IS ชีวิตของยุง PDF 2566

Document Details

InstrumentalTechnetium

Uploaded by InstrumentalTechnetium

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

2566

ธนเดช รุ่งกุศลทวีกุล, ธนธัส พิเชษฐ์รัตนกุล, ชนกนันท์ ชยางกูร

Tags

biology mosquitoes ecology health

Summary

รายงานเกี่ยวกับชีวิตของยุง โดยนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปีการศึกษา 2566 รายงานศึกษาเกี่ยวกับประวัติ ชีวิต วัฏจักร และโรคต่างๆที่เกิดจากยุง

Full Transcript

ชีวิตของยุง นายธนเดช รุ่งกุศลทวีกุล 18994 ม.5/8 เลขที่ 8 นายธนธัส พิเซษฎฐรัตนกุล 19115 ม.5/8 เลขที่ 15 นาวสาวชนกนันท์ ชยางกูร 20879 ม.5/8 เลขที่ 37 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS) โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ภาคเรียนที...

ชีวิตของยุง นายธนเดช รุ่งกุศลทวีกุล 18994 ม.5/8 เลขที่ 8 นายธนธัส พิเซษฎฐรัตนกุล 19115 ม.5/8 เลขที่ 15 นาวสาวชนกนันท์ ชยางกูร 20879 ม.5/8 เลขที่ 37 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS) โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ก บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง ชีวิตของยุง ผู้ศึกษา นายธนเดช รุ่งกุศลทวีกุล , นายธนธัส พิเชษฎฐรัตนกุล และนางสาวชนกนันท์ ชยางกูร ครูที่ปรึกษา นายพิสัย พงษ์ธนู ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ ยุง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ลูกน้ำมักจะกินจำพวก แบคทีเรีย โปรโตซัว ยีสต์ สาหร่าย และพืชน้ำที่มีขนาดเล็ก ยุงตัวเมียกินน้ำหวานและเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัว ผู้มักจะกินน้ำหวานจากดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้ว ย และด้วยความที่ยุงมีขนาดตัว เล็ก บินได้คล่องตัว มนุษย์เราจึงเสี่ยงกับเชื้อไวรัสที่ยุงเป็นพาหะนำมาทำร้ายเราได้ง่ายกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ไม่ว่า จะเป็นโรคไข้มาลาเรีย ที่คร่าชีวิตมนุษย์กว่า 600,000 คนต่อปี และเป็นพาหะที่ทำให้มนุษย์ป่วยด้วยโรคไข้ มาลาเรียกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งนอกจากโรคไข้มาลาเรียแล้ว ยุงที่มีมากกว่า 2,500 สายพันธุ์ ยังเป็น พาหะของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง และโรคสมองอักเสบอีกต่างหาก ซึ่งจากสถิติแล้ว ยุงที่มีพาหะของเชื้อ ไวรัสชนิดต่าง ๆ ได้คร่าชีวิตมนุษย์มากถึง 725,000 คนต่อปี เนื่องจากในปัจจุบันมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากยุง ค่อนข้างมากและก่ อความรำคาญใจ ผู้จัดทำจึง อยากทราบว่ า จะเกิด อะไรขึ ้นหากบนโลกนี้ไ ม่มี ยุง จาก การศึกษาพบว่าหากไม่มียุงจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของมนุษย์ได้แต่ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศของโลกทำ ให้สัตว์ที่มียุงเป็นอาหารลดน้อยลงและส่งผลต่อระบบนิเวศในวงกว้าง นอกจากนี้การศึกษาเรื่องของยุง ยัง สามารถนำไปปรับใช้ในด้านอื่นๆได้อีกเช่นกัน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาโรคที่เกี่ยวข้องกับยุง 2. เพื่อศึกษาธรรมชาติของยุง และการอยู่อาศัยของยุง 3. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของยุง 4. เพื่อศึกษาการขยายพันธุ์ของยุงในอนาคต และควบคุมปริมาณของยุง 5. เพื่อศึกษาวิธีการกำจัดยุงอย่างถูกต้อง ผลการค้นคว้า หากไม่มียุงจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของมนุษย์ได้แต่ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศของ โลกทำให้สัตว์ที่มียุงเป็นอาหารลดน้อยลงและส่งผลต่อระบบนิเวศในวงกว้าง ข กิตติกรรมประกาศ การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เพราะได้รับความกรุณา แนะนำช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก นายพิสัย พงษ์ธนู ครูที่ปรึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS) ซึ่งผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่งจึง ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณที่ได้กรุณาให้แนวคิดต่างๆข้อแนะนำหลายประการ ทำให้งานวิจัยนี้สมบูรณ์แบบ มากยิ่งขึ้น คณะผู้ศึกษา สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ 1 สมมติฐาน 1 ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า 1 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2 วิธีศึกษาและรวมรวมข้อมูล 10 ผลการศึกษา 10 สรุปและอภิปรายผล 14 บรรณานุกรม 15 ประวัติผู้จัดทำ 16 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ยุงเป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลก แต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในโลกของเรานี้มียุงทั้งหมดมากกว่า 3000 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบว่ามียุงอย่างน้อย 412 ชนิด ยุงเป็นสัตว์ที่แพร่พันธุ์ได้จำนวนมากและเป็น อันตรายต่อมนุษย์มากเนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคให้แก่มนุษย์เช่นไข้เลือดออกเท้าช้าง ไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุน กุนย่า) ไข้สมองอักเสบฯลฯ จากการศึกษาเรื่องยุงทำให้เราได้ทราบวัฏจักรของยุงรวมถึงความสำคัญของยุง ใน ระบบนิเวศเพื่อเป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศของธรรมชาติ และได้ทราบเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของยุง การ ขยายพันธุ์ของยุงในอนาคต และควบคุม ปริมาณของยุงได้ศึกษาวิธีการกำจัดยุงอย่างถูกต้อง ดังนั้นปัญหาเรื่องยุงจึงมีความสำคัญอย่างมากจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญ หาอย่างเร่ง ด่วนตลอดจนหา แนวทางมาวางแผนการป้องกันให้ได้ผลซึ่งแนวทางเหล่านี้จะต้องเป็นไปได้สูงที่จะเกิดผลทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาวการป้องกันและแก้ไขปัญหายุงเป็นมาตรการหลักมาตรการหนึ่งซึ่งมุ่งที่จ ะขจัดหรือลดความสูญเสีย ทรัพยากรต่างๆและยังช่วยลดผู้ป่วยที่มาจากยุงได้มากขึ้นการศึกษาในครั้งนี้มุ่งเตรียมให้สามารถเผชิญ สภาพที่ เกิดขึ้นและทำการเปลี่ยนแปลง ให้ผู้ศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายและเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จากแนวคิดผลการศึกษาและปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษามีความสนใจในการทำโครงงานเรื่องชีวิตของยุง เพื่อใช้ในการเรียนรู้และสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องชีวิตของยุง เพื่อใช้ในการต่อยอดความรู้ในเรื่องของยุงดังนั้น การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเรื่องชีวิตของยุงฉบับนี้ จึงมุ่งศึกษาการกำจัดและสมมติฐานของยุงเพื่อศึกษาและ ค้นคว้าต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาโรคที่เกี่ยวข้องกับยุง 2. เพื่อศึกษาธรรมชาติของยุง และการอยู่อาศัยของยุง 3. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของยุง 4. เพื่อศึกษาการขยายพันธุ์ของยุงในอนาคต และควบคุมปริมาณของยุง 5. เพื่อศึกษาวิธีการกำจัดยุงอย่างถูกต้อง สมมติฐาน ถ้ายุงหายไปจากโลกจะช่วยให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายขึ้น ระบบนิเวศจะน่าอยู่มากขึ้น และอัตราการ เสียชีวิตจะน้อยลง ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า ศึกษาลักษณะของยุง วัฏจักรของยุง ประวัติชนิดยุง โรคร้ายต่างๆที่เกิดจากยุงและการกำจัดยุงเพื่อนำ การศึกษานี้นำไปสู่การปรับใช้ในการลดผู้ป่วยโรคต่างๆที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรคร้ายและการนำไปใช้ใน ด้านอื่นๆ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ประวัติและชนิดยุง ยุงเป็นแมลงที่มีมานานกว่า 30 ล้านปี โดยเป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลก แต่พบมากใน เขตร้อนและเขต อบอุ่น จากหลักฐานทางฟอสซิลซากดึกดำบรรพ์ พอจะสันนิษฐานได้ว่า ยุงถือกำเนิดขึ้นในโลกตั้ง แต่ปลายยุค Paleozonic ซึ่งเป็นยุคดึก ดาบรรพ์เมี่ อประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว โดยเชื่อว่ายุงก้นปล่องซึ่งอยู่ใน genus Anopheles เป็นยุงที่เกิดขึ้นก่อน ตามด้วยยุงยักษ์ใน genus Taxorhynchites และยุงในกลุ่ม Culicinae ยุงเป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลก แต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในโลกของเรานี้มียุงทั้งหมดมากกว่า 3000 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบว่ามียุงอย่างน้อย 412 ชนิด มีชื่อเรียกตามภาษาไทยแบบง่าย ๆ คือ ยุงลาย (Aedes) ยุงราคาญ (Culex) ยุงก้นปล่อง (Anopheles) ยุงเสือหรือยุงลายเสือ (Mansonia) และ ยุงยักษ์หรือ ยุงช้าง (Toxorhynchites) ซึ่งไม่ครอบคลุมสกุลของยุงทั้งหมดที่มีอยู่ ยุงก้นปล่อง Anopheles gambiae พาหะนาโรคมาลาเรียที่สำคัญในทวีปแอฟริกาได้รับฉายาว่าเป็น the world's "deadliest" animal ภาพที่ 1 แสดงลักษณะของยุง 3 รูปร่างลักษณะ ยุงเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีขนาดลาตัวยาว 4-6 มิลลิเมตร บางชนิดมีขนาดเล็กมากเพียง 2- 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และบางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 มิลลิเมตร ยุงมี 6 ขา ลาตัวเป็นปล้อง มีปีกหนึ่งคู่ อีก หนึ่งคู่ หดหายไป หรืออาจเหลือเป็นปุ่มอยู่ติดหลังปีก ใช้เป็นประโยชน์ในการทรงตัวหรือบิน ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจน และสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้อย่ าง ง่ายๆ โดย สังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ยุงมีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสาหรับบิน 1 คู่ ส่วนหัวของยุงประกอบด้วยระบบรับสัญญาณเพื่ อล่าเหยื่อและอวัยวะกัดดูด ตาของยุงเป็นชนิดเชิงประกอบ หนวดยุงทาหน้าที่รับรู้สารเคมีรอบๆตัว ส่วนปากมีอวัยวะสาหรับกัดดูด โดยเฉพาะในยุงตัวเมียจะมีขนาดใหญ่ และแข็งแรงมาก ส่วนอกของยุงประกอบด้วยปีก 1 คู่ และขา 6 ขา รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบิน หัวใจของ ยุงเป็นชนิดเชิงประกอบ ระบบประสาทเป็นชนิดปุ่มประสาททางด้านล่างของลำตัว ท่อหายใจของยุงเป็นส่วนที่ ภาพที่ 2 แสดงส่วนต่างๆของยุง วงจรชีวิตของยุง ในประเทศไทยมีประมาณ 400 ชนิด ยุงบาง ชนิดแค่ก่อความรำคาญโดยการดูดกินเลือดคนและสัตว์ เลี้ยงเป็นอาหารเท่านั้น แต่ก็มียุงอีกหลายชนิดซึ่งนอกจากจะดูดกินเลือดเป็นอาหารแล้ว ยัง เป็นพาหะนำโรค ร้ายแรงต่างๆ มาสู่คนและสัตว์อีกด้วย ซึ่ง นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งการที่จะควบคุม ยุงให้ได้ผลดีนั้นจะต้อง เรียนรู้ยุงให้ถ่องแท้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีววิทยา ของยุงซึ่งรวมทั้งวงจรชีวิต อุปนิสัยของยุง ถิ่นที่อยู่ และ แหล่งเพาะพันธุ์ วงจรชีวิตของยุง จะมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเป็นไข่ (egg stage) ระยะตัวอ่อน (larva stage) ระยะ เป็นดักแด้ (pupa stage) และระยะตัวเต็มวัย (adult stage) ซึ่ง ยุง จะมีวงจรชีวิต 9-14 วัน