 ทักษะขัน้ พื้นฐาน ในการรับรู้และเข้าถึงโลกดิจิทัล ได้แก่ การใช้งาน คอมพิวเตอร์ การใช้งานอินเทอร์เน็ต และการใช้ดิจิทลั เพื่อความมั่นคงปลอดภัย โดยกาหนด คุณลักษณะของผลการเรียนรู้ทพี่ ึงประสงค์ (Learning Outcome) คือ เป็นผู้มีสมรรถนะในการ เข้าถึงโลกดิจิทัล สามารถใช้งานอุปกรณ์ไอที และติดต่อสื่อสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่าง ปลอดภัย โดยตระหนักถึงกฎหมายและจริยธรรม รวมทั้งรู้จักและเข้าใช้บริการพืน้ ฐานและทา ธุรกรรมออนไลน์ขั้นต้นได้ ระดับที่ 2 ทักษะขัน้ ต้นสาหรับการทางาน ได้แก่ การใช้งานคอมพิวเตอร์ การใช้งาน อินเทอร์เน็ต การใช้โปรแกรมประมวลผลคา การใช้โปรแกรมตารางคานวณ การใช้โปรแกรม นาเสนอ และการใช้ดิจิทลั เพื่อความมั่นคงปลอดภัย โดยกาหนดคุณลักษณะของผลการเรียนรู้ที่ พึงประสงค์ (Learning Outcome) คือ เป็นผู้สามารถใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัลหรือแอพพลิเค ชันขั้นต้นสาหรับการทางานได้ ระดับที่ 3 ทักษะขัน้ ประยุกต์สาหรับการทางาน การทางานร่วมกันด้วยดิจิทลั ได้แก่ การใช้งานคอมพิวเตอร์ (computer basics) การใช้งานอินเทอร์เน็ต (online basics) การใช้ โปรแกรมประมวลผลคา (word processing basic) การใช้โปรแกรมตารางคานวณ (spreadsheet basics) การใช้โปรแกรมนาเสนอ (presentation basics) การทางานร่วมกัน แบบออนไลน์ (online collaboration) การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล (web editing) และการ ใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (IT security) โดยกาหนดคุณลักษณะของผลการเรียนรู้ที่พึง ประสงค์ (Learning Outcome) คือ เป็นผู้สามารถเลือกใช้งานเครื่องมือต่างๆ ด้านดิจทิ ัล ได้ หลากหลายและประยุกต์ใช้ในงานได้มากขึ้น ความหมายและประเภทของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2545) คือ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ แบบอัตโนมัติ ทาหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สาหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทาง 9 คณิตศาสตร์ เมื่อพิจารณาคอมพิวเตอร์จากการเก็บข้อมูลและความเร็วในการประมวลผล สามารถ แบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ได้ 4 ประเภทดังนี้ (ณัฐกร สงคราม.[ออนไลน์]) 1. ซุ ป เปอร์ ค อมพิ ว เตอร์ ( Super Computer) เป็ น เครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ ที่ มี ความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด มักสร้างขึ้นเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการ ประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น ลักษณะซุปเปอร์คอมพิวเตอร์แสดงดังภาพประกอบ 1.1 (ก) (ข) (ค) และ (ง) ตามลาดับ (ก) (ข) (ค) (ง) ภาพประกอบ 1.1 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่มา:(http://teachfeedthai.com/tag/ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์) 2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีส่วน ความจาและความเร็วน้อยกว่าซุป เปอร์คอมพิว เตอร์ ลักษณะเมนเฟรมคอมพิว เตอร์แสดงใน ภาพประกอบ 1.2 นาไปใช้งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานเป็นจานวน 10 มาก นิ ย มใช้ ใ นธุ ร กิ จ ขนาดใหญ่ แ ละมี ร าคาตั้ ง แต่ สิ บ ล้ า นบาทไปจนถึ ง หลายร้ อ ยล้ า นบาท ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศ ภาพประกอบ 1.