National Security Plan October 2018 - Page 21-30 PDF
Document Details
Uploaded by SharperFife201
Chonradsadornumrung School
2018
Tags
Related
- Plan Nacional de Desarrollo 2019-2024 PDF
- Studying Foreign Policy Comparatively PDF
- 13th Five Year Plan (2024-2029) Royal Government of Bhutan PDF
- National Security Implications of Climate-Related Risks and A Changing Climate PDF 2015
- National Security Theory and Geopolitics PDF
- NSS 1987 U.S. National Security Strategy PDF
Summary
This document details national security strategies for Thailand, including measures to maintain peace and stability in the southern border provinces, safeguard natural resources, enhance national capabilities for crisis management, and increase international cooperation. The plan outlines specific goals, objectives, targets, and actions to accomplish these.
Full Transcript
๔.๒.๓ การสร้างความปลอดภัยและความสันติสุขอย่างถาวรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการแก้ไขจนเกิดความสงบและสันติสุขอย่างยั่งยืน ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม รวมทั้...
๔.๒.๓ การสร้างความปลอดภัยและความสันติสุขอย่างถาวรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการแก้ไขจนเกิดความสงบและสันติสุขอย่างยั่งยืน ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม รวมทั้ง ได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันกับภาคอื่น ๆ โดยยกระดับการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอย่าง มีเอกภาพ ครอบคลุ มทุก พื้น ที่ และทุ กกลุ่ มเปู าหมาย มี การบูรณาการ ความเชื่ อมโยงระหว่า งประเด็ นเชิ ง ยุทธศาสตร์และเชิงพื้นที่ แผนการดาเนินงาน การลงมือปฏิบัติ ตลอดถึงการติดตาม ประเมิน และรายงานผล อย่างสอดคล้องต่อเนื่องกันทุ กระดับ ส่งเสริมและอานวยความยุติธรรม ประสิทธิภาพในการเข้าแก้ไขปัญหา สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดความรุนแรง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่ อย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการขจัดปัญหาความขัดแย้งและความไม่เป็นธรรมให้ได้อย่างจริงจังและถาวร ส่งเสริ ม สังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ให้เข้มแข็งจนเป็นพลังสาคัญในการปกปูองและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไป พร้อมเสริมสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเห็นต่างตามแนวทางสันติวิธี ผ่านกลไกต่าง ๆ รวมไปถึงการพูดคุยกันอย่าง เป็นมิตร ผลักดันให้มีการยึดถือคาสอนที่ถูกต้องของศาสนามาเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิต พร้อมดูแลและ ปูองกันมิให้มีการบิดเบือนคาสอนของศาสนาไปในทางที่ไม่ถูกต้อง อันจะนาไปสู่การปฏิบัติที่ส่งผลกระทบต่อ ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ มีการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคม ร่ว มมื อ กั บ ภาครั ฐ ในการพัฒ นาพื้ น ที่ อ ย่ างเข้ ม แข็ ง ต่อ เนื่ อ ง และสอดคล้ อ งกั บความต้ อ งการของทุ ก กลุ่ ม ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน ตามยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง รวมทั้งศาสตร์พระราชา รวมถึงการสร้างเสริมโอกาสในการเข้าถึงการบริการต่าง ๆ ของรัฐให้ทัดเทียม กับภูมิภาคอื่น ๆ ๔.๒.๔ การรั กษาความมั่น คงและผลประโยชน์ ทางทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ง แวดล้อ ม ทั้งทางบกและทางทะเล เพื่อให้ ผ ลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้ อมทั้งทางบก และทางทะเล สามารถด ารงอยู่ ไ ด้ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ และเป็ น ประโยชน์ ต่ อ ประชาชน สั ง คม รวมถึ ง ประเทศชาติอย่ างยั่งยืน โดยส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของกองทัพ หน่วยงานเกี่ยวข้อง และภาค ประชาชน ให้สามารถพัฒนาสมุททานุภาพของประเทศ ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการสมุทราภิบาล ในการบริ ห ารจั ด การ ปกปู อ ง และดู แ ลรั ก ษาผลประโยชน์ ทั้ งมวลของชาติ เสริ ม สร้ า งและบริ ห ารจั ด การ ความมั่นคงทั้งชายแดนทางบก ทะเลอาณาเขต และเขตเศรษฐกิจจาเพาะของไทยอย่างบูรณาการและเป็นระบบ รวมไปถึงการพัฒนาระบบเฝูาตรวจติดตาม ระบบตรวจคนเข้าเมือง การสารวจและจัดทาหลักเขตแดนทางบก และการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนทางทะเล สร้างเสริมให้เจ้าหน้า ที่รัฐ มีบทบาทและขีดความสามารถ ที่เหมาะสม มีการดาเนินการต่าง ๆ และสอดส่องดูแลอย่างต่อเนื่อง กาหนดพื้นที่อนุรักษ์อย่างถูกต้องและเป็น ระบบ สร้ า งความตระหนั ก รู้ ใ ห้ แ ก่ ป ระชาชนในเรื่ อ งการให้ ค วามส าคั ญ กั บ ฐานทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมของประเทศ การจัดสรรทรัพยากรอย่ างเป็นธรรม ตลอดถึงแนวพระราชดาริในการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟู ปูองกัน และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ จนเกิดความรัก หวงแหน และมีส่วนร่วมในการดาเนินการต่าง ๆ อย่างเข้มแข็งยั่งยืน ๔.๓ การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งระบบของประเทศ ให้มีความพร้อม ในการปู องกัน และรั กษาอธิป ไตยของประเทศ รวมทั้งสามารถติดตาม ปูองกัน แก้ไข และรับ มือกับ ปัญหา ความมั่นคงทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับแบบบูรณาการให้มีความพร้อมและเพียงพอต่อการปูองกันภัยคุกคาม ทุกมิติ ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ๑๔ ๔.๓.๑ การพัฒนาระบบงานข่าวกรองแห่งชาติแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ สามารถติดตาม แจ้งเตือน ระงับ ยับ ยั้ง และปูองกัน ปั ญหาและภัยคุกคามได้อย่ างมีป ระสิ ทธิภ าพ สามารถ ประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง แม่น ยา และทันเวลา โดยเสริมสร้าง พัฒนา และบูรณาการขีดความสามารถ ของระบบงานข่าวกรอง หน่วยงานข่าวกรอง และประชาคมข่าวกรองในประเทศให้ทันสมัย ทันสถานการณ์ ทั้งด้านศักยภาพของบุคลากร ยุทโธปกรณ์ เทคโนโลยี และระบบข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถครอบคลุมการใช้งาน ได้อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง มีการบูรณาการข้อมูลและนาผลผลิตด้านข่าวกรองไปใช้ในการบริหารจัดการ ปัญหาและความมั่นคงของชาติในทุกมิติและทุกด้าน รวมทั้งให้มีการเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชน ในรูปแบบประชารัฐ และประชาคมข่าวกรองต่างประเทศอย่างแน่นแฟูน ๔.๓.๒ การพัฒนาและผนึกพลังอานาจแห่งชาติ กองทัพและหน่วยงานความมั่นคง รวมทั้ง ภาครัฐและภาคประชาชน ให้พร้อมป้องกันและรักษาอธิปไตยของประเทศ และเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกมิติ ทุกรูปแบบและทุกระดับ เพื่อให้ทรัพยากรที่สาคัญและจาเป็นทั้งปวงของกองทัพและหน่วยงานความมั่นคง ได้รับการพัฒนา เสริมสร้างศัก ยภาพ ให้มีความพร้อม เพียงพอ และเป็นรูปธรรม ทั้งคน เครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ รวมทั้งระบบบริหารจัดการในการปูองกันประเทศ และการปูองกันภัยคุกคามทุกมิติ ทุกรูปแบบ และทุกระดับ ความรุนแรง ตลอดจนการปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย สามารถระดมทรัพยากรได้อย่างเป็นระบบและมี ขั้นตอนชัดเจน ส่งผลให้สามารถปกปูองอธิปไตยและแก้ไขปัญหาความมั่นคงได้ทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ โดยการจัดทาแผนพัฒนาและผนึกกาลังทรัพยากรรวมถึงขีดความสามารถทั้งปวงของกองทัพ หน่วยงานด้าน ความมั่นคงทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่มีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมชัดเจน มี การประเมินขีด ความสามารถของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง พร้อมพัฒนาคน โครงสร้างกาลังรบและยุทโธปกรณ์ ให้เหมาะสมเพียงพอและเป็นรูปธรรม สามารถรับมือกับภัยคุกคามได้ทุกมิติ ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ยกระดับการฝึกร่วมให้เป็นแบบบูรณาการที่ทันสมัย มีความสมบูรณ์ พร้อมนาไปปฏิบัติได้กับสถานการณ์จริง เสริมสร้างความสัมพันธ์ในการปฏิบัติการร่วมและการปูองกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงกับเพื่อนบ้านและมิตร ประเทศ มิให้เกิดข้อขัดแย้งหรือปัญหาเกี่ยวกับเขตแดนทางบกและอาณาเขตทางทะเล พร้อมทั้งมีกลไกแก้ไข ปัญหาความเห็นต่างหรือความขัดแย้ง ผ่านทางการเจรจาและมาตรการทางการทูต ตลอดไปจนถึงการส่งเสริม การวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปูองกันประเทศ การพลังงานทหาร กิจการอวกาศ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างหลักประกันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การมีอุตสาหกรรมปูองกัน ประเทศแบบอัจฉริยะในอนาคต มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง สามารถแข่งขัน และลดการพึ่งพาหรือนาเข้า จากต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถสนับสนุนนโยบายและยุทธศาสตร์สาคัญของประเทศได้ ๔.๓.๓ การพั ฒ นาระบบเตรี ย มพร้ อ มแห่ ง ชาติ แ ละการบริ ห ารจั ด การภั ย คุ ก คามให้ มี ประสิทธิภาพ เพื่อให้มีความพร้อมเผชิญกับสภาวะไม่ปกติ ภัยคุกคามทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ รวมทั้งภัย พิบัติและภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง โดยพัฒนาปรับปรุงนโยบาย แนวทาง ระบบ กลไกการบริหาร จัดการ ตลอดถึงแผนการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งปวงให้ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และพร้อมรองรับภัย ทุกประเภททั้งในปัจจุบันและอนาคต ผลักดันให้ทุกภาคส่วนมีการฝึกร่วมกันในทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่องจริงจัง จนสามารถปฏิบัติได้จริง เสริมสร้างความร่วมมือกันอย่างบูรณาการของทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอก ประเทศ ให้มีประสิทธิภาพชัดเจนเป็นรูปธรรม ยกระดับการแบ่งปันข้อมูล ทรัพยากร การพัฒนาเทคโนโลยี และการฝึกอบรมให้ทุกส่วนรู้จักและเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ อย่างแท้จริง สามารถสนับสนุนการบริหาร จัดการได้ทุกรูปแบบตั้งแต่ในระดับชาติไปจนถึงระดับท้องถิน่ ตลอดถึงพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการ ที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ๑๕ ๔.๔ การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ รวมถึงองค์กรภาครัฐ และที่มิใช่ภาครัฐ เพื่อสร้างเสริมความสงบ สันติสุข ความมั่นคง และความเจริ ญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติ ภูมิภาค และโลก อย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะรองรับปัญหาร่วมกันได้ ๔.๔.๑ การเสริ ม สร้ า งและรั ก ษาดุ ล ยภาพสภาวะแวดล้ อ มระหว่ า งประเทศ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความสันติสุข มั่นคง และสมดุลสาหรับทุกฝุาย ให้ทุกประเทศพร้ อมเข้ามีส่วนร่วมในการประสานและปฏิบัติ ภารกิจต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมุ่งแบ่งปันและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงร่วมกัน อันจะนาไปสู่ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างราบรื่นและยั่งยืน โดยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในทุกระดับ และทุกด้านกับ นานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอานาจและประเทศที่มี ความส าคัญทางยุทธศาสตร์ ในมิติต่าง ๆ อย่างสมดุล พัฒนาและเสริมสร้างระบบ กลไก มาตรการ ตลอดถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทยให้สามารถดาเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงร่วมกันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ผลักดันการหารือทั้ง แบบทวิภาคีและพหุภาคีในทุกระดับอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ไปจนถึง ความตระหนักรู้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ พร้อมทั้งลดความหวาดระแวงระหว่างกัน โดยอาศัยการแลกเปลี่ยน การเยือนในระดับต่าง ๆ และการจัดเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนทาให้บรรยากาศการดาเนินการ ระหว่างประเทศในทุกเรื่องทุกขั้นตอน ดาเนินไปได้อย่างราบรื่น ต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพอย่างแท้จริง ๔.๔.๒ การเสริมสร้างและธารงไว้ซึ่งสั นติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศ ในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สามารถแก้ไขปัญหาร่วมกันได้อย่างสันติวิธี และร่วมมือกันเพื่อการพัฒนา ให้ เ ป็ น ไปตามเปู า หมายการพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น โดยส่ ง เสริ ม ความเป็ น ปึ ก แผ่ น ของประชาคมอาเซี ย น และความเป็ น แกนกลางของอาเซียนอย่ างจริ งจั งและต่อเนื่อง สร้างความสั มพัน ธ์ที่ดีในระหว่างประชาชน ในทุกมิติและทุกระดับ ทาการแลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันอย่างแน่นแฟูนในทุก ๆ ด้าน ทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเมืองและความมั่นคง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมถึงทรัพยากรธรร มชาติ และสิ่งแวดล้อมกับมิตรประเทศ ซึ่งได้แก่ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ประเทศสาคัญในภูมิภาค และนานา ประเทศทั่วโลก รวมทั้งกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคอื่น ๆ ที่จะช่วยสร้างเสริมเสถียรภาพ ในภูมิภาค ตลอดจนผลักดันและเผยแพร่การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา ให้ เ ป็น ที่ เข้ าใจและมีก ารน าไปประยุ ก ต์ใช้ อย่ างกว้า งขวางและต่อเนื่องในภูมิภ าค อัน จะน าไปสู่ ก ารบรรลุ เปูาหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไป ๔.