การลำเลียงสารผ่านเซลล์ Copy PDF
Document Details
Uploaded by EventfulMoscovium
Tags
Summary
เอกสารนี้สรุปเกี่ยวกับกระบวนการลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึงการแพร่แบบต่างๆ ออสโมซิส และการลำเลียงแบบแอคทีฟ เนื้อหาเน้นการเคลื่อนที่ของสารต่างๆ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
Full Transcript
“เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติที่ยอมให้สารบางอย่างผ่าน เข้าไปในเซลล์ได้ง่ายกว่าสารบางอย่างชนิดอื่น เยื่อหุ้มเซลล์จะควบคุมชนิดและอัตราการลาเลียง โมเลกุลของสารผ่านเข้าและออกจากเซลล์” การลาเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ การลาเลียงสารแบบไม่ใช้พลังงาน (Passive transport) การแพร่ (Simple Dif...
“เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติที่ยอมให้สารบางอย่างผ่าน เข้าไปในเซลล์ได้ง่ายกว่าสารบางอย่างชนิดอื่น เยื่อหุ้มเซลล์จะควบคุมชนิดและอัตราการลาเลียง โมเลกุลของสารผ่านเข้าและออกจากเซลล์” การลาเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ การลาเลียงสารแบบไม่ใช้พลังงาน (Passive transport) การแพร่ (Simple Diffusion) การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion) ออสโมซิส (Osmosis) การลาเลียงสารแบบใช้พลังงาน (Active transport) การลาเลียงสารโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์ เอกโซไซโทซิส (Exocytosis) เอนโดไซโทซิส (Endocytosis) การแพร่ (Diffusion) การลําเลียงสารที่อาศัยการเคลื่อนที่ ของอนุภาคสาร “จากบริเวณที่มีความ เข้มข้นของอนุภาคสารนั้นมากไปยัง บริเวณที่มีความเข้มข้นของอนุภาคสาร นั้นน้อย” จนกว่าจะอยู่ในสภาวะสมดุล (Dynamic equilibrium) การแพร่ (Diffusion) (ต่อ) กรณีที่มีสารละลาย 2 ชนิด แยกกันโดยเยื่อกั้น สารละลาย จะเกิดการแพร่ในทิศทางตรงกันข้าม (ความเข้มข้นสุทธิไม่มีผลต่อการแพร่ ของสีม่วง) การแพร่ (Diffusion) (ต่อ) ปัจจัยที่ควบคุมการแพร่ 1. ความเข้มข้นของสารที่แพร่ : สารชนิดเดียวกันแต่ความเข้มข้นต่างกัน สารที่มีความเข้มข้น > แพร่ได้เร็วกว่า 2. อุณหภูมิ : อุณหภูมิสูงการแพร่ของสารก็เร็ว 3. ความดัน : ความดันเพิ่มสารก็เคลื่อนที่ได้เร็ว การแพร่ (Diffusion) (ต่อ) ตัวอย่างการแพร่ในสิ่งมีชีวิต การหายใจของสัตว์ ก๊าซออกซิเจนจากอากาศที่ ผ่านเข้าไปในถุงลมในปอดมีความเข้มข้นสูงกว่า ในหลอดเลือดฝอย ออกซิเจนจึงแพร่จากถุงลม เข้าไปในหลอดเลือดฝอย ในขณะเดียวกัน คาร์บอนไดออกไซด์แพร่จากหลอดเลือดฝอย เข้าสู่ถุงลม การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion) อาศัย Transport proteins ช่วยในการ นำโมเลกุลของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จาก บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปยัง บริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า โดยเซลล์ ไม่ต้องใช้พลังงาน มีอตั ราการลําเลียงสาร ทีเ่ ร็วกว่าการแพร่แบบธรรมดา สารทีล่ าํ เลียง ได้แก่ กลีเซอรอล กรดอะมิโน และกลูโคส ออสโมซิส (Osmosis) การแพร่ของโมเลกุลของน้ำผ่านเยื่อหุ้ม เซลล์ จากด้านที่มีความเข้มข้นของ สารละลายน้อย (น้ำมาก) ไปยังด้าน ที่มีความเข้มข้นของสารละลายมาก (น้ำน้อย) ออสโมซิส (Osmosis) (ต่อ) สารละลาย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามแรงดันออสโมติก ได้แก่ 1. Isotonic solution : สารละลายภายนอกเซลล์มีแรงดันออสโมติกเท่ากับสารละลาย ภายในเซลล์ เซลล์จะมีปริมาณคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 2. Hypertonic solution : สารละลายภายนอกเซลล์มีแรงดันออสโมติกสูงกว่าสารละลาย ภายในเซลล์ ทำให้น้ำออสโมซิสออกจากเซลล์ ทำให้เซลล์เกิดการเหี่ยว 3. Hypotonic solution : สารละลายภายนอกเซลล์มีแรงดันออสโมติกต่ำกว่าสารละลาย ภายในเซลล์ ทำให้น้ำออสโมซิสเข้าสู่เซลล์ ทำให้เซลล์เกิดการเต่งหรือแตก ออสโมซิส (Osmosis) (ต่อ) Active transport การลำเลียงสารจากที่มีความเข้มข้นต่ำไปยังที่มีความเข้มข้นสูงกว่า โดยอาศัย Transport proteins ซึ่งต้องการพลังงาน (ATP) การลาเลียงสารโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์ การนำสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต เข้า-ออกจากเซลล์ 1. เอกโซไซโทซิส (Exocytosis) การนำสารออกจากเซลล์ 2. เอนโดไซโทซิส (Endocytosis) การนำสารเข้าสู่เซลล์ - ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis) - พิโนไซโทซิส (pinocytosis) - การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ (receptor-mediater endcytosis) การลาเลียงสารโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์ : 1. เอกโซไซโทซิส (Exocytosis) เป็นการลำเลียงสารโมเลกุลขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ สารที่จะถูกส่งออกไปนอกเซลล์บรรจุอยู่ในเวสิเคิล เมื่อเวสิเคิลรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่อยู่ภายใน เวสิเคิลก็จะถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์ การลาเลียงสารโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์ : 2. เอนโดไซโทซิส (Endocytosis) ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis) เป็นการนำสารที่เป็นของแข็งหรือเซลล์ขนาดเล็กเข้าสู่ เซลล์โดยการยื่นส่วนของเท้าเทียม (Pseudopodium) ออกไปโอบล้อมอนุภาคของสารแล้วเกิดเป็นถุง (food vacuole) ภายในเซลล์ เช่น ❑ การกินอาหารของอะมีบา ❑ เซลล์เม็ดเลือดขาว การลาเลียงสารโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์ : 2. เอนโดไซโทซิส (Endocytosis) ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis) การลาเลียงสารโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์ : 2. เอนโดไซโทซิส (Endocytosis) พิโนไซโทซิส (pinocytosis) การนำอนุภาคของสารที่อยู่ในรูปของ สารละลายเข้าสู่เซลล์ โดยการทำให้ เยื่อหุ้มเซลล์เว้าเข้าไปในไซโทพลาซึม ทีละน้อยจนกลายเป็นถุงเล็กๆ เมื่อเยื่อหุ้มเซลล์ปิดสนิทถุงนี้จะหลุด เข้าไปกลายเป็นเวสิเคิล การลาเลียงสารโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์ : 2. เอนโดไซโทซิส (Endocytosis) การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ (receptor-mediater endcytosis) การลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ โดยมีโปรตีน ตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ถูกลำเลียง เข้าสู่เซลล์ต้องมีความจำเพาะกับโปรตีน ตัวรับที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์จึงจะสามารถ นำเข้าสู่เซลล์ได