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ที่มา: https://sites.google.com/site/phitchakorn461/menferm-khxmphiwtexr- mainframe-computer 3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) นาไปใช้กับธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กมี ราคาถูกกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์มีลักษณะพิเศษในการทางานร่วมกับอุปกรณ์ ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ อ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จึงมีหน่วยงาน กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นาไปใช้ 4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็น เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก น าไปใช้ ค นเดี ย ว จึ ง ถูก เรีย กว่ า คอมพิ ว เตอร์ส่ ว นบุ ค คล (Personal Computer) ในปั จ จุ บั น ไมโครคอมพิวเตอร์พัฒนาประสิทธิภาพสูงเที่ยงเท่ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และมีราคาถูกลง จึง เป็นเป็นที่นิยมใช้ตามโรงเรียน สถานศึกษาและบ้านเรือน ไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท 1) แบบติดตั้งบนโต๊ะทางาน (Desktop Computer) 2) แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ นิยมเรียกว่า แล็ปท็อป (Laptop Computer) หรือ โน๊ตบุ๊ค (Notebook Computer) 11 ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ (Operating System :OS) ระบบปฏิบัติการเป็นซอฟร์แวร์ระบบเพื่อควบคุมการทางานและเป็นสื่อกลางระหว่าง โปรแกรมประยุกต์ และฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะทาให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น ติดต่อการทางานระหว่างเมาส์และคีย์บอร์ดในโปรแกรมประยุกต์ จัดการ ทรัพยากรของระบบ และการติดตั้งถอนโปรแกรมประยุกต์ เป็นต้น (https://nakizacom.weebly.com/) ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการ วินโดว์ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ และระบบปฏิบัติการแมคอินทอชซึ่งระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ใน ปัจจุบันคือ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ ซึ่งมีโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกติดตั้งมากับระบบปฏิบัติวินโดว์ เพื่ อ อ านวยความสะดวกให้ กั บ ผู้ ใ ช้ ในเอกสารนี้ จ ะยกตั ว อย่ า งการใช้ ง านระบบปฏิ บั ติ ก าร Windows 7 โดยแยกเป็ น 2 หั ว ข้อหลั กคือ การติ ด ตั้ ง โปรแกรมประยุ กต์ ในระบบปฏิบัติ การ วินโดวส์ และ การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 1. คอนโทรลพาเนล ( Control Panel) เป็นเสมือนศูนย์รวมของโปรแกรมเพื่ออานวยความ สะดวกให้กับผู้ใช้ หน้าตาของคอนโทรลพาเนลใน Windows 7 แสดงดังภาพประกอบ 1.3 โดย ป ร ะ ก อบ ด้ ว ย 8 เม นู คื อ System and Security, User Accounts and Family Safety, Network and Internet, Appearance and Personalization, Hardware and Sound, Clock Language and Region, Programs และ Ease of Access โดยมีเมนูที่สาคัญดังนี้ 12 ภาพประกอบ 1.3 หน้าต่างคอนโทรลพาเนล 1.1 การตั้ ง วั น ที่ แ ละเวลา คลิ ก ที่ เ มนู Clock Language and Region หลั ง จากคลิ ก ที่ ปุ่ ม ดังกล่าวแล้วจะแสดงหน้าต่างดังภาพประกอบ 1.4 หมายเลข 1 จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Chang date and time ในหมายเลข 2 และเปลี่ยนแปลงเวลาในหมายเลข 3 พร้อมกดปุ่ม OK ภาพประกอบ 1.4 การตั้งวันทีแ่ ละเวลา 1.2 การตั้งค่าภาษา ในเอกสารนี้จะแสดงวิธีการเพิ่มภาษาและการเปลี่ยนภาษาโดยใช้คีย์ลัด วิธีการเพิ่มภาษาแสดงดังภาพประกอบ 1.5 หากต้องการสลับภาษาโดยใช้คีย์ลัดสามารถตั้งค่าได้ ดังภาพประกอบ 1.6 13 ภาพประกอบ 1.5 การเพิ่มภาษา 14 ภาพประกอบ 1.6 การตั้งค่าคียล์ ัดสลับภาษา 1.3 การปรับตั้งค่าให้เมาส์ ระบบปฏิบัติการ Windows 7 สามารถตั้งค่าเมาส์เพื่อสนับสนุน การใช้เมาส์ให้กับบุคคลที่ใช้เมาส์มือซ้ายได้โดยไปที่เมนู Hardware and Sound จะมีหน้าต่าง แสดงขึ้นมา ดัง ภาพประกอบ 1.7 หลังจากนั้นคลิกที่ เมนู Mouse และเลือก switch primary and secondary