๔.๓ การร่วมมือทางการพัฒนากับประเทศเพื่อนบ้าน ภูมิภาค โลก รวมถึงองค์กรภาครัฐ และที่มิใช่ภาครัฐ เพื่อให้ความมั่นคงในภาพรวมทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และโลก มีการพัฒนาไปสู่สันติสุข อย่างแท้จริง เป็นรูปธรรม และยั่งยืน โดยผลักดันส่งเสริมให้การดาเนินการและความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นไปตามหลักการปฏิบัติสากล กฎหมาย และความตกลงระหว่างประเทศ พร้อมคานึงถึงความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างรัฐต่อรัฐ เอกชนต่อเอกชน และประชาชนต่อประชาชน สร้างเสริมความร่วมมือกับนานาชาติในการ ปูองกัน และระวั งภัย คุกคามทุกรู ป แบบ พร้ อมพัฒ นาความร่ว มมือ และช่ว ยเหลื อ ซึ่งกันและกันในทุกระดั บ ของอนุภูมิภาคแม่น้าโขง อาเซียน รวมถึงระหว่างมิตรประเทศในกรณีเกิดวิกฤตการณ์สาคัญ อาทิ ความอดอยาก ภัยพิบัติขนาดใหญ่ ฯลฯ ส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีความมั่นคงระหว่างประเทศและการรักษาสันติภาพ ของสหประชาชาติให้นานาประเทศตระหนักและให้การยอมรับถึงความสาคัญ รวมไปถึงการเสริมสร้างพลังบวก หรืออานาจแบบนุ่มนวลของไทย โดยอาศัยการส่ง เสริมและเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีและวัฒนธรรมประเพณีไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ความนิยมวิถีไทย สินค้าไทย ฯลฯ ผ่านความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ทุกระดับและทุกช่องทาง ๑๖ ๔.๕ การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม เพื่อให้กลไกสาคัญต่าง ๆ ทางาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารและพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริงเป็นรูปธรรม มีการใช้หลักธรรมาภิบาล และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ สามารถขจัดปัญหา การทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง เกิดความมั่นใจได้ว่าหน่วยงานรับผิดชอบทั้ งหลักและรองพร้อมรับมือ กับภัยคุกคามทุกรูปแบบทั้งในปัจจุบันและอนาคต ๔.๕.๑ การพัฒนากลไกให้พร้อมสาหรับการติดตาม เฝ้าระวัง แจ้งเตือน ป้องกัน และแก้ไข ปัญหาความมั่นคงแบบองค์รวมอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความพร้อมรองรับปัญหาได้ทุกรูปแบบทุกระดับ และทุกช่วงเวลาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และมีเอกภาพ โดยเสริมสร้างพร้อมทั้งยกระดับกลไก หน่วยงาน เช่น กองทั พไทย กองอานวยการรั กษาความมั่น คงภายในราชอาณาจัก ร ศูน ย์ป ระสานการปฏิบั ติในการรักษา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นต้น และกฎหมายที่มีอยู่เดิมหรือที่พัฒนาขึ้นใหม่ ผ่านทางการบูรณาการ ความร่วมมือและการปฏิบัติกับทุกภาคส่วน มีเปูาหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม พัฒนาการวางแผนและ เตรี ยมความพร้ อมในทุก ๆ ด้าน กาหนดหน่วยงานและตัวผู้ รับผิ ดชอบในทุกระดับ พร้อมฝึกรองรับปัญหา สัมมนาระดมความคิดเห็น ตลอดจนให้การสนับสนุนในทุกด้าน อย่างต่อเนื่องจริงจังตั้งแต่ยามปกติหรือยามสงบ มีการตรวจสอบและประเมินผลอย่างต่อเนื่องตามหลักธรรมาภิบาลที่สอดคล้องกับบริบทและความก้าวหน้าของ ยุค สมั ย พร้ อ มทั้ ง สามารถสร้ า งความเชื่ อ มโยงกั น ทั้ งระบบ รวมไปถึ ง ความเชื่ อ มโยงกั บ ทุ ก ภาคี เ ครื อ ข่ า ย ที่เกี่ยวข้อง และให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ๔.๕.๒ การบริหารจัดการความมั่นคงให้เอื้ออานวยต่อการพัฒนาประเทศในมิติอื่น ๆ เพื่อให้ การพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติสามารถขับเคลื่อนไปได้ตามแผน อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม และไม่ส่ งผลกระทบใด ๆ ต่อ ความมั่น คงของชาติ โดยพั ฒ นาส่ งเสริ มการวางแผนคู่ ขนานแบบบู รณาการ ให้ ส อดคล้ องรองรั บ ยุ ทธศาสตร์ ช าติในทุก ๆ ด้า น รวมไปถึงการพั ฒ นาประเทศที่ เกี่ย วข้องในทุ กมิติ อย่า ง ครบถ้วนสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างผลักดันการบริหารจัดการตลอดถึงการบูรณาการการดาเนินการ ในทุกด้านให้ประสานสอดคล้องและสามารถปฏิบัติร่วมกันได้อย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งครอบคลุมการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติในทุกมิติ อย่างยั่งยืน ๔.