A-Level Physics Past Paper Questions PDF

Document Details

WellRegardedBeryllium7626

Uploaded by WellRegardedBeryllium7626

โรงเรียนแม่คือวิทยา

A-Level

พี่ตั๊ว

Tags

physics equilibrium moments mechanics

Summary

This document contains A-Level physics past paper questions focusing on equilibrium concepts, moments (torque), and the stability of objects. Examples include problems involving forces, torques in various scenarios, and different types of equilibrium. The questions are suitable for high school students studying physics.

Full Transcript

# ออกแบบกระบวนการคิด พิชิตฟิสิกส์ และวิศวะทุกสนามสอบ by พี่ตั๊ว ## ประเภทของสมดุล ### สมดุลกล **สมดุลสัมบูรณ์** การที่วัตถุที่มีสมดุลทั้ง สมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่ง *∑F = 0* และ สมดุลต่อการหมุน *∑M = 0* **สมดุลต่อการเลื่อนที่** - มีภาพของแรงกระทำต่อกล่องสี่เหลี่ยม - *∑F = 0* - (แรงขึ้น = แรงลง,...

# ออกแบบกระบวนการคิด พิชิตฟิสิกส์ และวิศวะทุกสนามสอบ by พี่ตั๊ว ## ประเภทของสมดุล ### สมดุลกล **สมดุลสัมบูรณ์** การที่วัตถุที่มีสมดุลทั้ง สมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่ง *∑F = 0* และ สมดุลต่อการหมุน *∑M = 0* **สมดุลต่อการเลื่อนที่** - มีภาพของแรงกระทำต่อกล่องสี่เหลี่ยม - *∑F = 0* - (แรงขึ้น = แรงลง, แรงซ้าย = แรงขวา) **สมดุลต่อการหมุน** - มีภาพชายคนหนึ่งนั่งอยู่บนไม้กระดาน - *∑M = 0* - (โมเมนต์ทวน = โมเมนต์ตาม) ### ทฤษฎีของลามี (Lami's Theorem) - เป็นเทคนิคคำนวณในกรณีสมดุลของ 3 แรง โดยมีสมการดังนี้: - *F1 / sinα = F2 / sinβ = F3 / sinγ* ### วิเคราะห์ แบบลามี - มีภาพสามเหลี่ยมปิด - แรง *F1*, *F2*, *F3* - มุม *α*, *β*, *γ* ### วิเคราะห์แบบ สามเหลี่ยมปิด - มีภาพสามเหลี่ยมปิดเช่นกัน - แรง *F1*, *F2*, *F3* - มุม *α*, *β*, *γ* # โมเมนต์ (Moment, M) คือ ปริมาณที่ใช้วัดผลของการหมุนรอบจุดใดจุดหนึ่ง ขนาดของโมเมนต์หาได้จากผลคูณของแรง กับ ระยะทางที่ตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแนวแรง ### โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา - มีภาพแกนหมุนและแรงทำมุมกับแกน - *Mทวน = Fxl* ### โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา - มีภาพแกนหมุนและแรงทำมุมกับแกน - *Mตาม = Fxl* ### โมเมนต์ จากแรงที่ผ่านจุดหมุน - มีภาพแกนหมุนและแรงผ่านจุดหมุน - *M = 0* ## เทคนิคการเลือกจุดหมุน (กรณีวัตถุไม่มีความเร่ง) - หลักการคือเมื่อให้จุดใดเป็นจุดหมุน แรงที่ผ่านจุดนั้น จะมีโมเมนต์เป็นศูนย์ (M = 0) เพราะ (l = 0) - ดังนั้นจึงมีเทคนิคเลือกจุดหมุนดังนี้ - จุดที่มีจำนวนแรงหลายแรงผ่าน - จุดที่มีแรงไม่ทราบค่าผ่าน ## โมเมนต์ของแรงคู่ควบ - แรงคู่ควบ คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุสองแรง ซึ่งมีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศตรงกันข้าม - โมเมนต์ของแรงคู่ควบ จะมีขนาดเท่ากับผลคูณขนาดของแรงใดแรงหนึ่งกับระยะทางตั้งฉากระหว่างแนวแรงนทั้งสอง - *Mc = Fxl* ## เสถียรภาพของวัตถุ ### 1. สมดุลเสถียร (Stable Equilibrium) - คือ สภาพสมดุลของวัตถุ ซึ่งมีลักษณะวัตถุ “สามารถกลับสภาพสมดุลที่ตำแหน่งเดิมได้” - โดยเมื่อแรงกระทำกับวัตถุ จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่สูงกว่าระดับเดิม (CG สูงขึ้น) - แต่เมื่อเอาแรงออก วัตถุจะกลับสภาพเดิม ### 2. สมดุลไม่เสถียร (Unstable Equilibrium) - คือ สภาพสมดุลของวัตถุที่อยู่ในลักษณะที่ “ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้” - โดยเมือแรงกระทำกับวัตถุ จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ต่ำกว่าระดับเดิม (CG ต่ำลง) - และทำให้วัตถุล้มลง ### 3. สมดุลสะเทิน (Neutral Equilibrium) - คือ สภาพสมดุลของวัตถุ ซึ่งมีลักษณะวัตถุ “สามารถยังคงสภาพสมดุลอย่างเดิมได้” - โดยเมื่อแรงกระทำกับวัตถุ จุดศูนย์ถ่วงจะยังคงอยู่ระดับเดิม (CG ระดับเดิม) ## แนวโจทย์สอบเข้ามหาลัย : สมดุลกล ### 1. - กระถางต้นไม้มวล m ถูกแขวนอยู่บนเส้นลวดสองเส้นคือ A และ B ซึ่งยึดติดกับเสาสองต้น - โดยมุมที่เส้นลวด A กระทำกับเส้นแนวระดับเท่ากับ θ และเส้นลวด A และ B ทำมุมกัน 90 องศา ดังภาพ - กำหนดให้ g เป็นขนาดของความเร่งโน้มถ่วง - ขนาดของแรงดึงในเส้นลวด B มีค่าเท่าใด (วิชาสามัญ 65) - มีภาพประกอบ - มีตัวเลือก 5 ข้อ คือ: - 1. mg sine - 2. mg cose - 3. mg tano - 4. mg/sine - 5. mg/tane ### 2 - นาย A และ นาย B ช่วยกันหามกล่องหนัก 150 นิวตัน ด้วยท่อนไม้มวลสม่ำเสมอ หนัก 50 นิวตัน ยาว 3.0 เมตร - โดยให้ท่อนไม้อยู่ในแนวระดับ ซึ่งตำแหน่งที่แต่ละคนออกแรงกระทำต่อท่อนไม้ และตำแหน่งที่ผูกกล่องเป็นดังภาพ - ถ้าต้องการให้นาย A และ นาย B ออกแรงกระทำเท่ากันโดยที่นาย A ออกแรงกระทำที่ตำแหน่งเดิม นาย B จะต้องทำอย่างไร (วิชาสามัญ เม.ย. 64) - มีภาพประกอบ - มีตัวเลือก 5 ข้อ คือ: - 1. นาย B อยู่ตำแหน่งเดิม - 2. นาย B ขยับเข้าหากล่องอีก 0.2 เมตร - 3. นาย B ขยับเข้าหากล่องอีก 0.3 เมตร - 4. นาย B ขยับออกจากกล่องอีก 0.3 เมตร - 5. นาย B ขยับออกจากกล่องอีก 0.4 เมตร

Use Quizgecko on...
Browser
Browser