buttons เพื่อกาหนดการเปลี่ยนคลิกเมาส์ซ้าย เป็นการคลิกเมาส์ขวา 15 ภาพประกอบ 1.7 การตั้งค่าการคลิกเมาส์ 1.4 วิธีการตั้งค่าผู้ใช้ก่อนเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์อาจมีผู้ใช้งาน หลายคน หรือต้องการป้องไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนได้รับอนุญาต เราจึงควร ตั้งค่าการใช้งานของผู้ใช้ไว้เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีขนั้ ตอนและรายละเอียดดังนี้ 1) เปิ ด Control Panel จากนั้ น คลิ ก ที่ User Accounts and Family Safety ดั ง ภาพประกอบ 1.8 ภาพประกอบ 1.8 การตั้งค่าผูใ้ ช้งานก่อนเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ 16 2) จากขั้นตอนที่ 1 มีหน้าต่างดังภาพประกอบ 1.9 แล้วคลิกที่ เมนู User Accounts ภาพประกอบ 1.9 เมนู User Accounts 3) หลังจากคลิกที่เมนู User Accounts แล้วจะปรากฏชื่อผู้ใช้ดังภาพประกอบ 1.10 โดยมีชื่อผู้ใช้คือ User เราสามารถตั้งค่ารหัสผ่านของผู้ใช้ชื่อ User โดยคลิกที่ Create a password for your account ภาพประกอบ 1.10 การใส่รหัสผ่านผู้ใช้ 17 4) กาหนดรหัสผ่านของผู้ใช้ดังภาพประกอบ 1.11 แล้วกดที่ปุ่ม Create password ภาพประกอบ 1.11 การกาหนดรหัสผ่านผู้ใช้ 5) หากต้องการเปลี่ยนชื่อผู้ใช้คลิกที่เมนู Change your account name ดังภาพประกอบ 1.12 และใส่ชื่อใหม่ดังภาพประกอบ 1.13 ภาพประกอบ 1.12 การเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ 18 ภาพประกอบ 1.13 เปลี่ยนชื่อผู้ใช้จาก USER เป็น Sky 6) บางครั้งอาจมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายคนและต้องการความเป็นส่วนตัวไม่ให้ผู้อื่นเห็น ข้อมูลหรือโปรแกรมที่ตนเองใช้ โดยไปที่เมนู Management another account ดังภาพประกอบ 1.14 และสร้างผู้ใช้เพิ่มโดยไปทีเ่ มนู Create a new account ดังภาพประกอบ 1.15 และใส่ชื่อ ผู้ใช้ดังภาพประกอบ 1.16 ภาพประกอบ 1.14 การจัดการข้อมูลผู้ใช้ 19 ภาพประกอบ 1.15 การเพิ่มผู้ใช้ ภาพประกอบ 1.16 ใส่ชื่อผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ 7) บางครั้งอาจต้องการลบผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ สามารถทาได้โดยคลิกที่เมนู Add or remove user accounts ดังภาพประกอบ 1.17 จากนั้นจะมีหน้าต่างแสดงชื่อผู้ใช้ทั้งหมด แล้วเลือกชื่อ 20 ผู้ใช้ที่ต้องการลบ ดังภาพประกอบ 1.18 แล้วคลิกที่เมนู Delete the account ดังภาพประกอบ 1.19 ภาพประกอบ 1.17 การเพิ่มหรือลบผู้ใช้งาน 21 ภาพประกอบ 1.18 รายชื่อผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ภาพประกอบ 1.19 ลบชื่อผู้ใช้งาน การติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 22 ระบบปฏิบัติการมีหลายประเภท ซึ่งระบบปฏิบัติการวินโดว์เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ กันอย่างแพร่หลาย หากต้องการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ในระบบปฏิบัติการวินโดว์ควรตรวจสอบ ก่อนว่าโปรแกรมประยุกต์ที่มีอยู่สามารถลงในระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้หรือไม่ เพราะโปรแกรม ประยุกต์บางโปรแกรมอาจจะลงได้เพียงระบบปฏิบัติการลีนุกซ์หรือแมคอินทอช อย่างใดอย่าง หนึ่งเท่านั้น ในเอกสารนี้จะแสดงการลงโปรแกรม Foxit reader ซึ่งเป็นโปรแกรมใช้เปิดไฟล์ pdf และเซ็นต์เอกสารออนไลน์ เข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมโดยพิมพ์ download foxit reader ที่ Google และคลิกดาวน์โหลดภาพประกอบ 1.20-1.21 เมื่อดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้ ไฟล์ FoxitReader100_Setup_Prom_IS.exe ดับเบิ้ลที่ไฟล์ดังกล่าวเพื่อติดตั้งโปรแกรมและกด Yes แล้วจะมีขั้นตอนการติดโปรแกรมดังภาพประกอบ 1.22 เมื่อโปรแกรมติดตั้งสมบูรณ์จะแสดง ดังภาพประกอบ 1.23 ภาพประกอบ 1.20 