ตัวเมีย อายุ ประมาณ 1-3 เดือน ตัวผู้อายุประมาณ 6-7 วัน ยุงแต่ละตัววางไข่ได้ 3-4 ครั้ง จำนวน 50-300 ฟองต่อครั้ง ยุง ตัวเมียเมื่ออายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์ เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการ เจริญเติบโตของรังไข่ ส่วนยุงตัวผู้จะดูดน้ำหวานเพื่อดำรงชีวิต หลังจากดูดเลือดเมื่อไข่สุกเต็มที่ ยุงตัวเมียจะหา แหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก 4 ภาพที่ 3 แสดงถึงวัฏจักรของยุง ยุงก่อให้เกิดโรคร้ายอะไรบ้าง โรคไข้เลือดออก ยุงนั้นเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกที่มักระบาดในช่วงหน้าฝน โรคไข้มาลาเลีย เป็นโรคติดต่อ ที่พ บในเขตร้อน โดยเฉพาะบ้านเราเองก็ม ีรายงานว่าพบผู้ ป ่ ว ย มาลาเรียแต่พบเฉพาะในเขตป่าเขาบริเวณชายแดนของประเทศไทย โดยอาการป่วยของโรคนี้คือ จะมี ไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เบื่ออาหาร ถ้าอาการหนักขึ้นอาจเกิดภาวะไตวายและเสียชีวิตได้ โรคเท้าช้าง พบในทวีปเขตร้อน สำหรับในประเทศพบมากในภาคใต้ อาการที่เกิดนั้นจะเกิดจากพยาธิ สภาพที่เกิดขึ้นจากพยาธิตัวกลมที่ถูกปล่อยจากยุงนั้นจะไปทำลายระบบไหลเวียนของท่อ น้ำเหลือง และระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบในท่อน้ำเหลือง และอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายจะบวมขึ้น และอาจเกิดการติดเชื้อบริเวณดังกล่าวเพิ่มอีก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย(ชิคุณกุนยา) โรคนี้พบว่าเกิดการระบาดในทางตอนใต้ของประเทศไทย โรคไข้สมองอักเสบ โรคนี้เกิดจากการที่ยุงนั้นพาเชื้อมาจากหมู พบมากในประเทศไทยโดยเฉพาะใน จังหวัดที่มีการเลี้ยงหมู ว่ากันว่าผู้ได้รับเชื้อ 300 คน จะเป็นโรคซัก 1 คน ภาพที่ 4 แสดงถึงคนไข้ที่มีอาการไข้เลือดออกซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ 5 พฤติกรรมของยุง ยุงตัวเต็มวัยทั้ง 2 เพศ กินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ส่วนใหญ่ยุงตัวเมียยัง ต้องการโปรตีนจากเลือดมนุษย์หรือสัตว์เพื่อช่วยในการเจริญของไข่และใช้สร้างพลังงาน ดังนั้น ยุงตัวเมีย เท่านั้นที่กัดคนและสัตว์ ยุงแต่ละชนิดชอบกินเลือดต่างกัน พวกที่ชอบกินเลือดสัตว์เรียก zoophilic ส่วนพวก ที่ชอบกินเลือดคน เรียก anthropophilic เลือดจะเข้าไปช่วยในการเจริญ ของไข่ การเจริญ ของไข่เเบบที่ ต้องการโปรตีนจากเลือด เรียก anautogeny มียุงไม่กี่ชนิดที่ไข่จะสุกได้โดยใช้อาหารที่สะสมไว้โดยไม่ต้องกิน เลือด เรียก autogeny เช่น ยุง Aedes togoi, Culex molestus เป็นต้น เวลาที่ยุงออกหากินก็ไม่เหมือนกัน เช่น ยุงลายชอบหากินในเวลากลางวัน ยุงรำคาญชอบหากินในเวลากลางคืน ยุงแม่ไก่ชอบหากินตอนพลบค่ำ และย่ำรุ่ง เป็นต้น การบิน มีลักษณะเฉพาะสำหรับยุงแต่ละชนิด เช่น ยุงลายบ้านจะบินไปไม่ไกล บินได้ประมาณ 30-300 เมตร ยุงลายสวนบินได้ประมาณ 400-600 เมตร ยุงก้นปล่องบินได้ประมาณ 0.5-2.5 กิโลเมตร ส่วนยุงรำคาญบินได้ ตั้งแต่ 200 เมตร ถึงหลายกิโลเมตร ยุงพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบบินได้ไกลถึง 50 กิโลเมตรยุงตัวเมียสามารถ บินได้ไกลกว่ายุงตัวผู้ ภาพที่ 5 แสดงถึงพฤติกรรมของยุงในขณะที่บิน 6 การผสมพันธุ์ ยุงตัวผู้ลอกคราบโผล่ออกจากตัวโม่งก่อนยุงตัวเมีย และอยู่ใกล้ ๆ แหล่งเพาะพันธุ์ เมื่อตัวเมียออกมา 1-2 วัน จะผสมพันธุ์กัน หลังจากผสมพันธุ์แล้วยุงตัวเมียจะออกหาแหล่งเลือด แต่ยุงบางชนิดต้องการเลือด ก่อนการผสมพันธุ์ เช่น Anopheles culicifacies เป็นต้น นอกจากนี้ ยุงก้นปล่องมีพฤติกรรมการบินว่อนเป็น กลุ่มเพื่อการจับคู่ผสมพันธุ์ เรียก swarming ซึ่งมักเกิดขึ้นตอนพระอาทิตย์กำลังตก