Physics - Sound Properties (Thai PDF)
Document Details
Uploaded by Deleted User
Tags
Summary
This document provides a basic overview of sound properties, including its nature as a mechanical wave, types based on frequency, characteristics like speed, and examples. It covers concepts like sound waves in different mediums and the effect of temperature on speed. The material seems to be educational notes or study material rather than an actual exam paper, since there are no questions.
Full Transcript
# บทที่ 12 เสียง ## ธรรมชาติของเสียง - เสียงเป็นคลื่นกลและคลื่นตามยาว - เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ - สามารถถ่ายโอนพลังงานการสั่นของตัวก่อกำเนิดเสียงไปในตัวกลาง - ยืดหยุ่นเช่น ของเหลว ของแข็ง แก๊ส เป็นต้น - เสียงไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ ## การเดินทางของเสียง - เสียงเกิดจากการสั่นของวัต...
# บทที่ 12 เสียง ## ธรรมชาติของเสียง - เสียงเป็นคลื่นกลและคลื่นตามยาว - เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ - สามารถถ่ายโอนพลังงานการสั่นของตัวก่อกำเนิดเสียงไปในตัวกลาง - ยืดหยุ่นเช่น ของเหลว ของแข็ง แก๊ส เป็นต้น - เสียงไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ ## การเดินทางของเสียง - เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุ - พลังงานจากการสั่นของวัตถุถ่ายโอนไปให้กับโมเลกุลของอากาศ - ทำให้โมเลกุลของอากาศหดตัว - ถ่ายโอนพลังงานที่ได้รับแก่โมเลกุลถัดไป ## ชนิดของเสียงจำแนกตามความถี่ - ความถี่ของเสียงที่มนุษย์สามารถได้ยินอยู่ในช่วง 20 - 20,000 Hz - เสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 Hz เรียกว่า **คลื่นใต้เสียง** หรือ **อินฟราโซนิค** - เสียงที่มีความถี่สูงกว่า 20,000 Hz เรียกว่า **คลื่นเหนือเสียง** หรือ **อัลตราโซนิค** - **ส่วนอัด**: ระยะที่โมเลกุลของตัวกลางที่อยู่ชิดกันมากกว่าปกติ - **ส่วนขยาย**: ส่วนโมเลกุลที่อยู่ห่างกว่าปกติ - **ความยาวคลื่น**: ระยะห่างระหว่างส่วนอัดกับส่วนอัดที่อยู่ถัดกันหรือส่วนขยายกับส่วนขยายที่อยู่ถัดกัน ## อัตราเร็วเสียง 1. เสียงเป็นคลื่น การหาอัตราเร็วจึงเหมือนคลื่นทั่วไป - $v = fλ$ และ $V = \frac{λ}{T}$ 2. เสียงเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง - ในตัวกลางเดียวกัน อุณหภูมิเดียวกัน อัตราเร็วของคลื่นเสียงจะคงที่ - $v = \frac{d}{t}$ 3. อัตราเร็วเสียงเมื่ออุณหภูมิใดๆ - เมื่อให้ $V$: อัตราเร็วเสียงที่อุณหภูมิหนึ่ง - $V_0$: อัตราเร็วเสียงที่อุณหภูมิ 273 เคลวิน - $T$: อุณหภูมิในหน่วยเคลวิน - $V = V_0 \sqrt{\frac{T}{273}}$ - ถ้ามีการเปรียบเทียบอัตราเร็วเสียงในช่วงอุณหภูมิต่างๆ กันจะได้ว่า: $\frac{V_1}{V_2} = \sqrt{\frac{T_1}{T_2}}$ - สำหรับการใช้อุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส หาอัตราเร็วได้จากสมการ: $V = 331 + 0.6t$ ## ตัวอย่างที่ 1 - หลังจากฝนตกแล้วอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส - มักเห็นฟ้าแลบตามด้วยฟ้าร้อง - ถ้าช่วงเวลาที่เราเห็นฟ้าแลบแล้วจึงได้ยินเสียงฟ้าร้องตามมานั้นนาน 5 วินาที - อยากทราบว่า ณ ตรงที่เรายืนอยู่นั้นห่างจากจุดที่เกิดฟ้าแลบเป็นระยะทางเท่าใด - โจทย์กำหนด: *$t_a$ = 25 °C, $t$ = 5 s* - โจทย์ถาม: *s = ?* - สมการที่ใช้: *V = $\sqrt{12g}$; V = 331+0.6t* - วิธีทำ: $V = 331+0.6t_a$ $V = 331+0.6(25)$ $V = 346 ms$ $V = \frac{s}{t}$ $346 = \frac{s}{5}$ $s = 91,750 m$ ## ตัวอย่างที่ 2 - จากตัวอย่างที่ 1 ถ้าเสียงมีความถี่เท่ากับ 256 เฮิรตซ์ จงหาความยาวคลื่นเสียง - โจทย์กำหนด: *f = 256 Hz* - โจทย์ถาม: *λ = ?* - สมการที่ใช้: *v = fλ* - วิธีทำ: $v = fλ$ $346 = 256λ$ $λ = 1.35 m$ ## ตัวอย่างที่ 3 - แหล่งกำเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่ 175 Hz ปล่อยคลื่นเสียงที่มีอัตราเร็ว 350 เมตร/วินาที - จงหาว่าระยะห่างระหว่างส่วนขยายที่อยู่ติดกันมีค่ากี่เมตร - โจทย์กำหนด: *f = 175 Hz, v = 350 m/s* - โจทย์ถาม: *λ = ?* - สมการที่ใช้: *v = fλ* - วิธีทำ: $v = fλ$ $350 = 175λ$ $λ = 2 m$ ## สมบัติของคลื่นเสียง ### 1. สมบัติการสะท้อน - เป็นไปตาม "กฎการสะท้อน" - มุมตกกระทบ = มุมสะท้อน - ทิศทางคลื่นตกกระทบกับเส้นแนวฉากและทิศทางคลื่นสะท้อนต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน - **เงื่อนไขการสะท้อนเสียง**: 1. เสียงสะท้อนหรือ Echo เสียงจะใช้เวลาในการเดินทางจากแหล่งกำเนิดไปยังผิวสะท้อนแล้วมาถึงหูผู้ฟังนานกว่า 0.1 วินาที (หากน้อยกว่านี้เราจะแยกเสียงไม่ได้ เรียกว่า การกังวาน) 2. เสียงจะสะท้อนได้ดีถ้าผิวสะท้อนแข็งและเรียบ 3. เสียงจะสะท้อนได้ดีถ้าแผ่นสะท้อนเสียงมีขนาดไม่น้อยกว่าความยาวคลื่นเสียง ## ตัวอย่างที่ 4 - เครื่องโซนาร์ปล่อยคลื่นเสียงที่มีความเร็วคลื่น 1,500 เมตร/วินาที ลงสู่ทะเล - พบว่าคลื่นสะท้อนมาถึงเครื่องรับหลังจากส่งสัญญาณออกไป 2.4 วินาที - จงหาความลึกของทะเล - โจทย์กำหนด: *v = 1500 m/s, t = 2.4 s* - โจทย์ถาม: *s = ?