๕.๓ การพั ฒ นากลไกและองค์ ก รขั บ เคลื่ อ นยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ด้ า นความมั่ น คง เพื่ อ ให้ การดาเนิ นการของยุ ทธศาสตร์ ชาติด้านความมั่นคงบรรลุ ผลส าเร็จอย่างมีประสิ ทธิภาพ เอกภาพ และเป็น รูป ธรรมตามเปู าหมายที่กาหนด โดยให้ สานักงานสภาความมั่นคงแห่ งชาติพัฒนาและเสริมสร้างหน่ว ยงาน บุ ค ลากร เครื่ อ งมื อ ระบบการบริ ห าร และการจั ด สรรงบประมาณในการขั บ เคลื่ อ นยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ด้ า น ความมั่นคงที่มีอยู่ ให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมทั้งมีความพร้อม มีขีดความสามารถที่ทันสมัย เหมาะสม เพียงพอ และคล่องตัว มีเอกภาพในการบริหารจัดการที่ชัดเจน ตลอดถึง มีบ ทบาทส าคั ญในการรั บ ผิ ด ชอบดู แลปัญ หาความมั่น คงทุก มิติ ในระดับ นโยบาย พร้อ มรองรับ บริ บทที่จ ะ เปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถบรรลุผลสาเร็จได้ตามยุทธศาสตร์ที่กาหนด อย่างแท้จริง ๑๗ ยุทธศาสตร์ชาติดา้ นการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ๑. บทนา ในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ ปัจจัยด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลก กฎ ระเบียบระหว่าง ประเทศที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้า ทักษะความสามารถของแรงงาน โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคม สูงวัย และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคบริการต้อง ปรับตัวให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค รูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเชิง นโยบายการพั ฒ นาของประเทศต่า ง ๆ ในภูมิ ภ าคที่ ทาให้ เกิ ดการลงทุน จากนั กลงทุ นต่ างประเทศมากขึ้ น โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวัน ออกเฉียงใต้ ซึ่งจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต อาทิ เศรษฐกิจโลก โครงสร้างประชากร เทคโนโลยี จะทาให้ประเทศไทยเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการเสริมสร้าง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป ในการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความสามารถของประเทศในระยะต่อไปโดยยึดเปูาหมายในการยกระดับ ประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง โดยจาเป็นต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งระบบเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและส่งผลให้เกิดการยกระดับ รายได้ และในขณะเดียวกันการพัฒนาดังกล่าวจะต้องส่งผลให้ความเหลื่อมล้าลดลง ดังนั้น การพัฒนาประเทศ ในระยะต่ อ ไป จ าเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ป ระเทศไทยจะต้ อ งสร้ า งเครื่อ งยนต์ ท างเศรษฐกิ จใหม่ ที่ จ ะช่ ว ยยกระดั บ การพัฒนาประเทศไปสู่เปูาหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการพัฒนาในช่วง ๒๐ ปีข้างหน้า จะมุ่งเน้นการวิจัย พัฒนานวัตกรรม และนาเทคโนโลยีใหม่มาปรับใช้และต่อยอดภาคการผลิตและบริการในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และสร้าง มู ล ค่าเพิ่ม รวมทั้งการปรั บ โครงสร้ างภาคการผลิ ตและบริการในปัจจุบัน ไปสู่ ภ าคการผลิ ตและบริการใหม่ ที่มีศักยภาพ การพัฒ นารู ป แบบการค้าให้ ส อดรั บ กับเทคโนโลยีที่เปลี่ ยนแปลงไป การส่ งเสริมให้ เกิดสั งคม ผู้ประกอบการ การพัฒนาทักษะและความสามารถของแรงงาน ดังนั้น เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูงได้อย่างประสบความสาเร็จใน ๒๐ ปี ประเทศไทยจึงจ าเป็น ต้องมีการขยายตัว และการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง รวมทั้งมีขีดความสามารถ ทางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในเวทีสากล ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสาหรับประเทศ ไทยจึ งได้มุ่งพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิด ๓ ประการ ได้แก่ (๑) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลั บ ไปที่ร ากเหง้าทาง เศรษฐกิ จ อั ต ลั ก ษณ์ วั ฒ นธรรม ประเพณี วิ ถี ชี วิ ต และจุ ด เด่ น ทางทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ ห ลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นามาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและ นวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (๒) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้าง พื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้ เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และบริการอนาคต และ (๓) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนา คนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับโมเดลธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับ อนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ จะทาให้ ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางในประเทศได้ในคราวเดียวกัน ๑๘ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันจึงกาหนดแนวทางการพัฒนาที่ให้ความสาคัญ กับการพัฒนากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการและการท่องเที่ยว โดยให้ประเทศสามารถยกระดับ การผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น ขณะที่ มีอุ ตสาหกรรมและบริ การแห่ งอนาคตที่ จะเป็ นกลไกขั บเคลื่ อนประเทศไทยไปสู่ ประเทศพั ฒนาแล้ ว ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่ งอนาคต รวมทั้งรักษาการเป็นจุ ดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวระดับโลก ในขณะเดียวกันจ าเป็ นต้ องพัฒนาปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพในด้าน โครงข่ายคมนาคม พื้นที่และเมือง รวมถึงเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่ออานวยความสะดวก และลดต้นทุนในการเคลื่อนย้ ายสิ นค้า บริการ เงินทุน บุคลากร และเชื่อมโยงประเทศไทยกับประชาคมโลก และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต ๒. เป้าหมาย ๒.๑ ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ๒.๒ ประเทศไทยมีขดี ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ๓. ตัวชี้วัด ๓.๑ รายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และการกระจายรายได้ ๓.๒ ผลิตภาพการผลิตของประเทศ ทั้งในปัจจัยการผลิตและแรงงาน ๓.๓ การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา ๓.๔ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ๔. ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ๔.๑ การเกษตรสร้ า งมู ลค่ า ประเทศไทยเป็ นหนึ่งในผู้ เล่ น ส าคัญด้ านการผลิ ตและการค้ าสิ นค้ า เกษตรในเวทีโ ลกด้ว ยพื้น ฐานทางพื ช เกษตรเขตร้ อน และมีข้อได้เปรี ยบด้านความหลากหลายทางชีว ภาพ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดโครงสร้างธุรกิจการเกษตรด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นเกษตรคุณภาพสูงและขับเคลื่อน การเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ให้ความสาคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณและมูลค่า และความหลากหลายของสินค้าเกษตร เพื่อรักษาฐานรายได้เดิมและสร้างฐานอนาคตใหม่ที่สร้างรายได้สูง ทั้งเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป และเกษตรอัจฉริ ยะ เพื่อให้เกษตรกร มีรายได้สูงขึ้น ๔.๑.๑ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส่งเสริมการนาอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย มาเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตร รวมทั้งสินค้าที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยส่งเสริมการนาอัตลักษณ์ พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมาใช้ในการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เป็นสินค้า เกษตรชนิดใหม่ ให้รองรับความต้องการของตลาดยุคใหม่ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของท้องถิ่น และสร้างจุดเด่น ความแตกต่ า งของสิ น ค้ า เกษตรไทยในตลาดโลกเพื่ อ ตอบโจทย์ ค วามต้ อ งการของผู้ บ ริ โ ภคที่ แ ตกต่ า งกั น ในประเทศต่าง ๆ ได้ พร้อมทั้งส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีในการพัฒนากระบวนการผลิต และบรรจุ ภั ณ ฑ์ เพื่ อ ให้ มี สิ น ค้ า อั ต ลั ก ษณ์ พื้ น ถิ่ น ออกสู่ ต ลาดสม่ าเสมอ รวมถึ ง สิ น ค้ า เกษตรนอกฤดู ก าล การพัฒ นาคุณภาพผลิ ตภัณฑ์เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้ ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งระดับ ในประเทศและ ๑๙ ต่างประเทศ การส่ งเสริมการขึ้นทะเบี ยนรั บ รองสิ่ งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การส่ งเสริมการสร้างแบรนด์สิ นค้า ของเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และการสร้างความต้องการของสินค้าด้วยการสร้างเรื่องราวของสินค้าให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับในคุณภาพทั้งในประเทศและต่ างประเทศ รวมทั้งการผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ไทย และสินค้าที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และพืชผลเกษตรและผลไม้เขตร้อนอื่น ๆ สู่ตลาดโลก ๔.