Thai Accounting Standard 2 (2023) PDF
Document Details
Uploaded by HilariousImpressionism6227
Kasetsart University
2023
Thai Accounting Standards Board
จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล
Tags
Summary
This document is an accounting standard regarding inventory accounting practices in Thailand, 2023. It outlines definitions, calculations of inventory, and the reporting of inventory costs.
Full Transcript
หน้า ๒ (เล่มที่ ๑) เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กันยายน ๒๕๖๒ ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ ๓๔/๒๕๖๒...
หน้า ๒ (เล่มที่ ๑) เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กันยายน ๒๕๖๒ ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ ๓๔/๒๕๖๒ เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒ เรื่อง สินค้าคงเหลือ อาศัยอานาจตามมาตรา ๗ (๓) และมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่กาหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอานาจหน้าที่ในการกาหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีเพื่อใช้เป็น มาตรฐานในการจัดทาบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐานการบัญชีนั้น ต้ อ งได้ รั บ ความเห็ น ชอบจากคณะกรรมการก ากั บ ดู แ ลการประกอบวิ ช าชี พ บั ญ ชี และประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ ๕๗ (๓/๒๕๖๒) เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ ยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ ๓๐/๒๕๖๑ เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒ (ปรับปรุง ๒๕๖๑) เรื่อง สินค้าคงเหลือ ข้อ ๓ ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒ เรื่อง สินค้าคงเหลือ ตามที่กาหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖2 จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ คานา มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็ นไปตามเกณฑ์ท่กี าหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบั บ ที่ 2 เรื่ อง สิ น ค้ าคงเหลื อ ฉบั บ รวมเล่ ม ปี 2566 (IAS 2: Inventories (Bound volume 2023 Consolidated without early application)) ประวัติการแก้ไขเพิม่ เติมมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ (ใช้อา้ งอิงเฉพาะสาหรับประเทศไทยเท่านั้น) ฉบับแก้ไข การแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปี ก่อนหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมเนือ่ งมาจาก เพิม่ เติมปี 2566 ไม่ มี ก ารแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม ใดๆ จากฉบั บ ปี ก่อ น - หน้ า 2565 ไม่ มี ก ารแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม ใดๆ จากฉบั บ ปี ก่อ น - หน้ า 2564 ไม่ มี ก ารแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม ใดๆ จากฉบั บ ปี ก่อ น - หน้ า 2563 ไม่ มี ก ารแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม ใดๆ จากฉบั บ ปี ก่อ น - หน้ า 2562 โดยแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม ย่ อ หน้ าที่ 12 และ 40ช มาตรฐานการรายงานทางการเงิ น และแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม การอ้ า งอิ งมาตรฐานการ ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า รายงานทางการเงินฉบับอื่น **คำนำนี้ไม่ถือเป็ นส่วนหนึง่ ของมำตรฐำนกำรบัญชีฉบับนี้** ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ก มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 1 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 สารบัญ จากย่อหน้าที ่ วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขต 2 คานิยาม 6 การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ 9 ต้นทุนของสินค้าคงเหลือ 10 การคานวณต้นทุน 23 มูลค่าสุทธิที่จะได้รบั 28 การรับรูร้ ายการเป็ นค่าใช้จ่าย 34 การเปิ ดเผยข้อมูล 36 วันถือปฏิบตั ิ 40 การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 41 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 2 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 มาตรฐานการบั ญ ชี ฉบั บ ที่ 2 เรื่ อ ง สิ น ค้า คงเหลื อ ประกอบด้ วยย่ อ หน้ าที่ 1 ถึ ง 42 ทุ ก ย่ อ หน้ า มี ค วามส าคั ญ เท่ า กั น และมาตรฐานการบั ญ ชี ฉ บั บ นี้ ต้ องอ่ า นโดยค านึ ง ถึ ง ข้ อก าหนดของ กรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีท่ไี ม่ได้ ให้ แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้ นโยบาย การบัญชี ให้ กิจการถือปฏิบัติตามข้ อกาหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญ ชี การเปลีย่ นแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้ำคงเหลือ วัตถุประสงค์ 1 มาตรฐานการบัญ ชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกาหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชีสาหรับสินค้ าคงเหลือ ประเด็นหลักของการบัญชีสาหรับสินค้ าคงเหลือ คือ จานวนต้ นทุนที่จะรับรู้เป็ นสินทรัพย์และ ยกยอดไปจนกว่าจะมีการรับรู้รายได้ ท่สี ัมพันธ์กัน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กาหนดแนวปฏิบัติ ในการค านวณหาต้ น ทุ น ของสิ น ค้ า คงเหลื อ และการรั บ รู้ เป็ นค่ า ใช้ จ่ า ยในภายหลั ง รวมทั้ ง การปรับลดมูลค่าสินค้ าคงเหลือให้ เท่ากับมูลค่าสุทธิท่ีจะได้ รับ นอกจากนี้มาตรฐานการบัญ ชี ฉบับนี้ยังให้ แนวทางเกี่ยวกับวิธกี ารคานวณหาต้ นทุนของสินค้ าคงเหลืออีกด้ วย ขอบเขต 2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ถือปฏิบตั ิกบั สินค้าคงเหลือทุกประเภทยกเว้น 2.1 (ย่อหน้านี้ ไม่ใช้) 2.2 เครื่องมือทางการเงิน (ดู มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง กำรแสดงรำยกำร เครื่ อ งมื อ ทำงกำรเงิ น และมาตรฐานการรายงานทางการเงิ น ฉบั บ ที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทำงกำรเงิน) และ 2.3 สินทรัพย์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตรและผลิตผลทางการเกษตร ณ จุดเก็บเกีย่ ว (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41 เรื่อง เกษตรกรรม) 3 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ไม่ถือปฏิบตั ิกบั การวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือที่ถือไว้โดย 3.1 ผู ผ้ ลิ ต ผลิ ต ภัณ ฑ์ท างการเกษตร ผลิ ต ภัณ ฑ์จากป่ าไม้ ผลิ ต ผลทางการเกษตร ภายหลังการเก็บเกี่ยว แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ เนื่องจากสินค้าคงเหลือเหล่านั้น วัด มู ล ค่ าด้วยมู ล ค่ าสุ ท ธิ ที่ จะได้ร ับซึ่ งเป็ นวิ ธี ที่ ถื อ ปฏิ บ ัติ ก ัน อย่ างแพร่ ห ลายใน อุตสาหกรรมเหล่านั้น เมื่อกิจการวัดมู ลค่าสินค้าคงเหลือดังกล่าวด้วยมู ลค่าสุทธิ ที่จะได้รบั การเปลี่ยนแปลงในมู ลค่าดังกล่าวจะรับรูใ้ นกาไรหรือขาดทุนในงวดที่มี การเปลีย่ นแปลงมูลค่านั้น ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 3 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 3.2 นายหน้า - ผูค้ า้ สินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่ งวัดมู ลค่ าสินค้าคงเหลือด้วยมู ลค่ ายุติธรรมหัก ต้นทุนในการขาย เมือ่ สินค้าคงเหลือดังกล่าววัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนใน การขาย โดยการเปลีย่ นแปลงในมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายจะรับรูใ้ นกาไร หรือขาดทุนในงวดที่มีการเปลีย่ นแปลงมูลค่านั้น 4 สินค้ าคงเหลือตามที่กล่าวไว้ ในย่อหน้ าที่ 3.1 ซึ่งวัดมูลค่าด้ วยมูลค่าสุทธิท่ีจะได้ รับ ณ ขั้นตอน ของการผลิตที่กาหนดไว้ แน่นอน ตัวอย่างเช่น เมื่อเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร หรือเมื่อมี การสกัดแร่ ได้ แล้ วและมีความแน่ นอนว่ากิจการจะสามารถขายสินค้ า คงเหลือนั้นได้ เนื่องด้ วย มี ก ารท าสั ญ ญาซื้ อขายล่ ว งหน้ า ไว้ แ ล้ ว หรื อ มี ก ารประกั น ราคาโดยรั ฐ บาล หรื อ สิ น ค้ า นั้ น มีตลาดที่มีสภาพคล่องรองรับ และมีความเสี่ยงน้ อยมากที่จะขายสินค้ าคงเหลือนั้นไม่ได้ สินค้ า คงเหลือดังกล่าวอยู่นอกเหนือขอบเขตของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ เฉพาะในเรื่องข้ อกาหนด เกี่ยวกับการวัดมูลค่า 5 นายหน้ า – ผู้ค้า คือ ผู้ซ่ึงซื้อหรือขายสินค้ าโภคภัณฑ์เพื่อบุคคลอื่นหรือเพื่อตนเอง สินค้ าคงเหลือ ที่กล่าวถึงในย่ อหน้ าที่ 3.2 โดยส่วนใหญ่ เป็ นสินค้ าคงเหลือที่ได้ มาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขาย ในอนาคตอันใกล้ เพื่อที่จะได้ รับกาไรจากการผันผวนของราคาหรือจากส่วนต่างของราคาซื้อขาย ของนายหน้ า – ผู้ค้า ในกรณีท่ีสินค้ าคงเหลือเหล่านั้นถูกวัดมูลค่าด้ วยมูลค่ายุติธรรมหัก ต้ นทุน ในการขายสินค้ าคงเหลือดังกล่าวจะอยู่นอกเหนือขอบเขตของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เฉพาะ ในเรื่องข้ อกาหนดเกี่ยวกับการวัดมูลค่า คานิยาม 6 คาศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ มีความหมายโดยเฉพาะดังนี้ สินค้ำคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่ง มีลกั ษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1) ถื อ ไว้เพื่ อ ขายตามลัก ษณะการประกอบธุ รกิ จ ตามปกติของกิจการ 2) อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็ นสินค้า สาเร็จรูปเพือ่ ขาย หรือ 3) อยู่ใ นรู ป ของวัต ถุ ดิ บ หรื อ วัส ดุ ที่ มี ไ ว้เพื่ อ ใช้ใ น กระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ มูลค่ำสุทธิทจี่ ะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่ ค าดว่ า จะขายได้ต ามลัก ษณะ การประกอบธุ ร กิ จ ตามปกติ หัก ด้ว ยประมาณการ ต้น ทุ น ในการผลิ ต สิ น ค้า นั้น ให้ เ สร็ จ และต้น ทุ น ที่ จาเป็ นต้องจ่ ายไปเพือ่ ให้ขายสินค้านั้นได้ ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 4 