* - สมการที่ใช้: *v = $\frac{s}{t}$* - วิธีคิด: $v = \frac{s}{t}$ $1,500 = \frac{s}{2.4}$ $s = 3,600 m$ (สองขา) $h = \frac{3,600}{2}$ = 1,900 m (ขาเดียว) ## ตัวอย่างที่ 5 - ชายคนหนึ่งยืนอยู่ในบริเวณหุบเขา - หันเข้าหาหน้าผาแล้วตะโกนออกไป - ได้ยินเสียงสะท้อนกลับมาในเวลา 14 วินาที - เขาอยู่ห่างจากหน้าผาเท่าใด - ถ้าอุณหภูมิของอากาศขณะนั้นเป็น 30 องศาเซลเซียส - โจทย์กำหนด: *t = 1.4 s, $t_a$ = 30 °C* - โจทย์ถาม: *s = ?* - สมการที่ใช้: *V = 331 + 0.6$t_a$* - วิธีทำ: $V = 331 + 0.6t_a$ $V = 331 + 0.6(30)$ $V = 349 m/s$ $V = \frac{s}{t}$ $349 = \frac{s}{1.4}$ $s = 488.6 m$ (ขาเดียว) $x = \frac{488.6}{2}$ = 244.3 m (สองขา) ## ตัวอย่างที่ 6 - ค้างคาวส่งคลื่นเหนือเสียงไปกระทบเหยื่อและรับคลื่นสะท้อนกลับ - ถ้าคลื่นมีความถี่ 25 กิโลเฮิรตซ์ - ค้างคาวจะสามารถตรวจพบเหยื่อที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าใด - โจทย์กำหนด: *f = 25 x 10^3 Hz, V = 346 m/s* - โจทย์ถาม: *λ = ?* - สมการที่ใช้: *v = fλ* - วิธีคิด: $v = fλ$ $346 = 25 x10^3 λ$ $λ = 0.01384 m$ ..เหยื่อจะมีขนาดเล็กที่สุด 1.384 cm ### 2. สมบัติการหักเห - การหักเหของเสียงเกิดจากคลื่นเสียงเดินทางผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน - หรือ อุณหภูมิต่างกันทำให้ความเร็วของเสียงเปลี่ยนแปลง - เป็นไปตามกฎการหักเหของสเนลล์: * $\frac {sinθ_1}{V_1} = \frac{sinθ_2}{V_2}$ , $\frac{1}{V} = \frac{T}{√T2}$* - **การสะท้อนกลับหมด**: เกิดเมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่จากบริเวณอุณหภูมิต่ำไปยังอุณหภูมิสูง ถ้ามุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤต คลื่นเสียงจะไม่หักเหแต่จะเกิดการสะท้อนกลับหมด ## ตัวอย่างที่ 7 - เสียงระเบิดใต้น้ำ หักเหขึ้นสู่อากาศ - ทำมุมตกกระทบ 37 องศา - จงหามุมที่หักเหออกสู่อากาศ - เมื่อกำหนดให้ อัตราเร็วเสียงในอากาศและน้ำเป็น 340 และ 1,500 เมตร/วินาทีตามลำดับ - โจทย์กำหนด: *$θ_1$ = 37°, $V_1$ = 1,500 m/s, $V_e$ = 340 m/s* - โจทย์ถาม: *$θ_2$ = ?* - สมการที่ใช้: *$\frac {sinθ_1}{V_1} = \frac{sinθ_2}{V_2}$* - วิธีทำ: $\frac{sinθ_1}{V_1} = \frac{sinθ_2}{V_2}$ $\frac{sin 37}{1,500} = \frac{sin θ_2}{340}$ $sin θ_2 = 0.136$ $θ_2 = sin^{-1}(0.136) $ ## ตัวอย่างที่ 8 - คลื่นเสียงขบวนหนึ่งในอากาศเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง $T_1$ เข้าสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าคือ $T_2$ - จงหาค่าของอัตราส่วนระหว่าง $sinθ_1$ กับ $sinθ_2$ (เมื่อกำหนดให้ $T_1 = 1.21T_2$ เคลวิน) - โจทย์กำหนด: * $T_1 = 1.21T_2$, $T_2 = T_2$* - โจทย์ถาม: *$\frac{sin θ_1}{sinθ_2}$ = ?