๑.๒ เกษตรปลอดภัย สร้างความตระหนักแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคทั่วโลกในเรื่องความสาคัญ ของมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร จูงใจและวางกรอบให้เกษตรกรและผู้ผลิตทาการผลิต สินค้าที่สอดคล้องกับมาตรฐาน และเข้าสู่ระบบมาตรฐานการจัดการคุณภาพทางการเกษตรที่ได้รับการรับรอง จากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ พร้อมทั้งให้ความรู้เกษตรกรด้านกระบวนการผลิตตามมาตรฐานสากลเพื่อมุ่ งสู่ การเลิกใช้สารเคมีในภาคเกษตร การเพิ่มพื้นที่และปริมาณการผลิตเกษตรอินทรีย์ในระยะต่อไป โดยส่งเสริม การถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่เกษตรกรในการทาเกษตรปลอดสาร และเปลี่ยนผ่ านไปสู่ การทาเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนสนับสนุนกลไกทางการตลาดแก่เกษตรกรที่ต้องการทาการเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาระบบการตรวจ รับรองคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย รวมถึงระบบตรวจสอบย้อนกลับ สาหรับการตรวจสอบ ที่มาของสินค้าในทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ๔.๑.๓ เกษตรชีวภาพ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต และนาไปสู่การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากฐานเกษตรกรรม และฐานทรัพยากรชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของประเทศทั้งด้านอาหารและสุขภาพ โดยเฉพาะพืชสมุนไพร ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยการ ส่งเสริมการทาเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจตามความเหมาะสม ของสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อการผลิตและแปรรูปสาหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ การสร้างเสริมสุ ขภาพ และพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยคานึงถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานตามความต้องการของตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีสะอาด เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี เพื่อการเกษตรและการแปรรูปสินค้าจากความหลากหลาย ทางชีวภาพ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยสร้างความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ที่มีองค์ความรู้ ภูมิปัญญาดั้งเดิม พัฒนาต่อยอดและแลกเปลี่ ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ มีการนาวัตถุดิบ เหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมและพลังงานที่เกี่ยวเนื่องกับชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๔.๑.๔ เกษตรแปรรู ป ปรั บ ใช้ เ ทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมที่ ทั น สมั ย อยู่ ต ลอดเวลา รวมทั้ ง นวัตกรรมจากภูมิปัญญาในการแปรรูป สร้างความแตกต่าง และเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตร รวมทั้ง ส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรคุณภาพสูงของไทยสู่ตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมการแปรรูป สินค้าเกษตรขั้นสูงที่มีคุณค่าเฉพาะ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีความหลากหลาย ด้วยการต่อยอด ผลงานจากสถาบันวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ การส่งเสริมให้นาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาพัฒนาต่อยอด สินค้าเกษตรขั้นต้นให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูง การส่งเสริมการใช้วัตถุดิ บและผลิตผลทางการเกษตรเพื่อ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งการสนับสนุนการนาเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการสร้างสรรค์ บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ เพื่อปูองกันการปลอมปน การควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย การติดตามผลิตภัณฑ์ ในระหว่างการขนส่ง รวมถึงยืดอายุของอาหารและสินค้ าเกษตรในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาด ให้แก่สินค้า พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างแบรนด์ และขยายช่องทางการตลาดด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งให้ความสาคัญในการสร้างเครื่องหมายการค้าและปกปูองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ๒๐ ๔.