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 มูลค่ำยุติธรรม หมายถึง ราคาที่จะได้รบั จากการขายสินทรัพย์ หรือจะจ่ ายเพื่อ โอนหนี้ สิ นในรายการที่ เกิ ดขึ้ นในสภาพปกติ ระหว่ าง ผูร้ ่วมตลาด ณ วันที่วดั มู ลค่า (ดูมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง กำรวัดมูลค่ำยุติธรรม) 7 มูลค่ าสุทธิท่ีจะได้ รับ อ้ างอิงถึ งจานวนเงิน สุทธิท่ีกิจการคาดว่ าจะได้ รับ จากการขายสิน ค้ าตาม ลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ มูลค่ายุติธรรมสะท้ อนให้ เห็นถึงจานวนเงินที่จะ ได้ รับจากรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติในการขายสิน ค้ าคงเหลือแบบเดียวกันในตลาดหลั ก (หรือตลาดที่ให้ ป ระโยชน์ สูงสุด) ระหว่ างผู้ร่วมตลาด ณ วัน ที่วัดมูลค่ า มูลค่าสุทธิท่ีจะได้ รั บ สะท้ อ นถึ งมู ลค่ าเฉพาะของกิ จ การ ในขณะที่ มู ลค่ ายุ ติ ธรรมไม่ ได้ สะท้ อ นถึ งมู ล ค่ าดั งกล่ าว มูลค่าสุทธิท่จี ะได้ รับของสินค้ าคงเหลืออาจจะไม่เท่ากับมูลค่ายุติธรรมหักต้ นทุนในการขาย 8 สินค้ าคงเหลือรวมถึงสินค้ าที่ซ้ ือ มาและถือไว้ เพื่อขายต่อ เช่น สินค้ าที่ผ้ ูค้าปลีกซื้อ มาและถือไว้ เพื่อขายต่อ หรือที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อ่นื ที่ถือไว้ เพื่อขายต่อ สินค้ าคงเหลือรวมถึงสินค้ าสาเร็จรูป ที่ผลิต หรือสินค้ าระหว่างผลิตโดยกิจการ วัตถุดิบหรือวัสดุท่ถี ือไว้ เพื่อรอที่จะใช้ ในกระบวนการผลิต ต้ น ทุ น ที่เกิด ขึ้ น ในการท าให้ เสร็จ สิ้น ตามสัญ ญาที่ท ากับ ลู ก ค้ า ที่ไม่ ก่ อ ให้ เกิ ด สิน ค้ า คงเหลื อ (หรื อ สิน ทรั พ ย์ท่ีอ ยู่ ภายใต้ ขอบเขตของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบั บ อื่น ) ต้ องถื อ ปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาทีท่ ากับลูกค้า การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ 9 สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รบั แล้วแต่มูลค่าใดจะตา่ กว่า ต้นทุนของสินค้าคงเหลือ 10 ต้น ทุ น ของสิน ค้าคงเหลื อ ต้อ งประกอบด้วยต้น ทุ นทั้งหมดในการซื้ อ ต้น ทุ น แปลงสภาพ และต้นทุนอื่นๆ ที่เกิดขึ้ นเพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้นอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็ นอยู่ ในปัจจุบนั ต้นทุนในการซื้ อ 11 ต้ นทุนในการซื้อของสินค้ าคงเหลือประกอบด้ วย ราคาซื้อ อากรขาเข้ า และภาษีอ่นื (สุทธิจากจานวน ที่กิจการจะได้ รับคืนในภายหลังจากหน่วยงานที่มีหน้ าที่จัดเก็บภาษี ) รวมทั้งค่าขนส่ง ค่าขนถ่าย และต้ น ทุ น อื่ น ๆ ซึ่ งเกี่ ย วข้ อ งโดยตรงกับ การได้ ม าซึ่ ง สิน ค้ า ส าเร็จ รู ป วัต ถุ ดิ บ และบริ ก าร ในการคานวณหาต้ น ทุนในการซื้อสินค้ าให้ นาส่วนลดการค้ า เงินที่ได้ รับคืนและรายการอื่น ๆ ที่คล้ ายคลึงกันมาหักออกในการคานวณต้ นทุนในการซื้อด้ วย ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 5 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 ต้นทุนแปลงสภาพ 12 ต้ นทุนแปลงสภาพของสินค้ าคงเหลือ ประกอบด้ วย ต้ นทุนที่เกี่ยวข้ องโดยตรงกับสินค้ าที่ผลิต เช่น ค่าแรงงานทางตรง รวมถึงค่าใช้ จ่ายการผลิต ที่ปันส่วนอย่างเป็ นระบบ ทั้งส่วนที่คงที่และ ค่าใช้ จ่ายการผลิต ผัน แปรซึ่งเกิดขึ้นเพื่อแปลงสภาพวัตถุดิบ ให้ เป็ นสินค้ าสาเร็จรูป ค่ าใช้ จ่าย การผลิ ต คงที่ คื อ ต้ น ทุ น การผลิ ต ทางอ้ อ มที่เกิด ขึ้ น ในการผลิ ต ด้ ว ยจ านวนที่ค่ อ นข้ า งคงที่ โดยไม่สัมพันธ์กับปริมาณการผลิต เช่น ค่าเสื่อมราคา และค่าบารุงรักษาอาคารโรงงาน อุปกรณ์ โรงงาน และสินทรัพย์สทิ ธิการใช้ ท่ใี ช้ ในกระบวนการผลิต และต้ นทุนเกี่ยวกับฝ่ ายจัดการโรงงาน และการบริหารโรงงาน ค่าใช้ จ่ายการผลิตผันแปร คือ ต้ นทุนการผลิตทางอ้ อมที่ผันแปรโดยตรง หรื อ ค่ อ นข้ างจะผั น แปรโดยตรงกับ ปริ ม าณการผลิ ต เช่ น วัต ถุ ดิ บ ทางอ้ อ ม และค่ าแรงงาน ทางอ้ อม 13 การปั นส่ วนค่ าใช้ จ่ ายการผลิ ตคงที่ เข้ าสู่ ต้ นทุ นแปลงสภาพอ้ างอิ งจากฐานก าลั งการผลิ ตปกติ ของเครื่ องมื อในการผลิ ต ก าลั งการผลิ ต ปกติ คื อ การผลิ ต ที่ ค าดว่ าจะผลิ ต ได้ โดยเฉลี่ ย ใน หลายช่ วงเวลาหรือในหลายฤดูกาลภายใต้ สภาวการณ์ ปกติ โดยค านึงถึ งกาลังการผลิตที่สูญเสีย อันเกิดจากการบารุงรักษาตามแผนที่วางไว้ ระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงอาจนามาใช้ ได้ หากใกล้ เคียง กับกาลังการผลิตปกติ จานวนค่าใช้ จ่ายคงที่ท่ีปันส่วนเข้ าแต่ละหน่ วยการผลิตจะไม่เพิ่ มขึ้นแม้ ว่า การผลิตจะลดต่าลงหรือไม่มีการผลิต ค่าใช้ จ่ายในการผลิตที่ไม่ได้ ถูกปั นส่วนให้ รับรู้เป็ นค่าใช้ จ่าย ในงวดที่เกิดค่าใช้ จ่ายนั้น ในช่ วงเวลาที่มีการผลิตสูงผิดปกติ จานวนค่าใช้ จ่ายคงที่ต่อหน่วยจะถูก ปันส่วนเข้ าสินค้ าแต่ละหน่วยที่ผลิตน้ อยลงเพื่อไม่ให้ สินค้ าคงเหลือมีมูลค่าสูงกว่าต้ นทุน ค่าใช้ จ่าย การผลิตผันแปรจะปั นส่วนเข้ าสินค้ าแต่ละหน่ วยที่ผลิตตามต้ นทุนการผลิตที่ใช้ จริงของเครื่องมือ ในการผลิต 14 ในกระบวนการผลิตหนึ่งอาจมีการผลิตผลิตภัณฑ์พร้ อมกันมากกว่าหนึ่งชนิด ตัวอย่างเช่น กรณี ที่มีการผลิตผลิตภัณ ฑ์ร่วมหรือกรณี ท่ีมี ท้ังผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์พลอยได้ หากต้ นทุน แปลงสภาพของแต่ละผลิตภัณ ฑ์ไม่อาจระบุแ ยกกันได้ อย่ างชัดเจน ให้ ใช้ เกณฑ์การปั นส่วนที่ สมเหตุสมผลและสม่าเสมอ ตัวอย่ างของเกณฑ์ท่ีใช้ ในการปั นส่วน เช่ น การใช้ มูลค่ าขายของ แต่ละผลิตภัณฑ์ ณ ขั้นตอนการผลิตที่สามารถแยกผลิตภัณฑ์ได้ อย่างชัดเจน หรือเมื่อการผลิต เสร็จสิ้น เป็ นเกณฑ์ สาหรับ ผลิตภัณ ฑ์พลอยได้ ซึ่งโดยลักษณะส่วนใหญ่ มักมี จานวนที่ไม่ เป็ น สาระสาคัญ มักจะวัดมูลค่าโดยใช้ มูลค่าสุทธิท่จี ะได้ รับและนามูลค่าดังกล่าวไปหั กจากต้ นทุนของ ผลิตภัณฑ์หลัก ดังนั้น มูลค่าตามบัญชีของผลิตภัณฑ์หลักจึงไม่แตกต่างอย่างเป็ นสาระสาคัญจาก ต้ นทุนของผลิตภัณฑ์หลัก ต้นทุนอื่นๆ 15 ต้ นทุนอื่นจะนาไปรวมในต้ นทุนสินค้ าคงเหลือได้ ตราบเท่าที่ต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อทาให้ สินค้ าคงเหลือ อยู่ ในสถานที่และสภาพที่เป็ นอยู่ ในปั จจุ บั น ตั วอย่ างเช่ น อาจเป็ นการเหมาะสมที่จะน าค่ าใช้ จ่ าย ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 6 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 ที่ไม่ได้ เกิดขึ้นจากการผลิตหรือต้ นทุน ในการออกแบบผลิตภัณ ฑ์สาหรับลูกค้ ารายใดรายหนึ่ ง โดยเฉพาะไปรวมเป็ นต้ นทุนของสินค้ าคงเหลือนั้น 16 ตัวอย่ างของต้ น ทุน ที่ไม่ น ามารวมเป็ นต้ น ทุน สิน ค้ าคงเหลือและให้ รั บ รู้ เป็ นค่ าใช้ จ่ า ยในงวด ที่เกิดขึ้น เช่น 16.1 วัตถุดิบ ค่าแรงงานหรือค่าใช้ จ่ายการผลิตอื่นที่สญ ู เสียเกินกว่าปกติ 16.2 ต้ นทุนในการเก็บรักษาสินค้ า เว้ นแต่เป็ นต้ นทุนที่จาเป็ นในกระบวนการผลิตก่อนจะถึง ขั้นตอนการผลิตถัดไป 16.3 ค่ าใช้ จ่ ายในการบริ ห ารที่ไม่ เกี่ยวกับ การท าให้ สิน ค้ าอยู่ ในสถานที่แ ละอยู่ ในสภาพ ที่เป็ นอยู่ในปัจจุบัน และ 16.4 ต้ นทุนในการขาย 17 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกูย้ ืม ระบุถึงสถานการณ์บางสถานการณ์ ท่จี ากัด ซึ่งกิจการนาต้ นทุนการกู้ยืมมารวมเป็ นต้ นทุนของสินค้ าคงเหลือได้ 18 กิจการอาจจะซื้อ สิน ค้ าโดยมีการจ่ ายชาระเงิน นานเกิน กว่ าระยะเวลาที่ได้ รับ สิน เชื่อตามปกติ แผนการจ่ ายชาระดังกล่ าวแท้ จริงแล้ วได้ รวมองค์ป ระกอบของการจัดหาเงินไว้ องค์ประกอบ ดั งกล่ า ว ตั วอย่ า งเช่ น ผลต่ า งระหว่ างจ านวนเงิน ที่จ่ า ยจริ ง กับ ราคาซื้ อที่จ่ า ยภายใต้ เงื่อ นไข การให้ สนิ เชื่อตามปกติ ให้ รับรู้เป็ นดอกเบี้ยจ่ายตลอดระยะเวลาการจัดหาเงิน ต้นทุนของสินค้าคงเหลือของผูใ้ ห้บริการ 19 (ย่อหน้ านี้ไม่ใช้ ) ต้นทุนของผลิตผลทางการเกษตรที่เก็บเกีย่ วจากสินทรัพย์ชีวภาพ 20 ตามมาตรฐานการบั ญ ชี ฉบั บ ที่ 41 เรื่ อง เกษตรกรรม สิ น ค้ าคงเหลื อ ที่ เ ป็ นผลิ ต ผล ทางการเกษตร ซึ่งกิจการเก็บเกี่ยวจากสินทรัพย์ชีวภาพจะวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการเริ่มแรกด้ วย มูลค่ายุติธรรมหักต้ นทุน ในการขาย ณ จุดเก็บเกี่ยว มูลค่าดังกล่ าวให้ ถือเป็ นต้ นทุนของสินค้ า คงเหลือ ณ วันดังกล่าวตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ เทคนิคสาหรับการวัดมูลค่าของต้นทุน 21 เทคนิคสาหรับการวัดมูลค่าของต้ นทุนสินค้ าคงเหลือ เช่น วิธีต้นทุนมาตรฐานหรือวิธีราคาขายปลีก อาจนามาใช้ เพื่อความสะดวก หากวิธีการประมาณต้ นทุนดังกล่าวให้ ผลใกล้ เคียงกับต้ นทุนจริง ต้ นทุนมาตรฐานกาหนดจากการใช้ วัตถุดิบ วัสดุโรงงาน ค่าแรงงาน ประสิทธิภาพและการใช้ กาลังการผลิตในระดับปกติ ต้ นทุนมาตรฐานต้ องมีการทบทวนอยู่เสมอและปรับปรุงเมื่อจาเป็ น เพื่อให้ สอดคล้ องกับสภาพปัจจุบัน ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 7 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 22 วิธีราคาขายปลีกมักจะใช้ กับ อุตสาหกรรมค้ าปลีก เพื่อวัดมูลค่าต้ น ทุนสินค้ าคงเหลือประเภท ที่มีกาไรใกล้ เคียงกันและมีการเปลี่ยนแปลงชนิดสินค้ าเป็ นจานวนมากอย่างรวดเร็ว ซึ่งในทางปฏิบัติ ไม่ อ าจใช้ วิธีต้น ทุ น อื่น ได้ ต้ น ทุ น ของสิน ค้ า คงเหลื อนี้ สามารถคานวณหาได้ โดยใช้ มู ลค่ าขาย ของสิน ค้ า หั ก ด้ วยอัต ราร้ อ ยละของก าไรขั้น ต้ น ที่เหมาะสม อัต ราก าไรขั้น ต้ น นี้ ต้ อ งค านึ งถึ ง สินค้ าคงเหลือที่มีการลดราคาให้ ต่าลงกว่าราคาขายเดิม โดยปกติมักจะใช้ อัตราร้ อยละถัวเฉลี่ย ของแผนกขายปลีกแต่ละแผนก การคานวณต้นทุน 23 ต้นทุนของสินค้าคงเหลือของแต่ละรายการ ซึ่งโดยปกติไม่อาจสับเปลี่ยนกันได้ และเป็ นสินค้า หรือบริการที่ผลิตขึ้ นและแยกต่ างหากไว้สาหรับโครงการหนึ่งโครงการใดโดยเฉพาะต้อง คานวณโดยใช้วิธีราคาเจาะจงสาหรับต้นทุนของแต่ละรายการ 24 ต้ นทุนตามวิธีราคาเจาะจงเป็ นวิธีการบันทึกต้ นทุนที่เจาะจงได้ ในสินค้ าคงเหลือแต่ละรายการ วิ ธี น้ ี จึ ง เหมาะที่ จ ะใช้ ส าหรั บ สิ น ค้ า ที่ แ ยกไว้ ส าหรั บ โครงการหนึ่ ง โครงการใดโดยเฉพาะ โดยไม่คานึงว่าสินค้ าคงเหลือดังกล่าวจะซื้อมาหรือผลิตขึ้นเอง อย่างไรก็ดี การบันทึกต้ นทุนตาม วิธีราคาเจาะจงจะไม่เหมาะสมหากสินค้ าคงเหลือมี รายการจานวนมากและโดยปกติมีลักษณะ สับเปลี่ยนกันได้ ในสถานการณ์ เช่น นี้ วิธีท่ีเลือกตีราคาสินค้ าคงเหลือรายการที่เหลือ อาจเป็ น ช่องทางการกาหนดผลกระทบของกาไรหรือขาดทุนได้ ล่วงหน้ า 25 ต้นทุ นสินค้าคงเหลือ นอกจากที่กล่ าวในย่ อ หน้าที่ 23 ต้อ งค านวณมู ลค่ าโดยวิ ธีเข้าก่ อ น ออกก่อน หรือวิธีตน้ ทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ าหนัก กิจการต้องใช้วิธีการคานวณต้นทุนด้วยวิธีเดียวกัน สาหรับสินค้าคงเหลือทุกชนิดที่มีลกั ษณะและการใช้คล้ายคลึงกัน สาหรับสินค้าคงเหลือที่มี ลักษณะและการใช้ต่างกันอาจใช้วิธีคานวณต้นทุนที่ต่างกันไปได้หากเหมาะสม 26 ตั วอย่ างเช่ น สิ นค้ าคงเหลื อของส่ วนงานด าเนิ นงานหนึ่ งอาจมี การใช้ สิ นค้ าคงเหลื อชนิ ดเดี ยวกั น ที่แตกต่างไปจากส่วนงานดาเนิ นงานอีกแห่ งหนึ่ง อย่ างไรก็ตาม ความแตกต่างทางด้ านสถานที่ต้ัง ทางภูมิ ศาสตร์ ของสินค้ าคงเหลื อ (หรื อภายใต้ ข้ อก าหนดทางภาษี ต่ างๆ) ไม่ ใช่ เหตุ ผลที่เพี ยงพอที่จะ ใช้ วิธกี ารคานวณต้ นทุนที่แตกต่างกัน 27 วิธี เข้ า ก่ อ นออกก่ อ นมี ข้ อ สมมติ ว่ า สิ น ค้ า คงเหลื อ รายการที่ ซ้ ื อมาหรื อ ผลิ ต ขึ้ น ก่ อ นจะขาย ออกไปก่ อน จึ งเป็ นผลให้ รายการสินค้ าคงเหลือที่เหลืออยู่ ณ วันสิ้นงวดเป็ นสินค้ าที่ซ้ ือมาหรื อ ผลิตขึ้นในครั้งหลังสุด สาหรับวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้าหนัก ต้ นทุนสินค้ าคงเหลือแต่ละรายการจะ ก าหนดจากการถั วเฉลี่ ยต้ นทุ น ของสิ น ค้ าที่ คล้ ายคลึ งกั น ณ วั น ต้ นงวดกั บ ต้ นทุ น ของสิ น ค้ า ที่ คล้ ายคลึ งกั นที่ ซ้ ื อมาหรื อผลิ ตขึ้ นในระหว่ างงวด ซึ่ งวิ ธี การค านวณต้ นทุ นถั วเฉลี่ ยอาจค านวณ เป็ นงวดๆ ไปหรือคานวณทุกครั้งที่ได้ รับสินค้ า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของกิจการ ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 8 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 มูลค่าสุทธิที่จะได้รบั 28 ต้ นทุนของสินค้ าคงเหลืออาจจะไม่ได้ รับคืนถ้ าสินค้ าคงเหลือเหล่านั้นเกิดความเสียหาย หรือเกิด ความล้ าสมัยบางส่วนหรือทั้งหมด หรือราคาขายลดลง ต้ น ทุนของสิน ค้ าคงเหลืออาจจะไม่ได้ รับคืนหากประมาณการต้ นทุนในการทาต่อให้ เสร็จหรือประมาณการต้ นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อ ทาให้ สินค้ าขายได้ เพิ่ มขึ้น การตี ราคาสินค้ าคงเหลือลดลงจากราคาทุนให้ เท่ากับมูลค่ าสุทธิท่ีจะได้ รั บ สอดคล้ องกับแนวความคิดที่ว่าสินทรัพย์ไม่ควรแสดงมูลค่าตามบัญชีท่สี ูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้ รับ จากการขายหรือประโยชน์ท่จี ะได้ รับจากการใช้ 29 การลดมู ล ค่ า ของสิ น ค้ า คงเหลื อ ลงให้ เท่ า กั บ มู ล ค่ า สุ ท ธิท่ี จ ะได้ รั บ มั ก พิ จ ารณาจากสิ น ค้ า แต่ละรายการแต่ ในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม อาจเหมาะสมที่จะพิจารณาจากกลุ่มสินค้ าที่มี ลักษณะคล้ ายคลึงกันหรือมีความเกี่ยวพันกัน โดยอาจเป็ นกรณี รายการสินค้ าที่มีความเกี่ยวข้ อง กับสายผลิตภัณฑ์เดียวกันที่มีวัตถุประสงค์หรือการใช้ ประโยชน์ข้ันสุดท้ ายคล้ ายคลึงกัน หรือมี การผลิตหรือขายในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน และในทางปฏิบัติไม่สามารถประเมินแยกจาก รายการอื่นในสายผลิตภัณฑ์เดียวกันได้ ถือเป็ นการไม่เหมาะสมที่จะปรับลดมูลค่าสินค้ าคงเหลือ ลงโดยใช้ เกณฑ์การจัดประเภทของสินค้ าคงเหลือ ตัวอย่างเช่น สินค้ าสาเร็จรูป หรือสินค้ าคงเหลือทุก ประเภทในส่วนงานดาเนินงานใดส่วนงานดาเนินงานหนึ่ง 30 ในการประมาณการมูลค่าสุทธิท่จี ะได้ รับให้ ถือตามหลักฐานที่เกี่ยวกับจานวนเงินที่คาดว่าจะได้ รับ จากสินค้ าคงเหลือซึ่งเชื่อถือได้ มากที่สุด ที่มีอยู่ในขณะที่ประมาณมูลค่า ประมาณการดังกล่าวให้ พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือต้ น ทุน ที่เกี่ยวข้ องโดยตรงกับ เหตุการณ์ ท่ีเกิดขึ้น ภายหลังวันสิ้นงวดซึ่งยืนยันว่าสถานการณ์น้นั ได้ ปรากฏอยู่แล้ ว ณ วันสิ้นงวด 31 ในการประมาณมูลค่ าสุทธิท่ีจ ะได้ รับ ให้ พิ จารณาถึงวัตถุป ระสงค์ของกิจการในการถือครอง สินค้ าคงเหลือด้ วย ตัวอย่างเช่น มูลค่าสุทธิท่จี ะได้ รับของปริมาณสินค้ าคงเหลือที่กิจการถือไว้ เพื่อขายหรือให้ บริการตามสัญญาที่แน่นอน ให้ ถือตามราคาที่กาหนดไว้ ในสัญญานั้น หากจานวน ตามสั ญ ญาการขายนั้ น มี น้ อ ยกว่ าปริ ม าณสิ น ค้ าคงเหลื อที่ ถื อ ครองไว้ มู ลค่ าสุ ท ธิ ท่ี จะได้ รั บ ของสิน ค้ า คงเหลือ ส่วนที่เกิน กว่ าปริมาณในสัญ ญาให้ ถือตามราคาขายโดยทั่วไป กิจการอาจ บันทึกประมาณการหนี้สินสาหรับปริมาณสินค้ าคงเหลือตามสัญญาขายที่แน่นอนส่วนที่เกินจาก ปริมาณสินค้ าคงเหลือที่ถือไว้ หรือที่เกิดจากสัญญาซื้อ ที่แน่นอนของกิจการ ประมาณการหนี้สิน ดังกล่ าวให้ ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญ ชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้ สิน หนี้ สินที ่อาจ เกิดขึ้น และสินทรัพย์ทีอ่ าจเกิดขึ้น 32 กิจการต้ องไม่ปรับมูลค่าวัตถุดิบหรือวัสดุอ่นื ที่ถือไว้ เพื่อใช้ ในการผลิตสินค้ าให้ ลดต่ากว่าราคาทุน ถ้ าสินค้ าสาเร็จรูปที่ผลิตจากวัตถุดิบหรือวัสดุน้ันคาดว่าจะขายได้ ในราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคาทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อการที่ราคาวัตถุดิบลดลงเป็ นข้ อบ่งชี้ว่า ต้ นทุนของสินค้ าสาเร็จรูปนั้นสูงกว่า มูล ค่ า สุท ธิท่ีจ ะได้ รั บ กิจ การต้ องปรับ ลดมู ล ค่ า วัตถุ ดิ บ ให้ ลดลงเท่ ากับ มู ลค่ าสุท ธิท่ี จ ะได้ รั บ ในสถานการณ์ เช่ น นี้ ต้ น ทุน เปลี่ยนแทนของวัตถุดิบ อาจจะเป็ นมูลค่ าที่ดีท่ีสุดในการกาหนด มูลค่าสุทธิท่จี ะได้ รับ ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 9 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 33 กิจการต้ องประเมิน มูลค่าสุทธิท่ีจะได้ รับใหม่ในแต่ละรอบระยะเวลาถัดไป เมื่อมีสถานการณ์ท่ี ทาให้ การปรับลดมูลค่าสินค้ าคงเหลือให้ ต่ากว่าราคาทุนหมดไป หรือเมื่อมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า มู ล ค่ า สุท ธิท่ีจ ะได้ รั บเพิ่ มขึ้ นเนื่ องจากการเปลี่ ยนแปลงทางสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจ ให้ กิจการ บันทึกกลับรายการปรั บลดมู ลค่ าของสินค้ าคงเหลือ (กล่ าวคื อ กลับรายการได้ ไม่ เกินจ านวนของ มูลค่าที่ป รับลดเดิ ม) เพื่ อให้ มูลค่าตามบัญ ชีใหม่ แสดงมูลค่าด้ วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิท่ีจะ ได้ รับที่ปรับปรุงใหม่ แล้ วแต่จานวนใดจะต่ากว่า ตัวอย่างของกรณีน้ ี เช่น การที่สินค้ าคงเหลือรายการ หนึ่งยกมาในงวดบัญชีถัดมาด้ วยมูลค่าสุทธิ ท่จี ะได้ รับเนื่องจากราคาขายลดลง และยังไม่ได้ ขาย ออกไปแต่ต่อมาราคาขายได้ เพิ่มขึ้น การรับรูร้ ายการเป็ นค่าใช้จ่าย 34 เมื่อมีการขายสินค้าคงเหลือออกไป มู ลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือนั้นต้องรับรูเ้ ป็ นค่าใช้จ่าย ในงวดที่มี การรับรู ร้ ายได้ที่เกี่ย วข้อ ง มู ล ค่ าที่ล ดลงของสินค้าคงเหลือ เนื่อ งจากการปรับ มู ลค่ าสินค้าคงเหลื อ ให้เท่ากับมู ลค่ าสุทธิที่จะได้รบั และผลขาดทุนทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้า คงเหลือต้องรับรูเ้ ป็ นค่าใช้จ่าย ในงวดที่ปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้ลดลงหรือมีผลขาดทุนเกิดขึ้ น จ านวนที่ เกิ ดจากการกลับรายการปรับลดมู ล ค่ า สิ น ค้า คงเหลื อ ที่ เกิ ด จากการเพิ่ ม ขึ้ นของ มูลค่าสุทธิที่จะได้รบั ต้องรับรูโ้ ดยนาไปหักจากมูลค่าของสินค้า คงเหลือที่รบั รูเ้ ป็ นค่าใช้จ่าย ในงวดบัญชีที่มีการกลับรายการดังกล่าว 35 สินค้ าคงเหลื อ บางส่ ว นอาจถู ก ปั น ส่ ว นไปยั งบั ญ ชี สิ น ทรั พ ย์ อ่ื น ตั วอย่ างเช่ น สิ นค้ าที่ใช้ เป็ น ส่วนประกอบของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ท่สี ร้ างขึ้นเอง สินค้ าคงเหลือที่ปันส่วนไปยังสินทรัพย์ ประเภทอื่นในลักษณะนี้ให้ รับรู้เป็ นค่าใช้ จ่ายตามอายุการใช้ ประโยชน์ของสินทรัพย์น้ัน การเปิ ดเผยข้อมูล 36 กิจการต้องเปิ ดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ ในงบการเงิน 36.1 นโยบายการบัญชีที่ใช้ในการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ รวมถึงวิธีที่ใช้คานวณต้นทุน 36.2 มู ล ค่ าตามบัญ ชี รวมของสินค้าคงเหลือ และมู ลค่ าตามบัญ ชี ข องสินค้าคงเหลื อ แต่ละประเภทจาแนกตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการ 36.3 มูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย 36.4 มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่รบั รูเ้ ป็ นค่าใช้จ่ายในระหว่างงวดบัญชีน้นั 36.5 มู ล ค่ าของสิ นค้าคงเหลื อ ที่ ป รับ ลดลงที่ ร ับ รู ้เป็ นค่ าใช้จ่ ายในงวดบัญ ชี น้ ัน ตาม ข้อกาหนดในย่อหน้าที่ 34 36.6 มู ลค่ าการกลับรายการปรับลดมู ลค่ าสินค้าคงเหลือ ซึ่ งกิจการรับรู โ้ ดยนาไปหักจาก มู ลค่ าของสิ น ค้า คงเหลื อ ที่ ร ับ รู ้เ ป็ นค่ า ใช้จ่ า ยในงวดบัญ ชี ต ามข้อ ก าหนดใน ย่อหน้าที่ 34 ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 10 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 36.7 สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ทาให้มีการกลับรายการปรับลดมู ลค่าสินค้า คงเหลือ ตามย่อหน้าที่ 34 และ 36.8 มูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่ใช้เป็ นหลักประกันหนี้ สิน 37 ข้ อ มูลเกี่ยวกับมูลค่ าตามบัญ ชีของสินค้ าคงเหลือที่ ถือจาแนกตามประเภทของสิน ค้ า คงเหลือ ที่แ ตกต่ างตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสิน ค้ าคงเหลือ ประเภทดังกล่ าวที่เป็ นประโยชน์ ต่ อผู้ใช้ งบการเงิน โดยทั่วไปสินค้ าคงเหลือจะถูกจัดประเภทเป็ นสินค้ าที่มีไว้ เพื่อขาย สินค้ าสาเร็จรูป สินค้ าระหว่างทา วัตถุดิบและวัสดุท่ใี ช้ ในการผลิต 38 มูลค่ าสิน ค้ าคงเหลือ ที่รับ รู้เป็ นค่ าใช้ จ่ ายในระหว่ างงวด ซึ่งโดยส่วนใหญ่ หมายถึงต้ น ทุน ขาย ประกอบด้ วยต้ นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้ องกับการวัดมูลค่าของสินค้ าที่ขายไป และค่าใช้ จ่ายในการผลิตที่ ไม่ ได้ ปันส่วนและต้ นทุนการผลิตส่วนที่สูญเสียเกินปกติ ของสินค้ าคงเหลือ ในบางสถานการณ์ กิจการอาจมีเหตุผลในการรวมต้ นทุนอื่นๆ เข้ าไปด้ วย เช่น ต้ นทุนในการจัดจาหน่ายสินค้ า 39 บางกิจการรายงานกาไรหรือ ขาดทุน ในรูป แบบที่มีผลให้ จานวนเงินที่เปิ ดเผยแตกต่างไปจาก ต้ นทุนของสินค้ าคงเหลือที่รับรู้เป็ นค่าใช้ จ่ายในระหว่างงวด ภายใต้ รูปแบบนี้กิจการจะนาเสนอ การวิเคราะห์ค่าใช้ จ่ายโดยจาแนกตามลักษณะของค่าใช้ จ่าย ในกรณีน้ ี กิจการจะเปิ ดเผยต้ นทุน ที่รับรู้เป็ นค่าใช้ จ่ายสาหรับวัตถุดิบและวัสดุส้ ินเปลือง ต้ นทุนแรงงาน และต้ นทุนอื่นพร้ อมกับ มูลค่าการเปลี่ยนแปลงสุทธิของสินค้ าคงเหลือสาหรับงวดนั้น วันถือปฏิบตั ิ 40 กิจการต้ องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กับงบการเงินสาหรับรอบระยะเวลาบัญชี ท่เี ริ่ม ในหรื อ หลังวัน ที่ 1 มกราคม 2563 เป็ นต้ น ไป ทั้งนี้ สนั บ สนุ น ให้ น าไปใช้ ก่ อ นวัน ถื อ ปฏิบั ติ หากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ สาหรับงวดก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ กิจการ ต้ องเปิ ดเผยข้ อเท็จจริงดังกล่าวด้ วย 40ก – 40ข (ย่อหน้ าเหล่านี้ไม่ใช้ ) 40ค (ย่อหน้ านี้ไม่เกี่ยวข้ อง) 40ง (ย่อหน้ านี้ไม่ใช้ ) 40จ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาทีท่ ากับลูกค้า ทาให้ เกิดการ ปรับปรุงย่อหน้ าที่ 2 8 29 และ 37 และตัดย่อหน้ าที่ 19 กิจการต้ องถือปฏิบัติตามการปรับปรุง ดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จาก สัญญาทีท่ ากับลูกค้า 40ฉ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ทาให้ เกิดการปรับปรุง ย่ อ หน้ า ที่ 2 และตั ด ย่ อ หน้ า ที่ 40ก 40ข และ 40ง กิจ การต้ อ งถื อ ปฏิ บั ติ ต ามการปรั บ ปรุ ง ดังกล่ าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือ ทางการเงิน ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 11 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 40ช มาตรฐานการรายงานทางการเงิ น ฉบั บ ที่ 16 เรื่ อ ง สั ญ ญาเช่ า ท าให้ เกิ ด การปรั บ ปรุ ง ย่อหน้ าที่ 12 กิจการต้ องถือปฏิบัติตามการปรับปรุงดังกล่าวเมื่อกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า การยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 41-42 (ย่อหน้ าเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้ อง) ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 12 คณะกรรมการกาหนดมาตรฐานการบัญชี วาระปี 2560-2563 รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สุภัทรกุล ประธานคณะกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ ทุมมานนท์ ที่ ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.กนกพร นาคทับที กรรมการ ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.สันสกฤต วิจิตรเลขการ กรรมการ ดร.เกียรตินิยม คุณติสขุ กรรมการ นางสาวยุวนุช เทพทรงวัจจ กรรมการ นางสาวรสา กาญจนสาย กรรมการ นางสาวรุ้งนภา เลิศสุวรรณกุล กรรมการ นางสาวสมบูรณ์ ศุภศิริภิญโญ กรรมการ นางสุวิมล กฤตยาเกียรณ์ กรรมการ นางอุณากร พฤฒิธาดา กรรมการ ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (นายชัชวาลย์ วยัมหสุวรรณ) กรรมการ (นางสาวปราณี เอกสุภักดิ์) กรรมการ (นางสาวนภา ลิขิตไพบูลย์) กรรมการ ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้ า (นางสาวภาสิน จันทรโมลี) กรรมการ (นางสาวยุพาวดี วรรณเลิศ) กรรมการ ผู้แทนกรมสรรพากร (นางสาวพรศิริ เหล่าพัชรกุล) กรรมการ (นายวัชรินทร์ วงศ์ตระกูลชัย) กรรมการ (นางสาวโสภา รุ่งสุริยะศิลป์ ) กรรมการ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (นางสาวปรียานุช จึงประเสริฐ) กรรมการ (นายณรงค์ ภาณุเดชทิพย์) กรรมการ ผู้แทนสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (นายประวิทย์ ตันตราจินต์) กรรมการ (นางสาวสุนิตา เจริญศิลป์ ) กรรมการ ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (นางสาวอารีวัลย์ เอี่ ยมดิลกวงศ์) กรรมการ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะกรรมการกาหนดมาตรฐานการบัญชี วาระปี 2560-2563(ต่อ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิภาดา ตันติประภา กรรมการและเลขานุการ นางณัฐสรัคร์ สโรชนันท์จีน ผู้ช่วยเลขานุการ นายเทวา ดาแดง ผู้ช่วยเลขานุการ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะอนุกรรมการกลัน่ กรองมาตรฐานการบัญชี วาระปี 2560-2563 ดร.ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล ประธานอนุกรรมการ ผู้แทนสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (นางเกล็ดนที มโนสันติ์) ที่ ปรึกษา ผู้แทนกรมสรรพากร (นางสาวพรศิริ เหล่าพัชรกุล) ที่ ปรึกษา (นายวัชรินทร์ วงศ์ตระกูลชัย) ที่ ปรึกษา (นางสาวโสภา รุ่งสุริยะศิลป์ ) ที่ ปรึกษา ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ดร.อรพินท์ เสริมประภาศิลป์ ) ที่ ปรึกษา (นางสายชล เพียรวิริยะ) ที่ ปรึกษา ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (นางสาวอุบลวรรณ แสงตรง) ที่ ปรึกษา (นางสาวญาดา สุขเกษม) ที่ ปรึกษา ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย (นางสาวรุ่งรัตน์ รัตนราชชาติกุล) ที่ ปรึกษา ผู้แทนสมาคมประกันชีวิตไทย (นางสิริลักษณ์ รัตนไชย) ที่ ปรึกษา ผู้แทนสภาหอการค้ าแห่งประเทศไทย (นางพรรณี วรวุฒิจงสถิต) ที่ ปรึกษา (นางสาวพรทิพย์ ดาวสง่า) ที่ ปรึกษา ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (นางสาวนิดาพร อัศวธีระเกียรติ์) อนุกรรมการ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (นางวิเรขา สันตะพันธุ)์ อนุกรรมการ (นางสุนันท์ อุปรมัย) อนุกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิศรุต ศรีบุญนาค อนุกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิลปพร ศรีจ่ันเพชร อนุกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย ศุภธาดา อนุกรรมการ นางสาวกมลทิพย์ เกตุทตั อนุกรรมการ นางสาวชวนา วิวัฒน์พนชาติ อนุกรรมการ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะอนุกรรมการกลัน่ กรองมาตรฐานการบัญชี วาระปี 2560-2563(ต่อ) นายณัฐเสกข์ เทพหัสดิน อนุกรรมการ นายธนฑิต เจริญจันทร์ อนุกรรมการ นายธนากร ฝักใฝ่ ผล อนุกรรมการ นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อนุกรรมการ นางสายฝน อินทร์แก้ ว อนุกรรมการ ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้ า (นายสมบุญ โมจนกุล) อนุกรรมการและเลขานุการ (นางสุภาพร บุญแทน) อนุกรรมการ นายมงคล สมผล ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้แทนจากสภาวิชาชีพบัญชี ผู้ช่วยเลขานุการ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะอนุกรรมการด้านเทคนิคมาตรฐานการบัญชี วาระปี 2560-2563 นางสาววราพร ประภาศิริกุล ประธานอนุกรรมการ นางสาวกัญญาณัฐ ศรีรัตน์ชัชวาลย์ อนุกรรมการ นางสาวกฤตยาภร อารีโสภณพิเชฐ อนุกรรมการ นายกษิติ เกตุสรุ ิยงค์ อนุกรรมการ นายไพศาล บุญศิริสขุ ะพงษ์ อนุกรรมการ นายภาคภูมิ วณิชธนานนท์ อนุกรรมการ นางสาววิไลวรรณ กาญจนกันติ อนุกรรมการ ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้ า (นางสาวถนอมทรัพย์ โสภณศิริกุล) อนุกรรมการ (นางสาวทศวรรณ บุษปะเกษ) อนุกรรมการ ผู้แทนกรมสรรพากร (นางสาวโสภา รุ่งสุริยะศิลป์ ) อนุกรรมการ (นายสิริชัย ทองดี) อนุกรรมการ ผู้แทนสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (นางสาวสุนิตา เจริญศิลป์ ) อนุกรรมการ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (นางสาวยุพิน เรืองฤทธิ์) อนุกรรมการ (นายณรงค์ ภาณุเดชทิพย์) อนุกรรมการ ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (นางสาวอารีวัลย์ เอี่ ยมดิลกวงศ์) อนุกรรมการ นายภาณุพงศ์ ศิริอคั รกรกุล อนุกรรมการและเลขานุการ นายอุดม ธนูรัตน์พงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ นายวีระเดช เตชะวรินทร์เลิศ ผู้ช่วยเลขานุการ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะอนุ กรรมการศึกษาและติดตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ วาระปี 2560-2563 นางสาววันดี ลีวรวัฒน์ ประธานอนุกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.ธารินี พงศ์สพุ ัฒน์ อนุกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลยา จันทะเดช อนุกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ ยลระบิล อนุกรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอมอร ใจเก่งกิจ อนุกรรมการ ดร.ปัญญา สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ อนุกรรมการ ดร.พิมลวรรณ ชยพรกุล อนุกรรมการ นางสาวธัญลักษณ์ เกตุแก้ ว อนุกรรมการ ผู้แทนกรมสรรพากร (นายเฉลิมพงศ์ ตั้งบริบูรณ์รัตน์) อนุกรรมการ (ดร.จารวี ชยสมบัติ) อนุกรรมการ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (นายณรงค์ ภาณุเดชทิพย์) อนุกรรมการ (นางสาวแวววไล มณีไพโรจน์) อนุกรรมการ ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (นางสาวอารีวัลย์ เอี่ ยมดิลกวงศ์) อนุกรรมการ ผู้แทนสานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (นางสาวสุนิตา เจริญศิลป์ ) อนุกรรมการ ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้ า (นางสาวยุพาวดี วรรณเลิศ) อนุกรรมการ (นางสาวภาสิน จันทรโมลี) อนุกรรมการ นางสาวสุชาดา ตันติโอฬาร อนุกรรมการและเลขานุการ ดร.ธนาดล รักษาพล ผู้ช่วยเลขานุการ นางสาวสุธรี า หงษ์มณี ผู้ช่วยเลขานุการ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์