นิติกรรมสัญญา/หนี้/ละเมิด/ทรัพย์ PDF

Document Details

BestHeliotrope2623

Uploaded by BestHeliotrope2623

Tags

Thai law contract law civil law legal studies

Summary

This document appears to be lecture notes on Thai law, specifically on contracts, debt, torts, and property. It covers fundamental legal principles related to these topics, including concepts, teaching methods, and assessment.

Full Transcript

บทที่ 3 นิติกรรมสัญญา/หนี้/ละเมิด/ทรัพย์ เนื้อหา 1. หลักพื้นฐานกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา 2. หลักพื้นฐานกฎหมายลักษณะหนี้ 3. หลักพื้นฐานกฎหมายละเมิด 4. หลักพื้นฐานกฎหมายลักษณะทรัพย์ แนวคิด เมื่อมนุษย์เกิดมาย่อมมีความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆที่อยู่...

บทที่ 3 นิติกรรมสัญญา/หนี้/ละเมิด/ทรัพย์ เนื้อหา 1. หลักพื้นฐานกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา 2. หลักพื้นฐานกฎหมายลักษณะหนี้ 3. หลักพื้นฐานกฎหมายละเมิด 4. หลักพื้นฐานกฎหมายลักษณะทรัพย์ แนวคิด เมื่อมนุษย์เกิดมาย่อมมีความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆที่อยู่รอบตัวทั้งความสัมพันธ์กับบุคคลรอบตั ว และ สัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของอันเป็นที่มาในการบัญญัติสิทธิตามกฎหมายในเรื่องต่าง และก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว สิทธิที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายนิติกรรมสัญญา กฎหมายลักษณะหนี้ กฎหมายละเมิด และ กฎหมายลักษณะทรัพย์ ซึ่งเราจะได้ศึกษาหลักพื้นฐานกฎหมายเรื่องดังกล่าวต่อไป วิธีการสอน/กิจกรรมการเรียนการสอน 1. บรรยายประกอบ 2. อภิปรายแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ 3. ยกตัวอย่างกรณีศึกษาและสอดแทรกแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 4. แลกเปลี่ยนซักถามและให้นิสิตร่วมแสดงความคิดเห็น การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 1. ประเมินการอ้างอิงผลงานและเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน 2. ประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนการมีส่วนร่วมและความ เช่น ร่วมแสดงความคิดเห็น 3. ประเมินการทางานจากการทาแบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง 4. สอบกลางภาค บทนา การก่อตัวของสังคมประกอบด้ วยคนจ านวนมากที่มี ความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติ ก รรม ต่างๆ จึงจาเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสาคัญในการควบคุมความประ พฤติ ของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับ สังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสาคัญ ต่ อ สังคมในด้านต่างโดยเฉพาในการประกอบอาชีพของบุคคลซึ่งต้องมีความสัมพันธ์หลายด้านที่หลีกไม่พ้นการที่ จะต้องทราบถึง กฎหมายเบื้ องต้น ที่เ กี่ย วข้องเพื่อ รั กษาสิ ท ธิแ ละทราบหน้ าที่ ของตนที่เ ป็น ผลผู ก พัน ของ กฎหมาย ทั้งนี้ กฎหมายเป็นเครื่องมื อ สาคัญ ประการหนึ่ง ที่ช่ ว ยสร้างความเป็น ระเบี ยบและความ สงบ เรียบร้อยให้กับสังคม และประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสัง คมทุ กคนจาเป็น ต้องมีบ รรทัดฐาน ซึ่งเป็น แนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่ อความสงบเรี ยบร้ อย ในบทนี้จึงจะได้กล่าวถึงหลักกฎหมายพื้นฐานที่เกี่ย วข้ องกั บ การประกอบอาชีพ ได้แก่ นิติกรรมสัญญา หนี้ ละเมิด และทรัพย์ 3.1 หลักพื้นฐานกฎหมายนิติกรรมสัญญา 3.1.1 หลักเกณฑ์สาคัญของนิติกรรม นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทาลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่ อ การผูกนิติสัมพันธ์ ขึ้นระหว่ างบุ คคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 หลักเกณฑ์สาคัญของนิติกรรม มีหลักเกณฑ์พื้นฐานที่ต้องต้องครบ องค์ประกอบทั้ง 5 ประการดังนี้ 1. ต้องมีการแสดงเจตนา (ไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย เช่น พูด เขียน หรือแสดงกริ ย า ท่าทางสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ เช่น พยักหน้า ส่ายหน้า) 2. ต้องกระทาโดยใจสมัคร (สมัครใจที่จะทา มิได้ถูกบังคับหรือข่มขู่) 3. มุ่งให้มีผลผูกพันทางกฎหมาย (มิใช่ เป็นไปในทางอัธยาศัยไมตรี เช่น บอกว่าตอนเย็นจะมา รับไปกินข้าว เช่นนี้ ไม่ใช่นิติกรรมเพราะ มิได้มุ่งให้มีผลผูกพันทางกฎหมาย) 4. เป็นการทาลงโดยชอบด้วยกฎหมาย (สิ่งที่ทาต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย) 5. ผู้ที่ทานิติกรรมต้องมี “ความสามารถ” ในการทานิติกรรมด้วย ตัวอย่าง นาย ก กับ นาย ข ทาเอกสารสัญญาขึ้นมา เพื่อซื้อขายรถยนต์ โดยมีข้อสัญญาข้อหนึ่งระบุว่า “ถ้า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ฟ้องร้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญา หรือเรียกค่าเสียหายใดๆ ” เช่นนี้ จะทาให้เห็นได้ว่า เอกสารที่ทาขึ้นมานั้น ไม่ใช่นิติกรรมแต่อย่างใด เพราะมิได้มุ่งให้มีผลผูกพัน ทาง กฎหมาย 3.1.2 ประเภทของนิติกรรม 1. นิติกรรมฝ่ายเดียว คือ กรณีที่ผู้แสดงเจตนากระทาการฝ่ายเดียว เช่น การทาพินัยกรรม, การ ปลดหนี้, การบอกเลิกสัญญา, การโฆษณาจะให้รางวัล เป็นต้น นิติกรรมฝ่ายเดียวดังที่ก ล่า วไว้นี้ มีผลตาม กฎหมายทันที แม้จะยังไม่มีผู้รับก็ตาม 2. นิติกรรมหลายฝ่าย (สัญญา) คือ กรณีที่นิติกรรมนั้นกระทาโดยทุกฝ่ายที่ทาสัญญารับรู้ทุก ฝ่ า ย โดยฝ่ายที่ทาคาเสนอและอี กฝ่า ยทาคาสนอง เมื่อคาเสนอและคาสนองตรงกั นก็เ กิดสัญญา เช่น สัญญาซื้อ ขาย, สัญญาเช่า, สัญญาค้าประกัน, สัญญาจ้างแรงงาน, สัญญาจ้างทาของ, สัญญาแลกเปลี่ยน เป็นต้น 3.1.3 ความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรม “โมฆะ” หมายถึง นิติกรรมนั้นเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย คือ เสมือนว่าไม่ มีการทานิติกรรมนั้นๆ เลย จะฟ้องร้องบังคับกันไม่ได้ จะให้สัตยาบันก็ไม่ได้ “โมฆียะ” หมายถึง นิติกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมายจนกว่าจะมีการบอกล้าง 3.1.4 ความสามารถในการทานิติกรรม ความสามารถในการทานิติกรรม กล่าวคือ ถ้านิติกรรมได้กระทาลงโดยผู้หย่อนความสามารถ คือ 1) ผู้เยาว์ ที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ผลของนิติกรรมเป็นโมฆียะ 2) คนไร้ความสามารถ ผลของนิติกรรมเป็นโมฆียะ ทุกกรณี 3) คนเสมือนไร้ความสามารถ ที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ในการทานิ ติก รรมที่ส า คั ญ ผลของนิติกรรมเป็นโมฆียะ 3.1.5 วัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม 1) เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ผลของนิติกรรมเป็นโมฆะ (ขัดต่อตัวบทกฎหมาย) เช่น สัญญาจ้างให้ไปฆ่าคน เป็นต้น 2) เป็นการพ้นวิสัยผลของนิติกรรมเป็นโมฆะ (ไม่สามารถทาให้เกิดขึ้นได้ เช่น สัญญาจ้างให้ทา ดวงอาทิตย์) 3) เป็นการขัดความสงบเรี ยบร้อ ยหรื อ ศีล ธรรมอัน ดีข องประชาชนผลของนิติ กรรมเป็น โ มฆะ เช่น สัญญาจ้างให้ตั้งครรภ์แทน เป็นต้น 3.1.6 แบบแห่งนิติกรรม 1) นิติกรรมใดซึ่งกฎหมายกาหนดว่าให้ทาเป็นหนังสือ (คนละเรื่องกับการมีหลักฐานเป็นหนังสือ) เช่ น การโอนหนี้ , สั ญ ญาเช่ า ซื้อ เป็ น ต้ น ถ้ า ไม่ทา นิ ติก รรมนั้ นเป็ นโมฆะ ตั ว อย่ า ง นาย ก กู้ เ งิ น นาย ข 100,000 บาท โดยไม่ได้ทาหนังสือสัญญากู้ยืม เช่นนี้ สัญญากู้ยืมเงินระหว่าง นาย ก กับ นาย ข มิได้เป็น โมฆะแต่อย่างไร เพราะกฎหมายกาหนดไว้เพี ยงว่ า การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็ น หนังสือ ในกรณีนี้ นาย ข เพียงแต่ฟ้องร้องบัง คับ นาย ก ไม่ได้เท่านั้น (มันเชื่อมโยงกับกฎหมายลั ก ษณะ พยาน ไปลองอ่านดู) แต่ต้องจาไว้ก่อนเลยว่า สัญญาดังกล่าวมิได้เป็นโมฆะ 2) นิติกรรมใดซึ่งกฎหมายกาหนดว่าให้ทาเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น การคัดค้านตั๋ ว แลกเงิน , การทาพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่า ยเมือง เป็นต้น ถ้าไม่ได้ทาเป็นหนังสื อต่อพนักงานเจ้า หน้ าที่ ย่อมใช้บังคับไม่ได้ (ไม่ใช่โมฆะ) 3) นิติกรรมใดซึ่งกฎหมายกาหนดว่าให้ทาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, สัญญาขายฝาก, สัญญาจานอง เป็นต้น ถ้าไม่ทาตามแบบผลของนิติกรรม เป็นโมฆะ 3.1.7 การแสดงเจตนา 1. เจตนาที่แท้จริงอย่างหนึ่งแต่แ สดงออกอีก อย่างหนึ่ง นิติกรรมนั้นมีผลใช้บังคับได้ เว้นแต่อี ก ฝ่ายหนึ่งที่ทานิติกรรมด้วยนั้น จะได้รู้ถึงเจตนาที่แท้จริง เช่นนี้นิติกรรมที่ทานั้นใช้บังคับไม่ได้ (ใช้เฉพาะกับ นิติกรรม 2 ฝ่ายหรือสัญญาเท่านั้น) 2. เจตนาลวง เป็นการแสดงเจตนาโดยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ซึ่งแสดงเจตนาออกมาโดยในใจจริง ต่างก็ไม่ประสงค์ให้ตนต้องผูกพันตามที่แสดงเจตนาออกมา เจตนาลวง เป็นแต่เพียงการแสดงเจตนาหลอกๆ ไว้เท่านั้น กฎหมายบัญญัติให้การแสดงเจตนาระหว่ างคู่ก รณีเป็นโมฆะ คือ ใช้ไม่ได้มาตั้งแต่ต้น และคู่ กรณี ต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม 3. นิ ติก รรมอ าพราง เป็ น การแสดงเจตนาเพื่ อ ปกปิ ดหรื อ อ าพรางนิติก รรมอี ก อั นหนึ่ง ซึ่งไม่ ต้องการเปิดเผย (สรุป คือ นิติกรรมอาพราง ประกอบด้วยเจตนาจริง และเจตนาลวง) นิติกรรมอาพรางนั้น มี นิติกรรม 2 อย่าง อย่างหลังทาขึ้นเพื่อปกปิดนิติกรรมอันแรก การแสดงเจตนาในนิติกรรมที่แท้จริงที่ถูกปิดไว้ นั้น ให้ใช้ยันกับคู่กรณีได้ ไม่เป็นโมฆะ แต่นิติกรรมที่ทาขึ้นเพื่อปกปิดนิติกรรมอันแรกนั้น เป็นโมฆะ 4. การแสดงเจตนาโดยสาคัญผิด 1)สาคัญผิดในสาระส าคั ญของนิ ติกรรม ผลคือนิติกรรมนั้ นเป็ นโมฆะ ซึ่งความสาคัญ ผิ ด ใน สาระสาคัญอาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้ (ก) ในลักษณะของนิติกรรม ได้แก่ การที่ผู้แสดงเจตนาเพื่อให้ เกิ ดนิติก รรม อย่างหนึ่ง แต่เมื่อแสดงเจตนาออกมากลับทาให้เกิ ดนิติกรรมอี กอย่างหนึ่ง (ข) สาคัญผิดในตัวบุคคลซึ่ง เป็ น คู่สัญญา ได้แก่ การที่ผู้แสดงเจตนาเจตนาจะแสดงเจตนาต่อบุคคลหนึ่ง แต่การแสดงเจตนาออกมากลับเป็ น การแสดงเจตนาต่ออีกบุ คคลหนึ่ง เช่น นายหนึ่งเป็นลูกหนี้ นายสอง (ปากน้า) นายหนึ่ง ต้องการส่งเงินไป ชาระหนี้ นาย สอง (ปากน้า) แต่กลับไปส่งให้คนชื่อ นาย สอง อีกคนหนึ่ง ซึ่ง ชื่อว่า นาย สอง (ต้นน้า) เป็น ต้น (ค) สาคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรม ได้แก่ ข้อปฏิบัติให้กระทาการ , ข้อปฏิบัติให้งดเว้นกระทาการ , การ ส่งมอบทรัพย์สิน ตัวอย่าง นายเอก ต้องการชาระค่าแท็กซี่ 100 บาท แต่เพราะความมืด จึงหยิบธนบัตรใบ ละ 500 บาท ชาระให้คนขับรถแท็กซี่ เช่นนี้เป็นการสาคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรม (กรณีวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นทรัพย์สิน) 2)สาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรื อทรั พย์ ถ้าคุณสมบัติดังกล่าว เป็นสาระสาคัญของนิ ติ กรรม กล่าวคือ ถ้ารู้ว่า บุคคลหรือทรัพย์ไม่ได้คุณสมบั ติที่ต้องการ ก็คงไม่ทานิติกรรมด้วย ผลของนิติกรรม เป็นโมฆียะ 5. การแสดงเจตนาเพราะกลฉ้อฉล ได้แก่ การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งใช้อุบายหลอกลวง ให้เขาหลงเชื่อ แล้วเขาเข้าทานิติกรรมด้วย ซึ่งถ้ามิได้ใช้อุบายหลอกเช่นว่านั้น เขาคงไม่ทานิติกรรมด้วย ผลของนิติกรรมนั้น เป็นโมฆียะ 6. การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ ผลของนิติกรรมนั้นนิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ ถ้าการข่มขู่นั้นถึง ขนาดที่ทาให้ผู้ถูกขู่ กลั วจริงๆ แต่การขู่ว่าจะใช้สิท ธิ ตามปกตินิยม(เช่น ขู่ว่าจะฟ้องศาล) หรือความกลั ว เพราะนับถือยาเกรง ไม่ถือว่าเป็นการขู่ 3.1.8 ลักษณะทั่วไปสัญญา สาระสาคัญของสัญญา มีดังนี้ 1) ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป 2) ต้องมีการแสดงเจตนาต้ อ ง ตรงกัน (คาเสนอ+คาสนองตรงกัน) “คาเสนอ” เป็นคาแสดงเจตนาขอทาสัญญา คาเสนอต้องมีความชัดเจน แน่นอน ถ้าไม่มีความชัดเจน แน่นอน จะเป็นแต่เพียงคาเชิญชวนเท่านั้น