* - สมการที่ใช้: *$\frac{sin θ_1}{sinθ_2} = \sqrt{\frac{T_1}{T_2}}$* - วิธีคิด: $\frac{sin θ_1}{sinθ_2} = \sqrt{\frac{T_1}{T_2}}$ $\frac{sin θ_1}{sinθ_2} = \sqrt{\frac{1.21T_2}{T_2}}$ $\frac{sin θ_1}{sinθ_2} = 1.1$ .. $sinθ_1 : sinθ_2 = 11 : 10$ ### 3. สมบัติการแทรกสอด - เมื่อคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียง 2 แหล่ง เคลื่อนที่มาซ้อนทับกัน - เกิดเสียงดังและเสียงเบา - การซ้อนทับแบบเสริมกันเรียกว่า ปฏิบัพ (Antinode) - การซ้อนทับแบบหักล้างกันเรียกว่า บัพ (Node) ### 4. สมบัติการเลี้ยวเบน - เป็นปรากฏการณ์ที่คลื่นเสียงสามารถเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้ตามบริเวณขอบของสิ่งกีดขวาง - เช่น เสียงผ่านเข้ามาทางช่องประตู/หน้าต่าง การได้ยินเสียงของคนที่อยู่ด้านหลังกำแพง/มุมตึก เป็นต้น ## การได้ยินเสียง - **กำลังเสียง**: หมายถึง อัตราการถ่ายโอนพลังงานเสียงของแหล่งกำเนิด มีค่าเท่ากับพลังงานเสียงต่อหนึ่งหน่วยเวลา - หน่วย: จูล/วินาที หรือ วัตต์ - $P = \frac{W}{t}$ ($W$: พลังงานเสียง (J), $t$ : เวลา (s)) - **ความเข้มเสียง**: หมายถึง กำลังเสียงที่เคลื่อนที่ไปตกกระทบกับหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่ใช้รับเสียงในแนวตั้งฉาก - หน่วย: วัตต์ต่อตารางเมตร (W/m²) - $I = \frac{P}{A}$ ($P$: กำลังเสียง (W), $A$ : พื้นที่ (m<sup>2</sup>)) - $I = \frac{P}{4πR²}$ - **ข้อควรทราบ**: - เสียงที่มีความเข้มน้อยกว่า 10<sup>-12</sup> วัตต์ต่อตารางเมตร หูมนุษย์จะฟังไม่ได้ยิน - เสียงที่มีความเข้มมากกว่า 1 วัตต์ต่อตารางเมตร หูมนุษย์จะทนฟังไม่ไหว - ในกรณีที่แหล่งกำเนิดเสียงมีกำลังเสียงเปลี่ยนไป โดยมีระยะห่าง (R) คงตัว - ความเข้มเสียงจะมีความสัมพันธ์กับกำลังเสียงตามสมการ: *$\frac{ I_1}{I_2} = \frac{P_1}{P_2} $ * - ในกรณีที่แหล่งกำเนิดเสียงแหล่งเดิม - แต่ผู้ฟังรับฟังที่ตำแหน่งต่างๆ กัน - โดยความเข้มเสียงแปรผกผันกับระยะทางกำลังสอง - จะได้ความสัมพันธ์ ดังสมการ: * $\frac{I_1}{I_2} = (\frac{R_2}{R_1})^2$ * ## ตัวอย่างที่ 9 - หน้าต่างบานหนึ่งมีพื้นที่ 1.5 ตารางเมตร - ในห้องมีนักเรียนกำลังคุยกันพบว่าความเข้มเสียงไปถึงหน้าต่างเท่ากับ 10<sup>-6</sup> วัตต์ต่อตารางเมตร - จงหา - กำลังเสียงที่ลอดหน้าต่างออกไปทั้งหมด P - พลังงานเสียงที่ลอดหน้าต่างออกไปในเวลา 10 วินาที - โจทย์กำหนด: *A = 1.5 m<sup>2</sup>, I = 10<sup>-6</sup> W/m<sup>2</sup>* - โจทย์ถาม: *P = ?