🎧 New: AI-Generated Podcasts Turn your study notes into engaging audio conversations. Learn more

ชุดที่ 5 ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่.pdf

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

Full Transcript

...... “.. ” “ ” “ ” / / / - - - - - - :- หนา้ ๓ เลม่ ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๐ ง ราชกิจจานุเบกษา...

...... “.. ” “ ” “ ” / / / - - - - - - :- หนา้ ๓ เลม่ ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๐ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มกราคม ๒๕๖๓ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ทไี่ ม่ต้องรายงาน ให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ พ.ศ. 2562 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ เพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เชิ ง บู ร ณาการในการน านวั ต กรรม เทคโนโลยี มาใช้ ใ นการบริ หารงาน และเพื่ อ ให้ก ารพิ จารณา ผลการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเสร็จสิ้นไปโดยเร็วยิ่งขึ้น อาศัยอานาจตามความในข้อ 17 วรรคสอง แห่งระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้ว ย หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กระทรวงการคลังจึงประกาศกาหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ เ รีย กว่า “ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่ อ ง ความรับผิ ด ทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ พ.ศ. 2562” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ฉบับลงวันที่ 31 มีนาคม 2552 ข้อ 4 ในประกาศนี้ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากาหนดให้เป็น หน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ข้อ 5 ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐไม่ต้องรายงาน ให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ 5.1 ความเสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ทรั พ ย์ สิ น ของหน่ ว ยงานของรั ฐ ครั้ ง ละไม่ เ กิ น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท 5.2 ความเสี ย หายที่ เกิ ด ขึ้นกั บทรัพ ย์ สิ นของหน่ว ยงานของรัฐ ครั้ ง ละเกินกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท สาหรับความเสียหายประเภท 5.2.1 ความเสียหายจากสาเหตุทั่วไปที่มิได้มีสาเหตุจากการทุจริต เงินขาดบัญชี หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือข้อบังคับต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุ เพลิงไหม้ ทรัพย์สินเสียหายหรือสูญหาย เป็นต้น และหน่วยงานของรัฐได้พิจารณาให้ผู้ต้องรับผิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ร้อยละ 75 ของความเสียหายทั้งหมด หนา้ ๔ เลม่ ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๐ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มกราคม ๒๕๖๓ 5.2.2 ความเสียหายที่มีสาเหตุจากการทุจริตและหน่วยงานของรัฐได้พิจารณา ให้ผู้ทุจริตรับผิดชดใช้เต็มจานวนความเสียหายและพิจารณาให้ผู้เกี่ยวข้องซึง่ กระทาโดยจงใจหรือประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นโอกาสหรือช่องทางให้เกิดการทุจริตชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจานวน ความเสียหาย 5.2.3 ความเสียหายที่มิได้เกิดจากการทุจริต แต่มีสาเหตุจากเงินขาดบัญชี หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือข้อบังคับต่าง ๆ และหน่วยงานของรัฐ ได้พิจารณาให้ผู้กระทาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจานวน ความเสียหาย 5.3 ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ ให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการ ข้อ 6 ความเสียหายที่หน่ว ยงานของรัฐไม่ต้องส่งสานวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ตามข้ อ 5 ให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ รายงานความเสี ย หายในระบบความรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด และแพ่ ง ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางได้แจ้งเวียนให้ถือปฏิบัติ ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดแนวทาง และหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ที่ http://tcls.cgd.go.th ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖2 จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สนิ

Use Quizgecko on...
Browser
Browser