เช่น การประกาศรับสมัครงาน ไม่ใช่ คาเสนอ เป็นแต่เพียงคาเชิญชวนเท่านั้น การติดป้ายราคารถยนต์ในโชว์รูมรถยนต์เป็นเพีย งคาเชิญชวน เป็น ต้น “คาสนอง” คือ การแสดงเจตนาของผู้สนองต่อ ผู้เสนอ ตกลงรับทาสัญญาตามคาเสนอ คาสนองต้องมี ความชัดเจน แน่นอน ปราศจากข้อแก้ไข ข้อจากัด หรือข้อเพิ่มเติมใด ๆ ต้องมีวัตถุประสงค์ในการทาสัญญา 3.1.9 ประเภทของสัญญา 1. สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน “สัญญาต่างตอบแทน” ได้แก่ สัญญาที่ทาให้คู่สัญญาต่างเป็นเจ้าหนี้และลู กหนี้ซึ่ง กันและ กั น กล่าวคือ คู่สัญญาต่างมีหนี้ หรือหน้าที่จะต้องชาระให้แก่กันเป็นการตอบแทน (ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์) เช่น สัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงิน แต่มีสิทธิได้รับสินค้า ส่วนผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบสิน ค้ า แต่มีสิทธิได้รับเงิน เป็นต้น “สัญญาไม่ต่างตอบแทน” คือ สัญญาที่ก่อหนี้ฝ่ายเดียว เช่น สัญญายืม เป็นต้น 2. สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์ “สัญญาประธาน” หมายถึง สัญญาที่เกิดขึ้นและเป็ นอยู่ได้โ ดยลาพัง ไม่ขึ้นอยู่กับสัญญาอื่ น “สัญญาอุปกรณ์” หมายถึง สัญญาที่ไม่อาจอยู่ได้โดยลาพัง แต่เป็นสัญญาซึ่งต้องประกอบเข้ากับสัญ ญาอื่ น นอกจากสัญญาอุปกรณ์จะต้องสมบูรณ์ตามหลัก ความสมบูร ณ์ของตั วมันเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสมบูร ณ์ ของสัญญาประธานอี กด้ วย กล่าวคือ ถ้าสัญญาประธานไม่สมบูร ณ์ สัญญาอุปกรณ์ย่ อมไม่สมบูร ณ์ ด้ วย เช่นกัน ตัวอย่างสัญญาอุปกรณ์ก็เช่น สัญญาค้าประกัน, สัญญาจานอง, สัญญาจานา เป็นต้น 3. สั ญ ญาเพื่ อ ประโยชน์ บุ คคลภายนอก เป็ น สั ญ ญาที่ คู่สั ญ ญาตกลงว่ า จะช าระหนี้ ใ ห้แก่ บุคคลภายนอกโดยที่บุคคลภายนอกนั้นไม่ได้เข้ามาเป็นคู่สัญญาด้วย เช่น สัญญาประกันชีวิต เป็นต้น 3.1.10 สิทธิในการบอกเลิกสัญญา 1. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (ก) เมื่อถึงกาหนดชาระหนี้ แต่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ ชาระหนี้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง สาม ารถ กาหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชาระหนี้ภายในระยะเวลาที่กาหนดนั้นก็ได้ ถ้าฝ่ายนั้น ไม่ชาระหนี้ภายในระยะที่กาหนด อีกฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกสัญญาได้ (ข) เมื่อถึงกาหนดชาระหนี้ แต่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชาระหนี้ หากโดยสภาพหรือโดยเจตนาของ คู่สัญญา วัตถุประสงค์แห่งสัญญาจะเป็น ผลส าเร็จได้ ก็แ ต่ด้วยการชาระหนี้ ณ เวลาที่กาหนดหรือ ภายใน ระยะเวลาซึ่งกาหนดไว้ เจ้าหนี้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที โดยไม่จาเป็นต้องบอกกล่าวกาหนดระยะเวลา ชาระหนี้ก่อน (ค) เมื่อการชาระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลายเป็น พ้น วิสั ย (พ้นวิสัย คือ เหตุการณ์ที่ไ ม่ อาจเกิดขึ้นได้) เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดลูกหนี้ เจ้าหนี้สามารถบอกเลิกสัญญาได้ 2. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา หมายความว่า คู่สัญญาได้ตกลงกันกาหนดสิทธิในการเ ลิ ก สัญญาไว้ล่วงหน้าว่า ถ้ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กาหนดไว้เกิดขึ้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิบอก เลิกสัญญาแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ (ตามข้อตกลงที่ตกลงกั นไว้ล่วงหน้านั้น) เช่นนี้ คู่สัญญาฝ่ายที่มีสิทธิบอก เลิกสัญญานั้น ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ 3.1.11 ผลของการเลิกสัญญา 1. คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม 2. การเลิกสัญญาไม่กระทบกระเทือนถึงสิ ทธิ ของเจ้าหนี้ ที่จะเรีย กค่ าเสี ยหาย (เจ้าหนี้สามารถ เรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้ได้) 3.2 หลักพื้นฐานกฎหมายลักษณะหนี้ เมื่อเกิดขึ้นมามีสภาพบุคคลย่อมมีความสัมพันธ์กั บสิ่งที่อยู่ รอบตัวไม่ว่าจะเป็น บุคคลหรื อสิ่ ง ของ ใด ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับ สิ่งของในฐานะที่บุ คคลเป็น ประธานแห่งสิท ธิย่ อมมีสิท ธิต่าง ๆตามที่ กฎหมายกาหนดเหนือสิ่งของทั้งที่เป็นวัตถุมีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง เช่น นายแดงเป็นเจ้าของรถยนต์ นายแดง ย่อมมีสิทธิเหนือรถยนต์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิใช้สอย ขาย ยกรถยนต์ให้ กับบุคคลอื่น สิทธิที่นายแดงมีอยู่ เหนือรถยนต์ เราเรียกกลุ่มสิทธิประเภทนี้ว่า “ทรัพยสิทธิ” ส่วนกรณีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกั บ บุ ค คล เช่น นายแดงต้องการใช้เงิน 30,000 บาท จึง ไปทาขอยืมเงินจากนายดา ความสัมพันธ์ระหว่างนายแดงกั บ นายดานี้ เ ป็น ความสั มพั นธ์ ระหว่ า งบุคคลกับ บุ คคลซึ่ งเราเรีย กกลุ่ มของสิท ธิ ประเภทนี้ว่ า“บุ คคลสิทธิ” กฎหมายลักษณะหนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกลุ่มบุคคลสิทธิเช่นเดียวกัน กฎหมายลักษณะหนี้ของ ไทยได้ถูกนาแนวคิ ดมาจากระบบกฎหมายซี วิล ลอว์ (civil law) ซึ่งมีที่มาจากกฎหมายโรมั นโดยใช้ คา ว่ า obligato ซึ่งมีความหมายว่า หน้าที่ โดยพิจารณาในแง่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชาระหนี้นั่นเอง 3.2.1 ที่มาหรือบ่อเกิดแห่งหนี้ กฎหมายลักษณะหนี้มีที่มาหรือบ่อเกิด (สุนทร มณีสวัสดิ์, 2553, น.21) แบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ 1. นิติกรรม เป็นที่มาที่มีความสาคัญ และก่อให้เกิดความสัมพัน ธ์ระหว่ างเจ้า หนี้แ ละลู กหนี้ ซึ่ ง เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้างทาของ สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น 2. นิ ติเ หตุ เป็ น ที่ ม าของหนี้อี ก ประเภทหนึ่ง ได้ แ ก่ ละเมิ ด จั ดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ตัวอย่างเช่น นายแดงขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงและด้วยความประมาทเกิดเฉี่ย วชนกับรถยนต์ ข องนายดาที่ จอดอยู่ข้างทาง การกระทาของนายแดงเป็นการละเมิ ดนายดา นายแดงย่อมมีความรับผิดชดใช้ ค่าสิ น ไหม ทดแทนให้แก่นายดา และนายดาย่อมมีสิท ธิเรี ย กร้ องค่ าเสี ยหายที่เ กิ ดกั บรถยนต์จ ากนายแดง ละเมิดจึง ก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างนายดาผู้เสียหายและมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียให้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และนายแดงผู้ ก่อความเสียหายและต้ องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แ ก่นายดาในฐานะลูก หนี้ ส่วนจัดการงานนอกสั่ ง และ ลาภมิควรได้ เป็นกรณีที่กฎหมายกาหนดให้เ กิดสิท ธิเ รีย กร้ องระหว่างกันในกรณี ที่มี เหตุบ างอย่าง ตามที่ กฎหมายกาหนด 3. เหตุอื่น ๆ นอกจากนิติกรรมและนิ ติเ หตุ แล้ วยังมีเหตุที่ กฎหมายกาหนดให้เกิ ดความสัม พั น ธ์ ระหว่างบุคคลทาให้ฝ่ายหนึ่งเกิดสิทธิเรียกร้องจากอีกฝ่าย เช่น กฎหมายกาหนดให้สามีภริยามีหน้าที่อุปการะ เลี้ยงดูระหว่างกัน หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ท าหน้ าที่ อี กฝ่ ายย่อมเกิ ดสิ ท ธิเรี ยกร้องให้อุ ป การะเลี้ ยงดู หรือ กฎหมายกาหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ หากผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติหน้าที่รัฐย่อมเกิดสิทธิเรียกร้อ งให้ ต้องเสียภาษีได้ 3.2.2 ลักษณะของกฎหมายลักษณะหนี้ จากที่กล่าวมาข้างต้น กฎหมายลักษณะหนี้จึงมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นความสันพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้โดยฝ่ายเจ้ าหนี้และฝ่ายลู กหนี้อ าจมีหลายคนก็ ไ ด้ เช่น นายแดงต้องการใช้เงิน 300,000 บาท จึงไปทาขอยืมเงินจากนายเอกแต่นายเอกมีเงินไม่พอจึง ตกลง ร่วมกับนายโท และนายตรีออกเงินคนละเท่า ๆกันเพื่อให้นายแดงยืม นายเอก นายโทและนายตรีจึง เป็ น เจ้าหนี้ร่วมกัน หรือนายแดง นายดา และนายขาวตกลงร่วมกันยืมเงินนายเอกเพื่อสร้างเรือลาหนึ่ง นายแดง นายดา และนายขาวจึงเป็นลูกหนี้นายเอก ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกนี้เป็นไปในลักษณะบุคคสิ ท ธิ กล่าวคือเป็นความผู ก พันเฉพาะผู้ที่ ตกลงเข้ามาเกี่ย วข้ องกั นระหว่างผู้เ ป็นเจ้ าหนี้ กับลู กหนี้ เท่านั้ น และไม่ ผูกพันกับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นญาติ พี่น้องหรือเพื่อนก็ตาม ดังตัวอย่างนายแดง นายดา และนายขาวตกลง ร่วมกันยืมเงินนายเอกเพื่อสร้างเรือลาหนึ่ง นายเอกย่อมเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้นายแดง นายดา และนาย ขาวในฐานะลูกหนี้ชาระหนี้ หากนายแดงไม่ชาระหนี้นายเอกจะไปเรียกบิดามารดาหรือญาติ พี่น้องของนาย แดงให้ชาระหนี้แทนนายแดงไม่ได้ 2. กฎหมายลักษณะหนี้ เป็นความผูกพันในทางก่อสิทธิและหน้าที่ในทางหนี้ ซึ่งแตกต่างจากความ ผูกพันภายในครอบครัว เช่น บิดามารดามีหน้าที่อบรมสั่งสอนบุตร แม้ความสัมพันธ์บิดามารดากับ บุ ตรจะ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในลักษณะบุคคลสิทธิก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ความสัมพันธ์ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ ต่อกันดังตัวอย่างที่กล่าวใน (1) 3. ต้องมีการปฏิบัติการชาระหนี้ ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชาระหนี้ให้แก่ ลูกหนี้ห รือเรี ย กอี ก อย่างว่าต้องมีวัตถุแห่งหนี้ 3.2.3 วัตถุแห่งหนี้ การปฏิบัติการชาระหนี้ของลูกหนี้หรือวัตถุแห่งหนี้ สามารถแบ่งการชาระหนี้ออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. หนี้กระทาการ หมายถึงลูกหนี้จะต้องกระทาการใด ๆ เพื่อชาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เช่น นายเอก ว่าจ้างให้นายโทซ่อมรถยนต์ นายโทลูกหนี้มีหน้าที่ซ่อมรถยนต์ให้สามารถขับขี่ได้ตามปกติ นายมั่นว่าจ้างนาย คงวาดรูปเหมือน นายคงลูกหนี้มีหน้าที่กระทาการคือวาดรู ปให้แก่น ายมั่น หรือนายแก้วว่าจ้างให้นายช้ อ น สร้างบ้าน นายช้อนในฐานะลูกหนี้มีหน้าที่กระทาการสร้างบ้านให้นายแก้วตามที่ตกลงกัน 2. หนี้งดเว้นกระทาการ หมายถึงลูกหนี้จะต้องงดเว้นกระทาการใด ๆ เพื่อชาระหนี้ให้แก่ลูก หนี้ เช่น นายเอกว่าจ้างนายโทเป็นพนักงานปรุงอาหารไก่ทอด การทางานของนายโทย่อมรู้สูตรการทาปรุงอาหาร นายเอกและนายโทจึงตกลงกันว่าในระหว่างท างานรวมทั้งหลังจากนายโทออกจากงานนายโทจะไม่น าเอา สูตรการทาปรุงอาหารไปค้าขายแข่งกับร้า นนายเอกเช่นนี้ นายโทในฐานะลูกหนี้ย่อมมีหน้าที่งดเว้นกระท า การไม่กระทาการตามที่ตกลงกัน 3. หนี้ส่งมอบทรัพย์ หมายถึงลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์ให้แก่เจ้าหนี้ เช่น นายเอกทาสัญญา ซื้อโทรศัพท์เครื่ องหนึ่งจากร้ านมะลิโมบาย เมื่อนายเอกชาระค่าโทรศั พท์ ร้านมะลิโมบายในฐานะลู ก หนี้ จะต้องส่งมอบโทรศัพท์เครื่องที่นายเอกตกลงซื้อให้แก่นายเอก หนี้การส่งมอบทรัพย์นี้ในบางตาราเห็นว่าเป็น ส่วนหนึ่งของหนี้กระทาการเพราะหนี้ส่งมอบทรั พย์ คือหนี้ ที่ลูก หนี้จะต้ องกระทาการคือส่งมอบทรัพย์ ใ ห้ แ ก่ เจ้าหนี้นั่นเอง กรณีนี้จะเห็นได้ว่าทรัพย์เป็นเพี ยงเครื่ องมืออันเป็นส่ วนหนึ่งที่จะท าให้หนี้ส่งมอบทรั พย์ ข อง ลูกหนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่ทรัพย์ไม่ได้เป็นเครื่องมือที่จะทาให้หนี้กระทาการหรือ หนี้งดเว้น กระทาการเสร็ จ สิ้นสมบูรณ์ เพราะหนี้กระทาการ เช่น หนี้วาดรูปหรือหนี้สร้างบ้านและหนี้งดเว้นกระทาการ เช่น หนี้งดเว้น ไม่นาเอาสูตรการทาปรุงอาหารไปค้า ขายแข่งกับ ร้าน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์โดยตรงเหมื อนดังเช่นหนี้ ส่ ง มอบทรัพย์ ดังนั้น ทรัพย์จึงเป็นวัตถุในการชาระหนี้ ในหนี้อันมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบทรัพย์ เพื่อทาให้ หนี้ส่งมอบทรัพย์สาเร็จเสร็จสิ้นไป ลักษณะของหนี้ที่กล่าวมานี้ ย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้เกิดสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ในการปฏิบัติการช าระ หนี้ หากลูกหนี้ไม่ชาระหนี้ให้ แก่ ลู กหนี้ เจ้าหนี้สามารถฟ้องคดี ต่อ ศาลเพื่ อบัง คับให้ลู กหนี้ช าระหนี้ ใ ห้ แก่ เจ้าหนี้ได้ อย่างไรก็ตาม มีหนี้บางประเภทซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ทาให้เจ้าหนี้สามารถบังคับให้ลูกหนี้ให้ชาระหนี้ ซึ่ง เราเรียกหนี้ประเภทนี้ว่า หนี้ในธรรม ตัวอย่างเช่น บิดามารดาของนายเอกอุปการะเลี้ยงดูนายเอก หรือนาย เอกดูแลอุปการะบิดามารดาของตนที่แก่ชรา ถือว่าเป็นการหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรมไม่สามารถเรียกคืนอย่างใด ๆ ได้ 3.2.4 หน้าที่ในการชาระหนี้ เมื่อหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ลูกหนี้ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชาระหนี้ให้ แก่เจ้าหนี้ให้ถูก ต้องตามความ ประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ตามมาตรา 215 บัญญัติว่า “เมื่อลูกหนี้ไม่ชาระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อัน แท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ก ารนั้นก็ไ ด้ ” คาว่า “ความประสงค์อันแท้จ ริงแห่งมู ลหนี้ ” หมายความว่าลูกหนี้ต้องลู กหนี้ต้องช าระหนี้ให้ ถูก ต้ องทุ กอย่ า ง ที่ ลูกหนี้จะต้องทาการชาระหนี้ รวมทั้งเงื่อนไขเงื่อนเวลาในการชาระหนี้ กาหนดเวลาในการชาระหนี้ สรุปได้ ดังนี้ 1. หน้าที่ชาระหนี้ให้ถูกต้อง วัตถุแห่งหนี้เป็นหนี้กระท าการ งดเว้นกระทาการและส่งมอบทรั พย์ ลูกหนี้ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง กรณีหนี้ส่งมอบทรัพย์ ทรัพย์ที่จะส่งมอบจะต้องกาหนดให้เป็นทรั พย์เ ฉพาะ สิ่ ง เสียก่อนส่วนใครจะเป็นผู้มีสิทธิกาหนดไม่ว่า จะเป็น ฝ่ายเจ้าหนี้ ฝ่ายลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกเป็นเรื่ อ งที่ ต้องตกลงกัน หากมิได้ตกลงกันไว้กฎหมายจะบัญญัติผู้มีสิทธิกาหนดทรัพย์เฉพาะสิ่งไว้เ อง เช่น นายแดงซื้อ เหมาส้มจากสวนมา 70 กิโลกรัมใส่ท้ายรถกระบะมาจอดขายข้างทาง นายดาผ่านมาจึงจอดรถขอซื้อส้ม 3 กิโลกรัม ส้มทั้งหมด 70 กิโลกรัมยังไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่งเมื่อใดที่นายแดงคัดเลือกส้ม 3 กิโลกรัมใส่ในถุง ส้ม 3 กิโลกรัมนั้นกลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งทันทีและกรรมสิทธิ์ในส้ม 3 กิโลกรัมที่คัดเลือกมาตกเป็นของนายดา ทันทีแม้ยังไม่ได้ยื่นหรือส่งมอบให้แก่นายดา หากปรากฎต่อมาว่ามีรถยนต์เกิดอุบัติเ หตุ พุ่งเข้าชนรถขายส้ ม ของนายแดงตกข้างทางส้มกระจัดกระจายเสียหายรวมถึงส้มในถุง 3 กิโลกรัมโดยไม่ใช่ความผิดของแดงผู้ขาย เลยเช่นนี้ แม้นายดาจะไม่ได้ส้มแต่นายดายังคงต้องจ่ายค่าส้มให้แก่นายแดง ตามมาตรา 370 2. กาหนดเวลาชาระหนี้ ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชาระหนี้ตามกาหนดเวลาชาระหนี้ ตามปกติคู่สัญญาจะ ได้ตกลงกาหนดเวลาชาระหนี้ไ ว้ เช่น นายแดงขอยืมนายดา 3,000 บาท โดยตกลงจะนามาคืนในวันที่ 30 กันยายน 2563 ซึ่งถือว่าเป็นหนี้มีกาหนดเวลาชาระหนี้ตามวันเวลาปฏิ ทิน นายแดงลูกหนี้จะต้องชาระหนี้ ตามกาหนดเวลา หากไม่ชาระนายแดงลู กหนี้ ย่อมตกเป็น ผู้ผิ ดนั ดและเกิดความรั บผิ ดในกรณีหนี้ ยืม เงิ น ก็ จะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ในระหว่างผิดนัดด้วย 3.2.5 การระงับแห่งหนี้ ตามปกติหนี้ย่อมระงับโดยการที่ลูกหนี้ปฏิบัติการชาระหนี้ แต่หนี้สามารถระงับด้วยกรณีอื่น ได้แก่ การปลดหนี้ การหักลบลบหนี้ การแปลงหนี้ใหม่ หนี้เกลื่อนกลืนกัน เมื่อหนี้ระงับสิ้นไปแล้วความผูกพั น ใน ฐานะเจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลง เจ้าหนี้ย่อมสิ้นสิทธิเรียกร้องที่มีต่อลูกหนี้ 3.3 หลักพื้นฐานกฎหมายละเมิด 3.3.1 ลักษณะทั่วไปของกฎหมายลักษณะละเมิด ละเมิดเป็นมูลเหตุแห่ง หนี้อ ย่างหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิ ชย์ ซึ่งความรับผิ ดเ พื่ อ ละเมิ ดนั้ นเป็ นนิ ติเหตุ โดยคาว่ า “นิ ติเ หตุ ” หมายถึ ง สาเหตุ ห รือ มูล เหตุ ทางกฎหมายอย่ า งหนึ่งซึ่งเป็น เหตุการณ์ที่กฎหมายบัญญัติให้บุคคลต้ องรับผิด แนวความคิดเกี่ยวกับการละเมิดนั้นได้ ก่อกาเนิดขึ้นมาเป็ น เวลานานจากกฎหมายโรมัน (ศนันท์กรณ์.2555:19) การละเมิดแต่เดิมนั้นจึงเป็นหนี้ ที่เกิ ดการกระทา ที่ ไ ม่ ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ได้มีการแยกความรับผิดว่าเป็นความรับผิดทางแพ่งหรือทางอาญาออกจากกันอย่าง ชัดเจน แต่ในปัจจุบันได้มีการแบ่งแยกความรับผิดทางแพ่งอย่างชัดเจน ดังนั้น “ละเมิด” จึงเป็นความรับผิด ทางแพ่ ง ที่ เกิ ดจากการกระท าที่ ไม่ช อบด้ ว ยกฎหมาย ท าให้ เกิ ดหนี้ที่ ต้องชดใช้ ค่าสิ น ไหมทดแทนให้แก่ ผู้ถูกกระทาละเมิด ซึ่งมีผลทาให้เกิดสิทธิและหน้าที่ผูกพันกันตามกฎหมาย ความรับผิดเพื่อการกระทาละเมิด ที่ผู้เสียหายจะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้นั้นแบ่งได้เป็น 3 กรณี ได้แก่ 1. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทาของตนเอง ผู้กระทาละเมิดจึงเป็นผู้รับผิดชดใช้ ค่าเสี ย หาย เอง ตามมาตรา 420- 423 2. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทาของบุคคลอื่น ผู้กระทาความผิดไม่ได้เป็นผู้ชดใช้ค่าสิ น ไหม ทดแทนในการทาละเมิดของตน ตามมาตรา 425-431 3. ความรับผิดเพื่อละเมิ ดในความเสียหายจากทรัพย์ร วมถึงสั ตว์เ ลี้ยง ซึ่งเจ้าของทรัพย์ต้องเป็ น ผู้ ชดใช้ความผิดหากก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ตามมาตรา 433-437 3.3.1 องค์ประกอบของละเมิด ตามหลักทั่วไปของละเมิด เราจะพิจารณาตามมาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาท เลินเล่อ ทาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชี วิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ ดี ทรัพย์สินก็ดี หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทาละเมิด จาต้องใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” การกระทาใดจะเป็นความรับผิดเพื่อละเมิด โดยทั่วไปต้องมีองค์ประกอบ (ม.420) ดังนี้ 1. ผู้ทาละเมิดต้องมีสภาพบุคคล โดยอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิ ติบุ คคลก็ได้ ในกรณีของบุคคล ธรรมดา โดยไม่ต้องพิจารณาว่าบุคคลนั้นเป็นผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถรู้ สานึกในการกระทาของตนเ อง แล้ว บุคคลนั้นย่อมต้องรับผิ ดในการกระทาละเมิ ดของตน ในกรณีเป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นบุคคลสมมุติตาม กฎหมายก็ต้องรับผิดในผลแห่ง ละเมิดโดยพิจารณาจากการกระทาของผู้ แทนนิ ติบุ คคลเป็นเกณฑ์ อัน อยู่ ใ น ขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล 2. เป็นการกระทาต่อบุ คคลอื่ นโดยมิ ชอบด้ วยกฎหมาย กล่าวคือ ไม่มีอานาจตามกฎหมายที่ จ ะ กระทาได้ หรือกระทาโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทาได้ 3. เป็นการกระทาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ตามองค์ประกอบข้างต้นกฎหมายใช้คาว่า “หรือ” ดังนั้นการกระทาดังกล่าวจึงอาจเป็นจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ได้ ทั้งนี้ คาว่า จงใจ คือ กระทาโดยรู้สานัก ถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้อื่น แม้จะไม่รู้จักตัวผู้ที่จะได้รับความเสียหายก็ตาม ส่วนคาว่า ประมาทเลินเล่อ คือ กระทาโดยไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้ 4. การกระทานั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย ข้อสังเกต การยอมให้บุคคลอื่นกระทาต่อตนด้วยความสมัครใจ กล่าวคือ ปราศจากการข่มขู่ กลฉ้อ ฉล หรือสาคัญผิด เช่นนี้ ย่อมไม่เป็นละเมิด (ความยินยอมทาให้ไม่เป็ นละเมิ ด) แต่ความยินยอมที่ ใ ห้ นี้ จะต้องมีอยู่ตลอดเวลาในขณะที่มีการกระทานั้นด้วย ตัวอย่างความรับผิดกฎหมายลักษณะละเมิด 1. ความรับผิดเนื่องจากการหมิ่นประมาทในทางแพ่ง ตามมาตรา 423 เนื่องจากการแสดงความ ความเท็จ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ (ก) มีการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย หมายถึง ผู้กระทาได้กระทาไม่ว่าด้ว ย วิธีการใดที่แสดงออกซึ่งความหมายให้เป็นที่เ ข้าใจแก่บุ คคลที่ 3 (ข) สิ่งที่ถูกกล่าวหรือไขข่าวแพร่ห ลายนั้ น เป็นข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ถ้าข้อความนั้นเป็นความจริงย่อมไม่เป็นละเมิดในข้อนี้ แต่อาจเป็นละเมิด ตาม ม. 420 (ข) ผู้กล่าวต้องรู้หรือควรจะรู้ ว่าข้ อ ความเช่ นนั้นไม่เป็นความจริง (ง) การกระทาดังกล่ าวเป็ น เหตุให้เกิดความเสี ยหายแก่ชื่ อเสียงเกีย รติ คุณ หรือเป็นที่เสียหายแก่ ทางท ามาหาได้ หรือทางเจริญของ บุคคลอื่น หากเข้าหลักเกณฑ์ดัง กล่า วข้ างต้น ผู้กระทาต้องชดใช้ค่า สินไหมทดแทนให้แ ก่บุ คคลอื่นที่ ไ ด้ รั บ ความเสียหายนั้น 2. ความรับผิดในการทาละเมิดของลูกจ้าง ตามมาตรา 425 ซึ่งเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ได้ทาละเมิ ด แต่ ต้อ งร่ ว มกั น รั บ ผิ ดกั บ ลู ก จ้ า งในผลแห่ งละเมิด ซึ่ ง มี ห ลั ก เกณฑ์ดัง นี้ (ก) นายจ้ า งและลู ก จ้า งต้องมี ความสั ม พั น ธ์ กัน ตามสั ญ ญาจ้ างแรงงาน (ข) ลู ก จ้ า งได้ ก ระท าละเมิ ดนั้ นเนื่อ งมาจากทางการที่จ้างนั้น “ทางการที่จ้าง” หมายถึง การกระทาใดๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของงานหรื ออยู่ในขอบเขตของงานที่จ้าง รวม ตลอดถึงการกระทาใดๆ ที่อยู่ภายใต้คาสั่งหรือความควบคุมดูแลของนายจ้าง (ค) นายจ้าง และลูกจ้าง ตก เป็นลูกหนี้ร่วม โดยมีผู้ถูกทาละเมิดเป็นเจ้าหนี้ (ง) เมื่อนายจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสีย หายแล้ ว นายจ้างมีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างคืนได้ 3. ความรับผิดในการทาละเมิดอันเกิดจากทรัพย์ ตามมาตรา 437 ซึ่งมีหลักเกณฑ์โดยสรุปดังนี้ 3.1 ความรั บ ผิ ดในความเสีย หายที่ เกิ ดขึ้น จากยานพาหนะ กฎหมายให้ สั นนิษ ฐานไว้ก่อนว่า บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใดๆ อันเดินด้วยกาลังเครื่องจักรกล (ติดเครื่องยนต์ใน ขณะนั้น) เช่น รถยนต์ เรือยนต์ เป็นต้น หรือ 3.2 บุคคลใดครอบครองทรัพย์ ซึ่งเป็นของเกิ ดอัน ตรายได้โดยสภาพ (น้ามัน กระสุนปืน ระเบิด) หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ (ปืน) หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้น (ใบมีดในโรงงาน) ผล คือ บุคคลนั้นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิ ดจากยานพาหนะหรือทรัพย์นั้น ๆ ทั้งนี้ผู้ ครอบครองจะหลุดพ้นจากความรับ ผิดดังกล่า วได้ ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่า ความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุ ด วิ สั ย หรือเกิดจากความผิดของผู้เสียหายเอง 4. ความรับผิดในความเสียหายที่ เกิ ดขึ้น เพราะสัตว์ ตามมาตรา 433 ตามกฎหมายสันนิษฐานให้ เจ้าของสัตว์หรือบุคคลที่รับเลี้ยงรักษาสัตว์นั้นไว้แทนเจ้าของ ต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้ ที่ต้องเสียหายอันความเสี ยหายได้เ กิดขึ้นเพราะสั ตว์นั้ น “เจ้าของสัตว์” คือ บุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ก ฎหมาย ดังนั้น ถ้าเป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของ สัตว์ป่า หรือสัตว์ที่เจ้าของละทิ้งแล้ว ไปก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็น บาปเคราะห์แก่ผู้เสียหายนั้นเอง “ผู้รับเลี้ยงรักษาสัตว์ไว้แทนเจ้าของ” คือ บุคคลที่ดูแล เลี้ยง รักษาสัตว์อ ยู่ ในขณะที่สัตว์ไปก่ อ ความเสีย หายแก่ผู้ อื่น การได้สัตว์มาอยู่ในความดูแ ลจะได้ม าโดยวิ ธีใ ดไม่ สาคัญ เช่น อาจจะได้รับมอบหมายจากเจ้าของ อาจจะขโมยมาหรือถือวิสาสะเอาสัตว์เขามาเล่ น ก็ถือว่าเป็นผู้รับเลี้ ย ง รักษาสัตว์ไว้แทนเจ้าของทั้งสิ้น ถ้าฟังได้ว่า มีผู้รับเลี้ยงรักษาสั ตว์ไ ว้ แทนเจ้า ของแล้ ว และเจ้าของไม่ได้มาเกี่ย วข้ องอี ก เช่นนี้ เจ้าของสัตว์ ก็หลุดพ้นจากความรับผิดไปเลย อย่างไรก็ดี หากเจ้าของสัตว์หรือบุคคลที่รับเลี้ยงรักษาสั