การค้นหาโปรแกรม foxit reader 23 ภาพประกอบ 1.21 การดาวน์โหลดโปรแกรม foxit reader (ก) 24 (ข) (ค) ภาพประกอบ 1.22 การติดตั้งโปรแกรม Foxit reader 25 ภาพประกอบ 1.23 การติดตั้งโปรแกรมเสร็จสมบูรณ์ การถอนโปรแกรมออกจากเครื่อง บางครั้งเราไม่ต้องการใช้โปรแกรมที่ติดตั้งไว้แล้ว เราสามารถถอนการติดตั้งโปรแกรมได้ โดยไปที่ Control panel แล้วไปที่ Programs แล้วคลิกที่ Uninstall a program จากนั้นจะได้ หน้าต่างดังภาพประกอบ 1.24 ซึ่งจะมีรายการโปรแกรม หากอยากถอนการติดตั้งให้คลิกขวาที่ โปรแกรมนั้นแล้วกด Uninstall 26 ภาพประกอบ 1.24 การถอนการติดตั้งโปรแกรม ความหมายของสมาร์ทดีไว สมาร์ทดีไว (Smart device) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความชาญฉลาด สามารถ เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นอุปกรณ์อัจฉริยะแห่งยุคที่เข้ามาเปลี่ยนการใช้ชีวิต ของทุกเพศทุกวัน ด้วยการฝังสมองกลช่วยให้สามารถทางานด้วยตัวเอง มีความโดดเด่นทั้งในเรื่อง ของความสามารถในการทางาน ด้วยความอัจฉริยะนี้จะเป็นตัวตัวเปลี่ยนโลกให้เข้าสู่ยุคดิจิตอลใน รูปแบบ Smart Life อย่างแท้จริง 27 ภาพประกอบ 1.25 : Smart Devices ที่มา : https://towardsdatascience.com/what-is-a-smart-device-the-key-concept-of- the-internet-of-things-52da69f6f91b ประเภทของสมาร์ทดีไว ปั จ จุ บั น มี ก ารพั ฒ นาสมาร์ ดี ไ วขึ้ น มาหลากลายเพื่ อ รองรั บ ยุ ค ดิ จิ ต อล โดยจะขอ ยกตัวอย่างประเภทสมาร์ทดีไวดังนี้ 1. สมาร์ทโฟน (Smart phone) คือ โทรศัพท์มือถือที่รองรับระบบปฏิบัติการ และสามารถ ติดตั้งแอพพลิเคชัน ต่าง ๆ เพื่อใช้งาน สามารถรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน 3G หรือ Wi-Fi นอกจากนี้สมาร์ทโฟนยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ผ่านเครือข่ายไร้ สาย รองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ภาพ ไฟล์วิดีโอ เป็นต้น สมาร์ทโฟนมีหน้าจอเล็กกว่า 5 นิ้ว สมาร์ทโฟนที่มีอยู่ในปัจจุบนั เช่น iPhone, Android Phone, Windows Phone, Symbian Phone เป็นต้น 28 ภาพประกอบ 1.26 : สมาร์ทโฟน ที่มา : https://notebookspec.com/double-digit-smartphone-market-growth-is- over/338485/ 2. แท็บเล็ต (Tablet) คือ เครื่องคอมพิว เตอร์ส่วนบุ คคลที่สามารถพกพาและมี หน้ า จอ ระบบสั ม ผั ส สามารถใช้ ง านโดยการสั ม ผั ส ผ่ า นปลายนิ้ ว ได้ โดยตรง มี แอพพลิ เคชั น มากมายให้เลือกใช้ ข้อดีของแท็บเล็ต คือ มีหน้าจอที่กว้างกว่าสมาร์ทโฟน มีหน้าจอใหญ่ กว่า 5 นิ้ว มีน้าหนักเบา พกพาได้สะดวกกว่าโน้ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนที่มีอยู่ ในปั จ จุ บั น เช่ น iPhone, Android Phone, Windows Phone, Symbian Phone เป็นต้น ภาพประกอบ 1.27 : แท็บเล็ต ที่มา : https://www.technointrend.com/buying-guide-tablet/ 29 3. สมาร์ทวอทช์ (Smart Watch) หรือ นาฬิกาอัจฉริยะ คือ นาฬิกาข้อมือที่มีพร้อมฟังก์ชัน การทางานที่หลากหลาย เช่น การสนทนาผ่านตัวนาฬิกา, การแสดงแผนที่และการนา ทาง, เป็นกล้องถ่ายรูป , เก็บข้อมูล การเดิน วัดการเต้นของหัวใจ วัดกิจกรรมการออก กาลังกายต่างๆ ได้ เพื่อเป็นการช่วยดูแลสุขภาพของคุณ ซึ่งสมาร์ทวอทช์ส่วนใหญ่จะต้อง ท างานร่ ว มกั บ สมาร์ ท โฟน สมาร์ ท วอทช์ ที่ มี อ ยู่ ใ นปั จ จุ บั น เช่ น Apple Watch, Samsung Gear, Garmin vivomove HR, Xiaomi AMAZFIT เป็นต้น ภาพประกอบ 1.28 : สมาร์ทวอช ที่มา : https://www.mercular.com/review-article/top-4-brand-smart-watches- gadgets-2018 4. สมาร์ท ดีไ วอื่ น ๆ เช่ น แว่ น ตาอัจ ฉริย ะที่มี การฝังสมองกลเพื่ อให้ ส ามารถทางานได้ หลากหลาย เช่น สามารถถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ สามารถเชื่อต่ออินเตอร์เน็ต เป็นต้น