โดยแสงที่อ่อนลงอย่าง รวดเร็วมีผลในการกระตุ้นกิจกรรมนี้ ส่วนยุงลายจับคู่ผสมพันธุ์โดยไม่ต้อง swarm ตัวผู้จะตอบสนองต่อเสียง กระพือปีกของยุงตัวเมีย ยุงลายตัวผู้สามารถค้นหาตัวเมียได้ภายในระยะทาง 25เซนติเมตร ภาพที่ 6 แสดงถึงการวางไข่ของยุง อายุของยุง ยุงตัวผู้มักมีอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย โดยยุงตัวผู้มีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ ยกเว้นในกรณีที่เลี้ยงดูด้วย อาหารสมบูรณ์และมีความชื้นเหมาะสมจะมีอายุอยู่ได้เป็นเดือน ส่วนยุงตัวเมียมีอายุ 1-5 เดือน อายุของยุง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ในฤดูร้อน ยุงมีกิจกรรมมากทำให้อายุสั้น เฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์ในฤดูหนาว ยุงมีกิจกรรมน้อยจึงอายุยืน ในบางพื้นที่ยุงสามารถจำศีลตลอดฤดูหนาว ภาพที่ 7 แสดงถึงอายุไขของยุง 7 ทำไมยุงจึงดูดเลือดมนุษย์ โลกของเรามียุงอยู่ประมาณ 3,000 ชนิด เชื่อกันว่าโลกของเรามียุงมาตั้งแต่ 30 ล้านปีก่อน ยุงตัวเมีย เท่านั้นที่ดูดเลือดกินเป็นอาหาร เนื่องจากอาศัยโปรตีน และธาตุเหล็กที่อยู่ในเลือดเพื่อสร้างไข่ของ ยุง(ตัวเมีย) เสาะหาอาหาร (ซึ่งคือเลือด) มี Chemical Sensors ซึ่งสามารถตรวจจับคาร์บอนไดออกไซด์และกรด Lactic ได้ในระยะไกลถึง 100 ฟุต หลังจากที่มันจับสัญญาณได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่ใกล้เคียง (สิ่งมีชีวิตหายใจออกมาเป็น ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์) มันก็จะอาศัยจมูกของมันนำทางไปยังเหยื่อของมันทันที ในขณะที่ยุงดูดเลือด เพื่อให้ การดูดเลือดของมันสะดวกขึ้น มันจะปล่อยโปรตีนชนิดหนึ่งออกมาซึ่งมีผลกับการแข็งตัวของเลือด และทำให้ เรารู้สึกคัน ความจริงยุงไม่ได้กัดเรา แต่ยุงใช้งวงจิ้มผ่านผิวหนังด้านนอก เหมือนอย่างที่เราใช้หลอดดูดน้ำ เมื่อผ่าน ผิวหนังชั้นนอกมันจะใช้งวงหาเส้นเลือดในผิวหนัง ชั้น dermal layer เมื่อยุงพบเส้นเลือดมันจะปล่อยน้ำลาย ออกมา ในน้ำลายยุงจะมีสาร Anti-coagulant ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลโดยไม่แข็งตัวให้ ยุง สามารถดูดกินได้ อย่างสบายพุง แดงๆของมัน เมื่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของเรา รู้สึกถึงสิ่งแปลกปลอม ที่ บุกรุกสู่ร่างกาย ร่างกายจะสร้างสาร Histamine ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ระดับ Histamine ที่เพิ่มขึ้นบริเวณที่ถูกยุง กัด เป็นเหตุให้หลอดเลือดในบริเวณนั้นขยายตัว ทำให้เกิดอาการบวมแดง ทำให้เส้นประสาทในบริเวณนั้น ได้รับการกระตุ้น และ ระคายเคือง อย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการคันขึ้น ส่วนยุงเพศผู้ไม่ดูดเลือดเมื่อผสมพันธุ์แล้วก็จะตายไป และน้ำหวานจากดอกไม้ (nectar) น้ำจาก พืชผักผลไม้ (juices) อันที่จริงยุงบางสายพันธุ์ทั้งตัวเมียและตัวผู้ล้วนกินน้ำหวานดอกไม้และน้ำ ผักผลไม้เป็น อาหาร ยุงตัวเมียจะดื่มเลือดเฉพาะช่วงเวลาที่พวกเธอวางไข่เท่านั้น ภาพที่ 8 เมื่อยุงใช้งวง จิ้มผ่านผิวหนัง เข้าสู่เส้นเลือดของเรา 8 เมื่อไม่มียุงบนโลก ยุง เป็นแมลงที่สร้างความรำคาญให้มนุษย์และเป็นพาหะนำโรคหลายโรคให้กับมนุษย์และยังเพิ่ม จำนวนอย่างรวดเร็ว หากยุงหายไปจากโรคก็จะช่วยลดการเกิดโรคจากยุง ลดการใช้ทรัพยากรและเงินเป็น จำนวนมาก เพราะในปัจจุบันมีการแพร่เชื้อมาลาเลียให้ผู้คนเป็นจำนวน 247 ล้านคนทั่วโลกและคร่าชีวิตผู้คน เกือบหนึ่งล้านคน และยังคร่าชีวิตสัตว์ป่าอีกด้วย หากมองในแง่เศรษฐกิจ รัฐบาลจะไม่ต้องสูญเสียงบประมาณ ในการรักษาโรคที่มีพาหะจากยุง WHO ประเมินว่าที่มีการระบาดของมาลาเรียก็จะมี GDP เพิ่มสูงขึ้นมากถึง 1.3% เลยทีเดียว ภาพที่ 9 