ตว์ นั้ น ไว้แทนเจ้าของ พิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรัก ษาตามชนิ ดและวิสัย ของ สัตว์หรือตามพฤติ การณ์อ ย่างอื่น หรื อ พิสู จน์ไ ด้ ว่า ความเสียหายนั้น ย่อมจะต้องเกิ ดมี ขึ้น ทั้งที่ไ ด้ใ ช้ค วาม ระมัดระวังแล้ว เช่นนี้ ก็ไม่ต้องรับผิด 5. ความรับผิดในความเสียหายที่เกิ ดขึ้นเพราะโรงเรื อนหรื อสิ่งปลู กสร้างอย่างอื่ น ต้นไม้หรือกอไผ่ ชารุดบกพร่องหรือบารุงรักษาไม่เพียงพอ ตามมาตรา 434 “โรงเรือน” หมายถึง สิ่งปลูกสร้างบนดิน หรือใต้ ดิน เพื่อใช้เป็นที่อยู่อ าศั ย หรือประกอบกิจ การ เช่น บ้าน ตึกแถว ห้องใต้ดิน อาคารชุด และรวมไปถึ ง ส่วนประกอบของโรงเรือนด้วย เช่น ประตู หน้าต่าง บันได หรือลิฟต์ เป็นต้น “สิ่งปลูกสร้าง” หมายถึง สิ่งที่ ปลูกสร้างหรือทาขึ้น นอกเหนือจากโรงเรือน เช่น กาแพง บ่อน้า ท่อระบายน้า เป็นต้น กฎหมายกาหนดให้ผู้ครอบครอง(เช่น ผู้เช่า)โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นนั้นเป็นผู้รับผิดใน ความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเกิดจากที่โรงเรือนหรือสิ่งปลู กสร้างอย่างอื่น ต้นไม้หรือกอไผ่ ชารุดบกพร่องหรื อ บารุงรักษาไม่เพียงพอ อย่างไรก็ดี หากผู้ครอบครองสามารถพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เพื่อปัดป้องมิให้เกิดความเสียหายแล้ว ผู้ครอบครองไม่ต้องรับผิด และในกรณีเช่นนี้กฎหมายกาหนดให้ผู้ ที่ เป็นเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นนั้น ต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3.3.2 ค่าสินไหมทดแทน ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด คือ 1. กรณีทาทรัพย์สินเสียหาย ค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ การคืนทรัพย์สิน ที่เสียไป ถ้าคืนไม่ได้ก็ให้ใช้ ราคาทรัพย์นั้น รวมถึงค่าเสียหายอื่นๆ 2. กรณีเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย 2.1 กรณีถึงตาย ค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ ค่าปลงศพ และ ค่าขาดไร้อุปการะ ถ้าไม่ตายทันทีค่า สินไหมทดแทน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทามาหาได้ เพราะ ไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย 2.2 กรณีไม่ถึงตาย ค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล รวมตลอดทั้ง ค่าเสียหายที่ต้อ ง ขาดประโยชน์ทามาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้น ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตด้วย 3. ค่าเสียหายอันไม่อาจคานวณเป็นตั วเงินได้ เช่น ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานในระหว่างการรั กษา แต่ค่าเสียหายนี้เป็นการเฉพาะตัว ไม่สามารถโอนกันได้ และไม่สืบทอดไปถึงทายาท 3.4 หลักพื้นฐานกฎหมายลักษณะทรั พย์ บุคคลเมื่อเกิดขึ้นมาย่อมมี ความเกี่ย วพัน ธ์เ กี่ย ข้ องกั บสิ่ง ที่อ ยู่ร อบตั วเรา ซึ่งกฎหมายได้ก าหนด ความสัมพันธ์โดยกาหนดสิทธิของบุคคลเหนื อสิ่งของทั้งที่เป็น วัตถุมีรูปร่ างและไม่มีรูปร่าง เราเรียกกลุ่มของ สิทธิในลักษณะนี้ว่า “ทรัพยสิทธิ” เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริม ทรั พย์ ภาระจายอม สิทธิจานา สิทธิจานอง เป็นต้น ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่อยู่ในบรรพ 4 แห่งประมวลกฎหมาย และพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม เราจะได้ศึกษาก่อนว่าวัตถุมีรูปร่างและไม่มีรูปร่างคืออะไร และในทางกฎหมาย ได้แบ่งวัตถุมีรูปร่างกี่ประเภทอะไรบ้าง 3.4.1 ความหมายคาว่า “ทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้นิยามคาว่า“ทรัพย์”ตามมาตรา 137 หมายถึงวัตถุมีรูปร่าง ส่วน“ทรัพย์สิน” ตามมาตรา 138 หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอา ได้ ดังนั้น ทรัพย์จึงหมายถึงวัตถุมีรูปร่าง วัตถุมีรูปร่างคือวัตถุที่มี ตัวตนและต้องการที่อยู่ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สมุด ดินสอ ปากกา และไม่ว่าจะมีรูปร่างเล็กเพียงใดหรือแม้กระทั่งจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นก็ตาม ตัวอย่างเช่น เชื้อโรค จุลินทรีย์ต่าง ๆ ส่วนคาว่า ทรัพย์สิน หมายถึง วัตถุมีรูปร่างและไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจ ถือเอาได้ วัตถุไม่มีรูปร่างจึงหมายถึงวัตถุที่ไม่มีตัว ตนและไม่ต้องการที่ อ ยู่ ซึ่งก็ได้แก่ ทรัพย์สินทางปัญ ญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า จากนิยามดังกล่าวจึงอาจเห็นได้ว่า ทรัพย์ซึ่งหมายถึงวัตถุมีรูปร่างเป็น ส่วนหนึ่งของทรัพย์สินซึ่งมีความหมายกว้างรวมถึง วัตถุมีรูปร่างและไม่มรี ูปร่างด้วย นอกจากนี้ คาว่าทรัพย์สินยังมีความหมายรวมไปถึงวัตถุมีรูปร่างและไม่มีรูปร่างนั้นมีราคาและอาจ ถือเอาได้ด้วย คาว่า “อาจมีราคา” ในทีนี้มิได้หมายถึง price แต่หมายถึง value ซึ่งแปลว่ามีมูลค่า สามารถ ทาความเข้าใจได้ว่ามูลค่ากินความมูลค่าในทางเศรษฐศาสตร์ห รือมีราคาสามารถซื้อ ขายกันได้ และมีความ หมายถึงมูลค่าในทางจิตใจด้วย เช่น จดหมายที่ลูกเขียนถึงแม่จดหมายย่อมมีคุณค่ากับแม่ แม้คนอื่นจะเห็น เป็นเพียงกระดาษแผ่นหนึ่งก็ตาม ส่วนคาว่า “อาจถือเอาได้” หมายถึง เพียงแต่อาจถือเอาได้เท่านั้น หรือมี ลักษณะอาการเข้าหวงกันหรือหวงแหนไว้เพื่อตนเอง ไม่จาเป็นต้องเข้ายึดถือหรือจับต้องได้จริงจัง เช่น ได้รับ สัมปทานแร่ดีบุกจากรัฐบาลย่อมผู้ได้รับสัมปทานย่อมมีอานาจเข้าครอบครองแม่จะยังไม่ได้ลงเครื่องจั ก รท า เหมืองแร่ก็ตาม ท่านอาจารย์เสนีย์ ปราโมช ได้อธิบายว่า ไม่ได้หมายความถึง การจับ ถือ ด้ วยกามื อ ในคา แปลภาษาอังกฤษใช้คาว่า “appropriated” หมายถึงการถือสิทธิก็เพียงพอแล้ว 3.4.2 ประเภทของทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งประเภทของทรัพย์ (ปฏิเวทย์ ยาวงษ์, 2559, น.9) ดังนี้ 1. อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง (1) ที่ดิน และหมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย คลอง บึง ทะเลสาบ เกาะ อีกด้วย (2) ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็น การถาวร เช่น บ้าน อาคาร ตึกสูง สะพานข้ามแม่น้า เป็น ต้น (3) ทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดีย วกับ ที่ดิน หมายถึง ทรัพย์ที่รวมอยู่กับเนื้อดิน ซึ่งเกิ ดขึ้น ตามธรรมชาติ เช่ น แร่ ธ าตุ ต่า ง ๆ น้ าใต้ ดิน เป็ น ต้ น (4) ทรั พยสิ ท ธิอั น เกี่ ยวกั บ ที่ดิน หรื อ ทรัพย์ อั นติ ดอยู่กั บ ที่ดินหรือ ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน บ้าน หรือแร่ธาตุต่าง ๆในที่ดินนั้นด้วย 2. ทรัพย์แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้ ทรัพย์แบ่งได้หมายถึงทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูป บริบูรณ์ลาพังตัว เมื่อแบ่งทรัพย์นั้นแล้วสภาพของทรัพย์ยังบริบูรณ์ เช่น ส้ม 20 ผลแบ่งเป็น 2 กอง หรือน้า ดื่มแบ่งใส่แก้ว 5 แก้ว ส้มและน้าดื่มยังคงบริบูรณืในสภาพแห่งทรัพย์ ส่ วนทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายความว่ า ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้น อกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรั พย์ เช่น บ้าน 1 หลังแบ่ง 2 ส่วนหน้า หลัง หรือส้ม 1 ผลแบ่งเป็นครึ่งผล ทั้งบ้านและส้มย่อมแบ่งแล้วเปลี่ยนแปลงภาวะแห่งทรัพย์ไม่สามารถแบ่ง ได้ และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย เช่น กฎหมายบัญญัติหุ้นของบริษัท 1 หุ้นไม่อาจแบ่งเป็นครึ่งหุ้นได้ตามมาตรา 1118 3. ทรัพย์นอกพาณิชย์ ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่าทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบ ด้วยกฎหมาย ทรัพย์นอกพาณิชย์จึง อาจมี 2 ลักษณะ คือ (ก) ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้โดยสภาพของ ทรัพย์ เช่น ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ทั้งดวงได้ (ข) ทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย คือ มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โอน เพราะกฎหมายไม่ประสงค์จะให้ทรัพย์นั้นอยู่ในความหมุนเวี ยนเปลี่ ย นมื อ ของเอกชน เช่น สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ที่วัด หรือที่ธรณีสงฆ์ 3.4.3 ความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างทรัพย์ ทรัพย์ชิ้นหนึ่งอาจมีความเกี่ยวพันเกี่ย วเนื่องกับทรั พย์ชิ้ นอื่น ๆ เช่น ประกอบกันขึ้นเป็นทรัพย์ ชิ้ น เดียวกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไ ด้แ บ่งความสัมพัน ธ์ไว้เ ป็น 3 ลักษณะ คือ ส่วนควบ อุปกรณ์ และดอกผลของทรัพย์ (ปฏิเวทย์ ยาวงษ์, 2559, น.17) ดังนี้ 1.ส่ ว นควบ คื อ การน าทรัพย์ หลายอย่ างมารวมกั นท าให้ โดยสภาพของทรัพย์ ที่น ามารวมเป็น สาระส าคั ญ ในความเป็ น อยู่ ข องทรั พย์นั้ น ตามมาตรา 144 เช่ น รถยนต์ ป ระกอบด้ ว ยการน าโครงรถ เครื่องยนต์ ประตู กระจกมารวมกันจนมีสภาพเป็นรถยนต์ หรือปากกา ประกอบด้วยการน้าใส้ปากกาและ ด้ามปากกามารวมกัน โดยสภาพไม่อาจแยกกันได้ หากแยกใส้ปากกาออกปากกาย่อมไม่สามารถใช้เขี ย นได้ ใส้ปากกากับด้ามปากกาย่อมเป็นส่วนควบของปากกา 2.อุปกรณ์ ตามมาตรา 147 หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกติ นิยมเฉพาะถิ่น หรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เ ป็นประธานเป็น ของใช้ป ระจาอยู่ กับ ทรัพย์ที่เป็น ประธานเป็น อาจิ ณ เ พื่ อ ประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็น ประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นามาสู่ท รัพย์ ที่ เ ป็ น ประธานโดยการนามาติดต่อหรือ ปรับเข้าไว้ หรือทาโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ ประกอบกับทรัพย์ ที่เป็นประธานนั้น ตัวอย่างอุปกรณ์ในชีวิตประจาวัน เช่น แม่แรงเปลี่ยนล้อรถยนต์ ผ้าคลุมรถยนต์ กล่องใส่ แว่นตา ดังนั้น อุปกรณ์เมื่อแยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวย่อมไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ เช่น ไปต่างจังหวัดรถยนต์บรรทุกหนักจึงนาแม่แรงเก็ยไว้ที่บ้าน แม่แรงถูกแยกจากรถยนต์ ชั่วครางแต่ไม่ขาด จากการเป็นอุปกรณ์ 3.ดอกผล ตามมาตรา 148 ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติข องทรั พย์ ซึ่งได้มาจากตั วทรั พย์ โดย การมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกติ นิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรั พย์นั้น ตัวอย่างดอกผลธรรมดา เช่น ผลมะม่วงเป็นดอกผลธรรมดาของต้ นมะม่วง ขนแกะเป็นดอกผลธรรมดาของแกะ ลูกสุนับ เป็น ดอก ผละรรมดาของแม่สุนัข เป็นต้น ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรั พย์ จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคานวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กาหนด ไว้ ตัวอย่างเช่น ค่าเช่ารถยนต์รายวันเป็นดอกผลนิตินัยที่เกิดจากการใช้รถยนต์ซึ่งได้มาเป็นครั้งคราว เมื่อได้ทาความเข้าใจแล้วว่าทรัพย์และทรัพย์สิน รวมทั้งประเทภของทรัพย์มีอะไรบ้าง กฎหมายจะ ได้บัญญัติสิทธิ รวมถึงขอบเขตของสิท ธิที่มี อ ยู่เหนือ วั ตถุมี รูปร่ างและเรีย กชื่ อสิ ท ธินั้น ต่ อไป ตัวอย่างเช่ น กฎหมายบัญญัติความเป็นเจ้าของเหนือวัตถุมีรูปร่างโดยเรียกสิทธินี้ ว่า กรรมสิทธิ์ และบัญญัติขอบเขตของ กรรมสิทธิ์โดยผู้เป็นเจ้าของมีสิทธิใช้สอย จาหน่ายและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและ เอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้ อ งกั บ ทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1336 นอกจากนี้ยังมีสิทธิเหนือวัตถุมีรูปร่างอื่น ๆ อีก เช่น สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ ภาระจายอม เป็น ต้น คาถามท้ายบท ข้อ 1. ให้นิสิตยกตัวอย่างเหตุ การณ์ ละเมิ ดใกล้ ตัวมา 1 เหตุการณ์ และเหตุการณ์ ดัง กล่ า วผิ ดกฎหมาย ลักษณะละมิดเพราะเหตุใด จงอธิบาย ตอบ…………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อ 2. ให้นิสิตอธิบายวัตถุแห่งหนี้ คืออะไร

Use Quizgecko on...
Browser
Browser