* - สมการที่ใช้: *I = $\frac{P}{A}$ * - วิธีคิด: $I = \frac{P}{A}$ $10^{-6} = \frac{P}{1.5}$ $P = 1.5 x10^{-6}W$ $P = \frac{W}{t}$ $1.5x10^{-6} = \frac{W}{10}$ $W = 1.5x10^{-5}J$ ## ตัวอย่างที่ 10 - แมลงวันตัวหนึ่งบินในแนวเส้นตรงด้วยอัตราเร็ว 0.1 เมตรต่อวินาที - จากคนๆ หนึ่งซึ่งยืน ในที่โล่ง - อยากทราบว่า คนๆ นั้นจะได้ยินเสียง การบินของแมลงวันอยู่ได้นานกี่วินาที - (ให้กำลังเสียงของแมลงวัน = 4x10<sup>-12</sup> วัตต์) - โจทย์กำหนด: - *P = 4x10<sup>-12</sup> W* - *v = 0.1 m/s* - *I = 10<sup>-12</sup> W/m<sup>2</sup>* - โจทย์ถาม: *t = ?* - สมการที่ใช้: - *I = $\frac{P}{4πR²}$* - *v = $\frac{s}{t}$* - วิธีทำ: $I = \frac{P}{4πR²}$ $10^{-12} = \frac{4 x 10^{-12}}{4πR²}$ $R = 1 m$ $v = \frac{s}{t}$ $0.1 = \frac{1}{t}$ $t = 10 s$ ## ตัวอย่างที่ 11 - ชายคนหนึ่งอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงที่มีความเข้มเสียง 10<sup>-12</sup> วัตต์/ตารางเมตร - เขาออกเดินจากจุดเดิมจนได้ยินเสียงที่มีความเข้ม 10<sup>-6</sup> วัตต์/ตารางเมตรจึงหยุด - อยากทราบว่าเขาจะอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงเป็นกี่เท่าของระยะเดิม - โจทย์กำหนด: *I<sub>2</sub> = 10<sup>-6</sup> W/m<sup>2</sup>, I<sub>1</sub> = 10<sup>-12</sup> W/m<sup>2</sup>, R<sub>1</sub> = R<sub>1</sub>* - โจทย์ถาม: *R<sub>2</sub> = ?* - สมการที่ใช้: * $\frac{I_1}{I_2} = (\frac{R_2}{R_1})^2 $ * - วิธีคิด: $\frac{I_1}{I_2} = (\frac{R_2}{R_1})^2$ $\frac{10^{-12}}{10^{-6}} = (\frac{R_2}{R_1})^2$ $10^{-6} = (\frac{R_2}{R_1})^2$ $100R_1 = R_2$ ...อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงเป็น 100 เท่าของระยะเดิม ## ระดับเสียง - ระดับเสียงเป็นปริมาณที่บอกความดังของเสียงแทนความเข้มเสียง - ใช้สัญลักษณ์ β - หน่วย: เบล (B) - (เป็นเกียรติแก่ อเลกซานเดอร์ เกรแฮม เบล) - เนื่องจากเบล เป็นหน่วยที่ใหญ่เกินไป จึงแบ่งเป็นหน่วยย่อยลงไป เรียกว่า เดซิเบล (dB) - การหาค่าระดับเสียง: * $β = 10 log (\frac{I}{I_0})$ * - $β$: คือ ระดับเสียง (dB) - $I$: คือ ความเข้มเสียงที่ต้องการทราบระดับเสียง - $I_0$: คือ ความเข้มเสียงที่หูมนุษย์ไม่ได้ยิน (1.0 x 10<sup>-12</sup> W/m<sup>2</sup>) - ระดับเสียงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 0 เดซิเบล หูมนุษย์จะไม่ได้ยิน - ระดับเสียงมากกว่าหรือเท่ากับ 120 เดซิเบล หูมนุษย์จะทนฟังไม่ไหว ## ตัวอย่างที่ 12 - ณ ตำแหน่งซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง วัดค่าความเข้มเสียงได้ 3.2 x 10<sup>-7</sup> วัตต์ต่อตารางเมตร - ตำแหน่งนี้จะมีค่าระดับเสียงเท่าใด β - โจทย์กำหนด *I = 3.2 x 10<sup>-7</sup> W/m<sup>2</sup>* - โจทย์ถาม: *β = ?* - สมการที่ใช้: *$β = 10 log (\frac{I}{I_0})$* - วิธีคิด: $β = 10log(\frac{I}{I_0})$ $β = 10 [log 3.2 + log10^{-12}$ $β = 10 (log 3.2 x 10^{-12}$ $β = 10(0.505 +5)$ $β = 55.05 dB$ ## ตัวอย่างที่ 13 - เสียงจากลำโพงตัวหนึ่งที่จุดรับฟัง ณ ตำแหน่งหนึ่ง - วัดระดับเสียงได้ 60 เดซิเบล - จุดนั้นมีค่าความเข้มเสียงได้เท่าใด - โจทย์กำหนด: *β = 60 dB* - โจทย์ถาม: *I = ?* - สมการที่ใช้: * $β = 10 log(\frac{I}{I_0})$* - วิธีคิด: $β = 10log(\frac{I}{I_0})$ $60 = 10log(\frac{I}{10^{-12}})$ $6 = log(\frac{I}{10^{-12}})$ ($10^y = x <=> y = log_10x$) $\frac{I}{10^{-12}} = 10^6$ $I = 10^{-6}$ ## ตัวอย่างที่ 14 - ทหารคนหนึ่งยิงปืนด้วยอัตรา 6 นัดต่อวินาที - ทำให้คนที่อยู่ห่าง 100 เมตร ได้ยินเสียง 100 dB - จงหาว่าในการยิงแต่ละนัดเกิดกำลังเสียงโดยเฉลี่ยเท่าใด - (เมื่อเสียงปืนกระจายออกทุกทิศทางเท่ากัน) - โจทย์กำหนด: *n = 6 นัด/วินาที, R = 100 m, β = 100 dB* - โจทย์ถาม: *P = ?* - สมการที่ใช้: - ** $β = 10 log(\frac{I}{I_0})$** - **$I = \frac{P}{4πR²}$** - **$P = \frac{W}{t}$** - วิธีคิด: $β = 10 log(\frac{I}{I_0})$ $100 = 10 log(\frac{I}{10^{-12}})$ $10 = log(\frac{I}{10^{-12}})$ $\frac{I}{10^{-12}} = 10^{10}$ $I = 10^{-2} W/m²$ $I = \frac{P}{4πR²}$ $10^{-2} = \frac{P}{4π(100)²}$ $P = 400 W$ $P = \frac{W}{t}$ $400 = \frac{W}{6}$ $W = 2,400 W$ ## การหาผลต่างของระดับเสียง 1. ถ้ามีแหล่งกำเนิด 2 แหล่ง ซึ่งมีระยะห่างจากผู้ฟังคงที่ R เท่าเดิม - จุดที่ 1 กำลังเสียง $P_1$ มีความเข้มเสียง $I_1$ จะมีระดับเสียง $β_1$ ดังสมการ: * $β_1 = 10 log(\frac{I_1}{I_0})$* - จุดที่ 2 กำลังเสียง $P_2$ มีความเข้มเสียง $I_2$ จะมีระดับเสียง $β_2$ - นำสมการที่ 1 - 2 จะได้ว่า: - * $β_2 - β_1 = 10 log(\frac{I_2}{I_1})$* - * $β_2 - β_1 = 10 log(\frac{P_2}{P_1})$* 2. ถ้ามีแหล่งกำเนิดหนึ่งแหล่งให้กำลังเสียง P คงที่ ซึ่งมีระยะห่างจากผู้ฟังไม่คงที่ (R ไม่เท่าเดิม) - * $β_2 - β_1 = 10 log(\frac{R_1²}{R_2²})$* - * $β_2 - β_1 = 20 log(\frac{R_1}{R_2})$* ## ตัวอย่างที่ 