สมาร์ททีวีที่สามารถเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตได้ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการของสมาร์ทดีไว ปัจจุบนั ระบบปฏิบัติการที่รองรับสมาร์ทดีไว ประกอบไปด้วย 5 ระบบปฏิบัติการ คือ ระบบปฏิบัติการ Android เป็นระบบปฏิบัติการ Open Source พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Google สามารถใช้ ง านได้ ฟ รี แ ละเปิ ด กว้ า งให้ ส ามารถพั ฒ นาแอปพลิ เ คชั น ได้ หลากหลาย ทาให้ระบบปฏิบัติการ Android ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน มีการ พัฒนาสมาร์ทดีไวเพื่อรองรับระบบปฏิบัติการ Android จานวนมาก โดยเฉพาะบริษัท ใหญ่ที่พัฒนาสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android เช่น Google, Huawei, Samsung และ Oppo เป็นต้น ระบบปฏิบัติการ Android มีลูกเล่นหลากหลาย เช่น 30 การสั่งการจากเสียง (Voice Control) การจัดการอัลบั้มรูปภาพในลักษณะเลื่อนซ้ อน การเข้ า ถึ ง บั ญ ชี ร ายชื่ อ โทรศั พ ท์ อ ย่ า งรวดเร็ ว และหลากรู ป แบบ การน าทางโดยใช้ โปรแกรม Google Maps ร่วมกับระบบชี้พิกัด GPS ที่ฝังอยู่ในตัวเครื่อง เป็นต้น ภาพประกอบ 1.28 : ระบบปฏิบัติการ Android ที่มา : http://www.chaiyohosting.com/android-application/ ระบบปฏิบัติ การ iOS เป็ น ระบบปฏิบัติ การที่พั ฒนาขึ้นโดยบริษั ท Apple เพื่ อใช้ กับ iPhone, iPad และสมาร์ทดีไวอื่นที่พัฒนาโดยบริษัท Apple เป็นระบบปฏิบัติการที่มี ความปลอดภัยสูง รวดเร็วและใช้งานง่าย นอกจากนี้มีแอพพลิเคชันให้ใช้หลากหลายผ่าน บริการ App Store แต่ระบบปฏิบัติการดังกล่าวสามารถใช้ได้เฉพาะอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น โดยบริษัท Apple เท่านั้น ภาพประกอบ 1.29 : ระบบปฏิบัติการ iOS ที่มา : http://unlock-apple.com/2013/06/ 31 ระบบปฏิบั ติ การ Windows Mobile ซึ่ ง ปั จ จุ บั น เรีย กว่ า ระบบปฏิบั ติการ Windows Phone Starter Edition เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Microsoft เพื่อใช้ กั บ สมาร์ ท โพนที่ ผ ลิ ต ขึ้ น โดย Microsoft หน้ า จอของระบบปฏิ บั ติ ก าร Windows Mobile จะคล้ายกับระบบปฏิบัติการ Windows ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การออกแบบ ระบบปฏิบั ติ การที่ Microsoft ต้ องการให้ มี การเชื่ อมต่ อกับ แอพพลิ เคชั น หลั ก อย่ า ง Microsoft Exchange, Office และ Outlook จึ ง ท าให้ เป็ น ตั ว เลื อกที่ เ หมาะส าหรั บ กลุ่มผู้ใช้งานในแวดวงธุรกิจ ภาพประกอบ 1.30 : ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile ที่มา : http://travel.truelife.com/detail/2095868/ ระบบปฏิบัติการ BlackBerry เป็นระบบปฏิบัติการที่เน้น ความสาคัญกับการรับอีเมล แบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องคอยกดปุ่มตรวจสอบ นอกจากนั้นยังมีการออกแบบคีย์บอร์ดที่ ดี ระบบปฏิบัติการ BlackBerry ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Research In Motion (RIM) ระบบปฏิ บั ติ ก ารสามารถรองรั บ การด าเนิ น การหลายๆ อย่ า งในเวลาเดี ย วกั น (Multitasking) รักษาอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในตัวเครื่อง สามารถใช้งานได้นาน กว่ า ระบบปฏิ บั ติ ก ารอื่ น ๆ แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามความเร็ ว ในการแสดงผลช้ า กว่ า ระบบปฏิบัติการ iOS และ Android รวมถึง จ านวนแอปพลิเคชันที่มี น้อยกว่ า ท าให้ ระบบปฏิบัติการดังกล่าวไม่ได้รับความนิยม 32 ภาพประกอบ 1.31 : ระบบปฏิบัติการ BlackBerry ที่มา : http://www.flashfly.net/wp/?p=24918 Symbian เป็นระบบปฏิบัติ การที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยการรวมตัวกันของหลายบริษัท เช่น Sony Ericsson, Nokia, Motorola, Psion