แสดงถึงในบริบทเมื่อไม่มียุง ผลกระทบถ้ายุงหายจากโลก หากเรากำจัดยุงทั้งหมดบนโลกได้ ซึ่งตัวอ่อนนั้น มีความสำคัญมากในนิเวศวิทยาทางน้ำ และแมลง จำนวนหลายตัว รวมทั้งปลาตัวเล็กๆ ที่กินพวกตัวอ่อนเป็นอาหาร การสูญเสียแหล่งอาหารด้งกล่าวจะทำให้ จำนวนของพวกแมลงและปลาลดลงเช่นกันยุงสามารถกำจัดออกไปได้แต่ความเสียหายทางนิเวศวิทยาก็เป็นสิ่ง ที่ต้องคำนึงถึง หากต้องระบายน้ำในหนอง หรือในพื้นที่ชุ่มน้ำ การใช้สารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ป่ากว้าง พร้อม กับการบังคับใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดต่างๆ จะทำให้การกำจัดยุงไม่คุ้มค่า นอกจากจะมีเหตุฉุกเฉินออกมาจาก ทางสาธารณสุขถึงขั้นที่จึงสรุปได้ว่า หากจะกำจัดยุงนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่จะมันเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และ ซับซ้อน เนื่องจากต้องคำนึงถึงผลกระทบ หลายๆอย่างที่ตามมาด้วย นักวิทยาศาสตร์มองว่าถึงยุงจะเป็นส่วนนึงในระบบนิเวศ หากยุงสูญพันธุ์ไปก็อาจจะไม่กระทบกับห่วง โซ่อาหารมากนัก ในยีนของสัตว์ที่กินยุงและลูกน้ำอาจจะมีการกลายพันธุ์เล็กน้อย แต่สุดท้ายสัตว์ที่กินยุงหรือ ลูกน้ำก็จะสามารถกินแมลงหรือสัตว์ชนิดอื่นทดแทนได้ ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อจำนวนแมลงชนิดอื่ นๆ ที่ สัตว์กินยุงต้องกินทดแทน แต่ก็เชื่อว่าระบบนิเวศจะเยียวยาตนเองต่อไปได้ 9 ภาพที่ 10 แสดงถึงในบริบทเมื่อไม่มียุง วิธีการควบคุมยุง 1.การควบคุมโดยวิธีชีววิทยา (Biological control) การนำสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติมาควบคุมยุงพาหะให้ได้ผลนั้น ต้องมีปริมาณมากพอที่จะควบคุมประชากรยุง พาหะได้ เช่น การให้ปลากินลูกน้ำ ตัวห้ำ เชื้อรา แบคทีเรีย และโปรโตซัว เป็นต้น 2.การควบคุมโดยใช้สารเคมี (Chemical control) การใช้มาตรการควบคุมโดยใช้วัตถุอันตราย เช่น การใช้สารไพรีทรอยด์สังเคราะห์สารสกัดธรรมชาติ สาร ออร์กาโนคลอรีน สารออร์กาโนฟอสเฟตและสารคาร์บาเมต เป็นต้น 3.การควบคุมโดยวิธีกล (Mechanical control) เช่น การใช้มุ้ง การสวมเสื้อมิดชิด ใช้ยาจุดกันยุง ใช้มุ้งลวด เป็นต้น 4.การควบคุมโดยวิธีพันธุกรรม (Genetic control) เช่น ทำให้โครโมโซมของยุงพาหะเปลี่ยนไปไม่สามารถ นำเชื้อได้ ทำให้ยุงเป็นหมันโดยใช้สารกัมมันตรังสีหรือใช้วัตถุอันตราย เป็นต้น 5.การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง (Insect growth regulators: IRG) เช่น การใช้สารคล้ายจู วิไนล์ฮอร์โมนและสารยับยั้งการสร้างผนังลำตัว เป็นต้น ภาพที่ 11 แสดงถึงการกำจัดยุงโดยการพ่นควัน ภาพที่ 12 แสดงถึงการทดลองดัดแปลงพันธุกรรมยุง 10 วิธีศึกษาและรวมรวมข้อมูล 1. เลือกหัวข้อที่สนใจที่จะศึกษา 2. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับยุง 3. ตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมและนำมาคัดเลือก 4. จัดเรียงข้อมูลตามความสำคัญ 5. สรุปผลที่ได้รับจากการศึกษา ผลการศึกษา ลักษณะของยุง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนหัว (head) มีลักษณะ กลมเชื่อมติดกับส่วนอก ประกอบด้วย ตา 1 คู่ ตาของยุง เป็นแบบตาประกอบ (compoundeyes) มีหนวด (antenna) 1 คู่ ระยางค์ปาก (palpi) 1 คู่ และมีอวัยวะเจาะดูด (proboscis) 1 อัน มีลักษณะเป็น แท่งเรียวยาวคล้ายเข็ม สำหรับ แทงดูด อาหาร หนวดของยุง แบ่งเป็น 15 ปล้อง สามารถใช้จำแนกเพศของยุงได้แต่ละปล้องจะมีขนโดยรอบ ในยุงตัวเมีย ขนนี้จะสั้นและ ไม่หนาแน่น (sparse) เรียกว่า pilose antenna ส่วนตัวผู้ ขนจะยาวและเป็นพุ่ม (bushy) เรียกว่า plumose antenna หนวดยุง เป็นอวัยวะที่ใช้ในการ รับคลื่นเสียง ตัวผู้จะใช้รับเสียงการกระพือปีกของตัวเมีย , ความชื้นของ อากาศ, รับกลิ่น Palpi แบ่ ง เป็ น 5 ปล้ อ ง อยู ่ ต ิ ด กั บ proboscis ในยุ ง ก้ น ปล่ อ งตั ว เมี ย palpi จะตรง และยาวเท่ า กั บ proboscis ส่วนยุงตัวผู้ ตรงปลาย palpi จะโป่งออกคล้ายกระบอง ในยุงอื่นที่ไม่ใช่ยุงก้นปล่อง palpi ของตัวเมียจะสั้น ประมาณ 1/4 ของ proboscis ส่วนตัวผู้ palpi จะยาวแต่ตรงปลายไม่โป่งและมีขนมากที่สองปล้องสุดท้าย ซึ่งจะงอขึ้น ภาพที่ 13 แสดงถึงลักษณะหนวดยุง 11 2. ส่วนอก (thorax) มีปีก 1 คู่ ด้านบนของอก (mesonotum) ปกคลุมด้วยขนหยาบๆ และเกล็ด ซึ่งมี สีและลวดลายต่างๆ กัน เราใช้ ลวดลายนี้สำหรับแยกชนิดยุงได้ด้านข้างของอกมีเกล็ดและกลุ่มขน ซึ่ง ใช้แยกชนิดของยุงได้เช่นกัน ด้านล่างของอกมีขา แต่ละขา แบ่งออกเป็นช่วงต่างๆ คือ coxa ซึ่งมี ขนาดสั้นอยู่ที่โคนสุด ต่อไปเป็น trochanter คล้ายๆ บานพับ, femur, tibia และ tarsus ซึ่งมีอยู่ 5 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีหนามงอๆ 1 คู่ เรียกว่า claws ขาก็ มีเกล็ดสีต่างๆ ใช้แยกชนิดของยุงได้ปีกมี ลักษณะแคบและยาว มีลาย เส้นปีก (veins) ซึ่ง มีชื่อเฉพาะของแต่ละเส้นปีกจะมีเกล็ดสีต่างๆ กัน ตรงขอบปีกด้านหลังจะมีขนเรียงเป็นแถว เรียก fringe เกล็ดและขนบนปีกนี้ก็ใช้ในการแยกชนิดของ ยุง ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมี halters 1 คู่ มีลักษณะเป็นปุ่มเล็กๆ อยู่ต่อหลัง จากปีก เมื่อยุง บิน halters จะสั่นอย่างเร็ว ใช้ประโยชน์ในการทรงตัวของยุง ภาพที่ 14 แสดงถึงส่วนอกของยุง 3. ส่วนท้อง (abdomen) มีลักษณะกลม ยาว ประกอบด้วย 10 ปล้อง แต่จะเห็นชัด เพียง 8 ปล้อง ปล้องที่ 9-10 จะดัดแปลงเป็นอวัยวะ สืบพันธุ์ในยุงตัวผู้จะใช้ส่วนนี้ใช้แยกชนิดของยุงได้ ประโยชน์ของยุง ยุงเป็นอาหารที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารทั้งแมลงปอ ค้างคาว ปลา นกต่างก็กินยุงและลูกน้ำเป็นอาหาร และลูกน้ำของยุงก็ยังช่วยรีไซเคิลตะไคร่น้ำขนาดจิ๋วในน้ำ ยุงเหมือนเป็นห่วงโซ่ลำดับแรกๆของระบบนิเวศ และ ยุงช่วยผสมเกสรดอกไม้ อันที่จริงมีเพียงยุงตัวเมียไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่กินเลือดมนุษย์เพื่อต้องการโปรตีนใช้วางไข่ โดยส่วนมากทั้งยุงตัวผู้และตัวเมียกินเกสรดอกไม้ เมื่อเวลาที่ยุง กินเกสรก็จะช่วยผสมพันธุ์ให้กับดอกไม้ โดยเฉพาะพืชน้ำ พอพืชน้ำขยายพันธุ์ก็จะสร้างร่มเงาให้สัตว์น้ำได้อาศัย ในด้านเทคโนโลยีการกระพือปีกของ ยุงนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการบินของโดรน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดตั้งคำถามว่าทำไมยุง จึงสามารถบินขึ้นได้ในแนวดิ่งโดยอาศัยเวลาไม่กี่วินาทีเมื่อเทียบกับขนาดปีกและลำตัว (ยังไม่รวมเวลากินเลือด อิ่มๆ บางตัวนี่ไวยังกับนินจา) จึงทำการวิจัยเกี่ยวกับการกระพือปีกของยุงและพบว่ายุงกระพือปีกกว่่า 800 ครั้งต่อวินาที ทำให้มีการคิดค้นออกแบบโดรนที่มีรูปร่างและปีกให้มีแรงส่งที่สามารถต้านการปะทะของลมได้ 12 ภาพที่ 15 แสดงลักษณะของยุง ถ้ายุงหายจากโลก นักวิทยาศาสตร์มองว่าถึงยุงจะเป็นส่วนนึงในระบบนิเวศ หากยุงสูญพันธุ์ไปก็อาจจะไม่กระทบกับห่วง โซ่อาหารมากนัก ในยีนของสัตว์ที่กินยุงและลูกน้ำอาจจะมีการกลายพันธุ์เล็กน้อย แต่สุดท้ายสัตว์ที่กินยุง หรือ ลูกน้ำก็จะสามารถกินแมลงหรือสัตว์ชนิดอื่นทดแทนได้ ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อจำนวนแมลงชนิดอื่นๆ ที่ สัตว์กินยุงต้องกินทดแทน แต่ก็เชื่อว่าระบบนิเวศจะเยียวยาตนเองต่อไปได้ ภาพที่ 16 แสดงถึงการศึกษาเรื่องการประพือปีกของยุง นำไปสู่การคิดค้นโดรน ภาพที่ 17 แสดงถึงพฤติกรรมของยุงเวลาดูดเลือดมนุษย์ 13 ภาพที่ 18 แสดงถึงงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ที่ให้ยุงดูดเลือด เพื่อผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 14 สรุปและอภิปรายผล ยุง เป็นแมลงที่สร้างความรำคาญให้มนุษย์และเป็นพาหะนำโรคหลายโรคให้กับมนุษย์และยังเพิ่ม จำนวนอย่างรวดเร็ว หากยุงหายไปจากโรคก็จะช่วยลดการเกิดโรคจากยุง ลดการใช้ทรัพยากรและเงินเป็น จำนวนมากหากเรากำจัดยุงทั้งหมดบนโลกได้ ซึ่งตัวอ่อนนั้น มีความสำคัญมากในนิเวศวิทยาทางน้ ำ และแมลง จำนวนหลายตัว รวมทั้งปลาตัวเล็กๆ ที่กินพวกตัวอ่อนเป็นอาหาร การสูญเสียแหล่งอาหารด้งกล่าวจะทำให้ จำนวนของพวกแมลงและปลาลดลงเช่นกันยุงสามารถกำจัดออกไปได้ แต่ความเสียหายทางนิเวศวิทยาก็เป็นสิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน 15 บรรณานุกรม ผาทอง กรุ๊ป. (2561). วงจรชีวิตยุง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://phathong.com/, [วันที่สืบค้น9 มิ.ย. 2566]. Janet Fang. (2553). Ecology: A world without mosquitoes. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nature.com/, [วันที่สืบค้น 16 มิ.ย. 2566]. ข้อมูลยุง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.cheminpestcontrol.com/, [วันที่สืบค้น 16 มิ.ย. 2566]. ศ.ดร.พญ.เพณณินาท์ โอเบอร์ดอร์เฟอร์. (2564). สารพัดโรคร้าย อันตรายที่มากับ "ยุง". [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก : https://www.cmu.ac.th/th/, [วันที่สืบค้น 17 มิ.ย. 2566]. ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://health.kapook.com/view2522.html, [วันที่สืบค้น 17 มิ.ย. 2566]. Jiraporn Pakorn. (2560). ยุง!! ทำไมชอบดูดเลือด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.scimath.org/, [วันที่สืบค้น 22 มิ.ย. 2566]. Mommy of two. (2562). เชื่อมั้ยว่ายุงก็มีประโยชน์ต่อโลก (และมนุษย์) เหมือนกันนะ. [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก : https://www.blockdit.com/posts/, [วันที่สืบค้น 5 ก.ค. 2566]. 16 ประวัติผู้จัดทำ ชื่อ – สกุล ธนเดช รุ่งกุศลทวีกุล วัน เดือน ปีเกิด 20 มีนาคม 2550 สถานที่อยู่ปัจจุบัน 110/499 ซอยรามคำแหง 188 ถนนรามคำแหง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510 ประวัติการศึกษา พ.ศ.2556 ประถมศึกษา (ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1) โรงเรียนราษฏร์วิทยา พ.ศ.2561 ประถมศึกษา โรงเรียนเทพอักษร พ.ศ.2564 มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า พ.ศ.2566 มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 17 ชื่อ – สกุล ธนธัส พิเชษฎฐรัตนกุล วัน เดือน ปีเกิด 8 มกราคม 2550 สถานที่อยู่ปัจจุบัน 164 แยก 9 หมู่บ้านธรากร แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510 ประวัติการศึกษา พ.ศ.2561 ประถมศึกษา โรงเรียนโสมาภานุสสรณ์ พ.ศ.2564 มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า พ.ศ.2566 มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 18 ชื่อ – สกุล ชนกนันท์ ชยางกูร วัน เดือน ปีเกิด 23 เมษายน 2550 สถานที่อยู่ปัจจุบัน 31/239 หมู่บ้านพฤกษาวิลเลจ 1 ถนนลำลูกกา ตำบลบึงคำสร้อย อำเภอลำลูกกา ปทุมธานี ประวัติการศึกษา พ.ศ.2553 โรงเรียนแย้มสะอาดรังสิต พ.ศ.2555 โรงเรียนเฟื้องฟ้าวิทยา พ.ศ.2556 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสายไหม พ.ศ.2562 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการปทุมธานี พ.ศ.2565 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียบมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

Use Quizgecko on...
Browser
Browser