15 - กองเชียร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง 1,000 คน นั่งบนอัฒจันทร์เชียร์ ด้านหลังโล่งในสนามกีฬา - สมมติว่ากองเชียร์คนหนึ่งตะโกนเชียร์ทำให้คนฟังที่นั่งฝั่งตรงข้ามได้ยินเสียงดัง 65 เดซิเบล - ถ้ากองเซียร์ทั้งหมดตะโกนพร้อมกัน คนที่ฟังอยู่ตรงข้ามจะได้ยินเสียงดังกี่เดซิเบล - โจทย์กำหนด: *P<sub>1</sub> = P, P<sub>2</sub> = 1,000P, β<sub>1</sub> = 65 dB* - โจทย์ถาม *β<sub>2</sub> = ?* - สมการที่ใช้: *$β_2 - β_1 = 10 log(\frac{P_2}{P_1})$* - วิธีคิด: $β_2 - β_1 = 10 log(\frac{P_2}{P_1})$ $β_2 - 65 = 10 log(\frac{1,000P}{P})$ $β_2 - 65 = 10 log 10³$ $β_2 - 65 = 30 (1)$ $β_2 = 30 + 65$ $β_2 = 95 dB$ ## ตัวอย่างที่ 16 - ชายคนหนึ่งยืนอยู่ ณ ตำแหน่งที่มีระดับเสียง 60 dB - เขาใส่ที่ครอบหูซึ่งมีคุณสมบัติดูดกลืนความเข้มเสียงได้ร้อยละ 90 - เขาจะได้ยินเสียงที่มีระดับเสียงลดลงร้อยละเท่าใด - โจทย์กำหนด: *β<sub>1</sub> = 60 dB, I<sub>1</sub> = I, I<sub>2</sub> = 10%I* - โจทย์ถาม: *β<sub>2</sub> = ?* - สมการที่ใช้: *β<sub>2</sub> - β<sub>1</sub> = 10 log(\frac{I_2}{I_1})* - วิธีคิด: $β_2 - β_1 = 10 log(\frac{I_2}{I_1})$ $β_2 - 60 = 10 log(\frac{10%I}{I})$ $β_2 - 60 = 10 log(\frac{0.1 I}{I})$ $β_2 - 60 = 10 log(\frac{0.1}{1})$ $β_2 - 60 = 10 log (0.1)$ $β_2 - 60 = 10 (-1)$ $β_2 = -10 + 60$ $β_2 = 50 dB$ ลดลงไป 60 - 50 = 10 dB คิดเป็น % = $\frac{10 x 100}{60}$ = 16.67 % ## ตัวอย่างที่ 17 - เสียงเห่าของสุนัข 1 ตัว วัดระดับเสียงได้ 45 เดซิเบล - ถ้าสุนัข 20 ตัวเห่าพร้อมๆ กัน จะได้ยินเสียงดังกี่เดซิเบล - (ให้สุนัขทุกตัวเห่าเสียงดังเท่าๆ กัน) - โจทย์กำหนด: *P<sub>1</sub> = P, P<sub>2</sub> = 20P, β<sub>1</sub> = 45 dB* - โจทย์ถาม: *β<sub>2</sub> = ?* - สมการที่ใช้: *β<sub>2</sub> - β<sub>1</sub> = 10 log(\frac{P_2}{P_1})* - วิธีคิด: $β_2 - β_1 = 10 log(\frac{P_2}{P_1})$ $β_2 - 45 = 10 log (\frac{20P}{P})$ $β_2 - 45 = 10 log (20)$ $β_2 - 45 = 10 log (2) + 10 log (10)$ $β_2 - 45 = 10 (0.301+1)$ $β_2 - 45 = 13.01$ $β_2 = 13.01 + 45$ $β_2 = 58.01 dB$ ## ระดับสูงต่ำและคุณภาพของเสียง - **เสียงทุ้ม (bass)**: มีระดับเสียงต่ำหรือความถี่น้อย - **เสียงแหลม (treble)**: มีระดับเสียงสูงหรือความถี่มาก - **เสียงคู่แปด**: คือ เสียงที่มีความถี่เป็น 2 เท่าของความถี่เดิม - เช่น เสียงเร มีความถี่ 288 Hz - เสียงคู่แปดจะมีความถี่ 2 × 288 = 576 Hz