เป็ น ต้ น เพื่ อ ให้ ร ะบบปฏิ บั ติ ก ารดั ง กล่ า ว สามารถนาไปใช้งานได้ในหลากหลายสมาร์ทดีไว ปัจจุบันระบบปฏิบัติการ Symbian เป็น Open Source ภายใต้การดาเนินงานของ Symbian Foundation ภาพประกอบ 1.32 : ระบบปฏิบัติการ Symbian ที่มา : http://www.modify.in.th/624 33 การเลือกใช้สมาร์ทดีไว ปัจจุบนั สมาร์ทดีไวเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจาวันอย่างมาก ถูกผลิตขึ้นมาหลากหลาย และราคาแตกต่างกัน ดังนั้นการจะเลือกใช้สมาร์ทดีไวให้ให้คุ้มค่า ควรจะพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ต้องพิจารณาว่าสมาร์ทดีไวประเภทใดที่เหมาะสมกับการใช้ งาน เช่น ถ้าต้องการสมาร์ทดีไวที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร สามารถโทรได้ ให้เลือกสมาร์ท โฟน เป็นต้น 2. คุณสมบัติของตัวเครื่อง ซึ่งจะต้องพิจารณา CPU และหน่วยความจา เช่น ถ้า อยากได้ เครื่องที่เร็วจาเป็นต้องเลือก CPU ที่แรงเร็ว ถ้าต้องการเก็บข้อมูลได้ปริมาณมากจะต้อง พิจารณาหน่วยความจาที่มีสูง เป็นต้น 3. ระบบปฏิบัติการ เนื่องจากสมาร์ทดีไวของแต่ละบริษัทที่ผลิดขึ้นมาใช้ระบบปฏิบัติการที่ แตกต่างกัน เช่น iPhone ใช้ระบบประการ iOs , Nokia ใช้ระบบปฏิบัติการ Window mobile , Samsung ใช้ระบบปฏิบัติการ Android เป็นต้น ถ้าต้องการเน้นการสื่อสาร เลื อ กอุ ป กรณ์ ที ร องรั บ ระบบปฏิ บั ติ ก าร BlackBerry แต่ ถ้ า ต้ อ งการเน้ น มั ล ติ มี เ ดี ย อุปกรณ์ที่รองรรับระบบ iOS แต่ถ้าเน้นมัลติมีเดียและการแชร์ที่ง่ายดายก็ใช้อุปกรณ์ที่ รองรับระบบปฏิบัติการ Android 4. ขนาดของหน้าจอ ขนาดของจอนั้นก็มีหลากหลาย ถ้าต้องการหน้าจอที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 2.8 นิ้ว ไปจนถึง 4.7 นิ้วก็เลือกสมาร์ทโฟน แต่ต้องการหน้าจอ 5 นิ้ว เป็นต้นไปให้เลือก แท็บเล็ต นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาหน้า จอที่ต้องการว่าเน้นกว้างหรือเน้นยาว หน้าจอ เน้นแบบกว้างเหมาะสาหรับการพิมพ์ หน้าจอเน้นแบบยาวเหมาะสาหรับด้านมัลติมีเดีย และการเล่นเกม 5. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต สมาร์ทดีไวส่วนใหญ่จะมี Bluetooth, Wi-fi และอินเตอร์เน็ต มือถือ จาเป็นต้องตรวจสอบว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบไหน เช่น รองรับ 3G หรือ ไม่ เป็นต้น บางรุน่ สามารถเป็นตัวกระจายสัญญาอินเตอร์เน็ตให้กับอุปกรณ์อื่นได้ 34 6. User Interface (UI) แต่ละค่ายที่ผลิตสมาร์ทดีไวออกแบบ UI ที่แตกต่างกันอกไป ซึ่ง หมายถึงหน้าจอและการใช้งานของตัวเครื่องเกือบทั้งหมด บางสมาร์ทดีไวออกแบบ UI ให้สามารถใช้งานง่ายขึ้น เร็วขึ้น 7. ราคาและความคุ้มค่า ก่อนซื้อสมาร์ทดีไวจาเป็นต้องพิจารณาราคาว่าคุ้มค่าหรือไม่ การใช้งานสมาร์ดีไวเบื้องต้น ในทีนี้จะขอยกตัวอย่างการใช้งานสมาร์ทโฟน ซึง่ เป็นสมาร์ทดีไวที่ได้รับความนิยมมาก ที่สุด ซึ่งการใช้งานเบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ - หน้าจอของสมาร์ทโฟนที่มีระบบปฏิบัติการ Android ประกอบไปด้วย แสดงเครือข่ายมือถือ แสดงสถานะของแบ็ตเตอรี่ แสดงการเชื่อมต่อ แสดงวันเวลาปัจจุบัน อินเตอร์เน็ต แสดงแอพพลิเคชัน - สามารถดูการแจ้งเตือนโดยสไลด์หน้าจอลงมา จะได้ผลลัพธ์ดังภาพประกอบ เมื่อ ต้องการดูรายละเอียดการแจ้งเตือนให้กดเข้าไปที่การแจ้งเตือนนั้น ถ้าต้องการลบการ แจ้งเตือนทั้งหมดให้กดเครื่องหมายกากบาท 35 - การตั้งค่าเบื้องต้นดังหน้าจอข้างล่าง โดยสัญลักษณ์แต่ละสัญลักษณ์มีความหมายดังนี้ ถ้า ต้องการเปิดใช้สัญลักษณ์ใดให้กด 1 ครั้ง ถ้าต้องการปิดการใช้งานให้กดอีก 1 ครั้ง - การเปิด-ปิดใช้อินเตอร์เน็ตมือถือ การเปิด-ปิด เสียง การเปิด-ปิด Wifi การเปิด-ปิดโหมดเครื่องบิน การเปิด-ปิดไฟฉาย การเปิด-ปิดบลูทูธ การเปิด-ปิดการหมุนหน้าจอ การเปิด-ปิดโหมดถนอมสายตา การเปิด-ปิดโหมดประหยัดพลังงาน การเปิด-ปิดโหมดถนอมสายตา การเปิด-ปิดความสว่าง การเปิด-ปิดเครื่องคิดเลข การปรับความสว่าง การเปิด-ปิด GPS - ถ้าต้องการตั้งค่าทั้งหมดบนสมาร์ทโฟน ให้กดไอคอม Setting ซึ่งจะได้หน้าจอดัง ภาพประกอบ ซึ่งจะประกอบด้วยเมนูการตั้งค่าต่างๆ ดังภาพประกอบข้างล่าง 36 37 โดยเมนูที่นา่ สนใจมีดังนี้ o Wifi เป็นการตั้งค่า Wifi สามารถเลือก Wifi ที่ต้องการเชื่อมต่อ โดยกดไปที่ชื่อ Wifi ดังภาพประกอบข้างล่างกดเลือก Wifi ที่ชื่อว่า IT-Floor3 Zone3 38 o Other Wireless Connection เป็นการตั้งค่า Wireless อื่น ๆ เมื่อกดเข้าไป จะเห็นการตั้งค่า Wireless ต่างๆ เช่น สามารถกาหนดให้สมาร์ทโฟนเป็นตัว กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต โดยกดเลือก Personal Hotspot จากนัน้ ทา การ Enable โดยการกดเลื่อนไปทางขวา ‘ เลื่อนไปทางขวาเพื่อเปิด สัญญาณกระจาย กระจายสัญญาณ อินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต 39 o Display and Brightness เป็นเมนูสาหรับปรับความสว่างของหน้าจอ เมื่อกด เข้าไปที่เมนูดงั กล่าวจะแสดงหน้าจอดังภาพประกอบข้างล่าง โดยสามารถเลื่อน ปรับความสว่าง และเมนูย่อยทีน่ ่าสนใจดังนี้ 1) Auto-Brightness การปรับ ความสว่างอัตโนมัติ 2) Auto-Rotate Screen กาหนดให้หน้าจอปรับตามการ แนวการตั้งของสมาร์ทโฟน เช่น ถ้าตั้งสมาร์ทโฟนแบบแนวนอน หน้าจอจะ เปลี่ยนเป็นแนวนอน เป็นต้น 3)Auto Screen off การปิดหน้าจอ ซึ่งสามารถ กาหนดเวลาในการปิดหน้าจอเมื่อไม่ได้สัมผัสสมาร์ทโฟนได้ 40 o Sound and Vibration การตั้งค่าเสียงและการสั่น ซึ่งมีการตั้งต่าต่อไปนี้ 1) Vibrate on Ring คือ การกาหนดให้สั่นและมีเสียง 2) Vibrate on Silent คือ กาหนดให้สั่นไม่มีเสียง 3)Silent คือ ปิดเสียง นอกจากยังสามารถปรับระดับ เสียงเรียกเข้าในส่วนของ Riger Volumn และปรับระดับเสียงมัลติมีเดียในส่วน ของ Multimedia Volumn สามารถกาหนดเสียงเรียกเข้าในส่วนของ Rington 41 o About Phone แสดงคุณสมบัตขิ องสมาร์ทโฟน เช่น รุ่นสมาร์ทโฟน (Device Name) เวอร์ชั่นของแอนดรอยด์ (Android Version) หน่วยประมวลผล (Processor) หน่วยความจาหลัก (Ram) หน่วยควาจาสาหรับเก็บข้อมูล (Rom) 42 - การเปิดแอพพลิเคชัน สามารถทาได้โดยการกดสไลด์หาแอพพลิเคชันที่ต้องการ จากนั้น กดไอคอนแอพลิเคชั่นที่ต้องการเปิดใช้งาน จากภาพประกอบตัวอย่างเป็นการกดเปิด แอพพลิเคชัน Calendar 43 - การปิดแอพพลิเคชัน สามารถทาได้โดยการกดที่ปุ่ม เพื่อแสดงแอพพลิเคชันที่เปิดใช้ งานอยู่ ซึ่งจะแสดงผลดังภาพประกอบข้างล่าง กดปุ่มกากบาทข้างล่างเพื่อปิดแอพพลิเค ชันทั้งหมด หรือสไลด์ขึ้นตรงแอพพลิเคชันเพื่อปิดแอพพลิเคชันนั้น ถ้าต้องการเปิดดูอีก ครั้งหนึ่งสามารถทาได้โดยกดแอพพลิเคชัน 44 - การติดตั้งแอพพลเคชันบนสมาร์ทโฟนที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Android สามารถทาได้ โดยการเปิดแอพพลิเคชัน Play Store ดังภาพประกอบข้างล่าง (ภาพประกอบแรก) เมื่อ เปิดแอพพลิเคชัน Play Store จะแสดงหน้าตาดังภาพประกอบสอง และขัน้ ตอนการ ติดตั้งแอพพลิเคชันมีดงั ต่อไปนี้ 45 o ค้นหาแอพพลิเคชันเพื่อติดตั้ง โดยพิมพ์ชื่อแอพพลิเคชันตรงส่วนนของ Search for app… จากนัน้ ให้กดสัญลักษณ์แว่นขยาย แอพพลิเคชันที่คน้ หาจะแสดง ทั้งหมดดังภาพประกอบ (ถ้าแอพพลิเคชันที่ตดิ ตั้งแล้วจะแสดงคาว่า Installed) 46 o จากนั้นให้คลิกเลือกแอพพลิเคชันที่ต้องการติดตั้ง จะได้หน้าจอดังตัวอย่างใน ภาพประกอบ แล้วกดปุ่ม Install เพื่อทาการติดตั้งแอพพลิเคชัน 47 - การลบแอพพลิชนั ออกจากหน้าจอ สามารถทาได้โดยกดที่ไอคอนของแอพพลิชัน แล้วกด เครื่องหมายกากบาทดังภาพประกอบ จากนัน้ จะแสดงข้อความยืนยันการลบให้กด Delete 48 - การถอนการติดตั้งแอพพลิเคชัน สามารถทาได้โดยไปที่ Setting หรือการตั้งค่า จากนั้น เลือก App management ดังภาพประกอบ 1 หน้าต่างของ App mangement จะ แสดงดังภาพประกอบ 2 จากนัน้ ให้เลือกแท็บ Installed แล้วเลือกแอพพลิเคชันที่ ต้องการถอนการติดตั้งแล้วกดเลือก Uninstall แล้วกด OK ดังภาพประกอบ 2 49 เอกสารอ้างอิง ณัฐกร สงคราม.[ออนไลน์]. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/homepage.htm. (วันที่ค้นข้อมูล : 1 มิถุนายน 2563). HPE ทุ่ม 1.3 พันล้านเหรียญฯ เข้าซื้อ CRAY ยักษ์ใหญ่วงการซุปเปอร์คอมพิวเตอร์. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://teachfeedthai.com/tag/ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์. (วันที่ค้น ข้อมูล : 1 มิถุนายน 2563). เมนเฟรมคอมพิวเตอร์.[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://sites.google.com/site/phitchakorn461/menferm-khxmphiwtexr-mainframe- computer.(วันที่ค้นข้อมูล : 1 มิถุนายน 2563). คอมพิวเตอร์.[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://nakizacom.weebly.com/.(วันที่ค้นข้อมูล : 1 มิถุนายน 2563). Smart Device สมาร์ท ดีไว คืออะไร.[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1% E0%B8%B7%E0%B8%AD/73- %E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E 0%B8%A3/3965-smart-device- %E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97- %E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%A7- %E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E 0%B8%A3.html.(วันที่ค้นข้อมูล: 15 พฤษภาคม 2563). 50 “วิพากษ์เรื่องอนาคตของ Smart Devices (สมาร์ทโฟน + แท็บเล็ต).[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://www.thumbsup.in.th/smart-devices-future. (วันที่ค้นข้อมูล: 16 พฤษภาคม 2563). สมาร์ทโฟนคืออะไร? แท็บเล็ต ต่างกันอย่างไร?.[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://news.siamphone.com/news-14121.html. (วันที่คน้ ข้อมูล: 17 พฤษภาคม 2563). การเลือกใช้งานระบบปฏิบตั ิการบนสมาร์ทโฟน. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: https://sites.google.com/a/bumail.net/smartphones-lifestyle/kar-leuxk-chi-ngan- rabb-ptibati-kar-bn-sma-rth-fon.(วันที่ค้นข้อมูล: 17 พฤษภาคม 2563). วิธีการเลือกซื้อมือถือ Smart Phone.[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://www.smartphonecm.com/article/1/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98 %E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E 0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0% B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8 %AD-smart-phone.(วันที่คน้ ข้อมูล: 15 พฤษภาคม 2563). ธิดา แซ่ชั้น และทัศนีย์ หมอสอน. (2559). การรู้ดิจิทัล: นิยาม องค์ปรกอบและสถานการณ์ ในปัจจุบัน. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 34(4), 116-145. พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสาร ห้องสมุด, 61(2), 76-92. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2561). มาตรฐานด้านทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://km.li.mahidol.ac.th/digital- literacy/ 51 สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). โครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/ สานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและ แผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (ม.ป.ป.). การรู้ ดิจิทัล (Digital Literacy). สืบค้น 26 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr สิริวัจนา แก้วผนึก. (2560). รูปแบบการพัฒนามรดกดิจิทัลด้วยกระบวนการเล่าเรื่อง ดิจิทัล