๑.๕ เกษตรอัจฉริ ยะ นาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒ นาเป็นฟาร์ม อัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรในเชิงมูลค่าและปริมาณต่อพื้นที่สูงสุด และเตรียมพร้อมรองรับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการคานึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างสมดุลเกษตรอาหารและเกษตรพลังงาน โดยสร้างและนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และวิทยาการ สมัยใหม่มาใช้ในการเกษตร ใช้เทคโนโลยีเกษตรด้านความแม่นยา เทคโนโลยีการผลิตพืชในโรงเรือนเพาะปลูก ด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติและเซ็นเซอร์อัจฉริยะ ติดตามการเปลี่ยนแปลง ทั้งความชื้น แสง และอุณหภูมิภายใน ฟาร์ม เพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการ คุณภาพคงที่ และสามารถวางแผนระบบการตลาดดีขึ้น รวมทั้ง เทคโนโลยีการช่วยบันทึกข้อมูลสาคัญและติดตามการบริหารจัดการภายในโรงเรือนและฟาร์ม การปรับเปลี่ยน การทาเกษตรกรรมให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้ งส่งเสริมการถ่ายทอด ความรู้แก่เกษตรกรให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร การจัดการภาคเกษตร ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบการผลิตทางการเกษตรให้ปลอดวัสดุเหลือใช้ ตลอดจนพัฒนาระบบประกันภัย ทางการเกษตรที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนและจูงใจให้เกษตรกรใช้เครื่องมือดังกล่าวบริหารจัดการความเสี่ยงในการทา เกษตรกรรม รวมถึง การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยีการเกษตรใหม่ ๆ และการใช้วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ พันธุวิศวกรรม ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่สามารถ นามาใช้ประโยชน์ทั้งในเรื่องการปรับสภาพดิน การตรวจจับสารเคมีตกค้าง การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคสัตว์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แ ละคุณค่าทางโภชนาการ ลดการใช้ สารเคมีในการเกษตร รวมทั้งยืดอายุการเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาเพื่อยืดระยะเวลาการจาหน่ายผลผลิตและ การส่งออก พร้อมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตรสาหรับระบบฟาร์ม อัจฉริยะในประเทศ โดยยกระดับเทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรกลการเกษตรให้สูงขึ้นด้วยการวิจัยและพัฒนา การสร้ างและกาหนดคุณภาพมาตรฐานของสิ นค้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตร รวมทั้งการส่ งเสริม การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม และเชื่อมโยง ฐานข้อมูลจากการประยุกต์ใช้ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างยั่งยืนให้กับ ภาคเกษตร การสร้างฐานข้อมูลการเพาะปลูกระดับประเทศ การจัดการด้านชลประทาน ทะเล และชายฝั่ง รวมทั้งการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ๔.๒ อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต อุตสาหกรรมและบริการไทยต้องพร้อมรับมือและสร้าง โอกาสจากความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ ที่เป็นผลของการหล่อหลอมเทคโนโลยี ดิจิทัล เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีทางกายภาพเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ สังคมอย่ างรวดเร็ ว เป็ น วงกว้างและลึ กซึ้งทั้งระบบอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ประเทศไทยจึงจาเป็นต้อง เปลี่ ย นแปลงพื้ น ฐานโครงสร้ า งอุ ต สาหกรรมและบริ ก าร โดยสร้ า งอุ ต สาหกรรมและบริ ก ารแห่ ง อนาคต ที่ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพิ่มบุคลากรที่มีทักษะ และความรู้ตามความต้องการของตลาด สร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการที่เหมาะสม และสนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอย่างยั่งยืน ๔.๒.๑ อุตสาหกรรมชีวภาพ สร้างประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อต่อยอดจาก ภาคเกษตรไทยและมุ่งสู่อุตสาหกรรมบนฐานชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงพลังงานชีวมวล โดยการเพิ่ม สัดส่ วนอุตสาหกรรมชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสู ง ได้แก่ ชีวเคมีภัณฑ์ วัสดุชีวภาพ อาหารเสริม เวชส าอาง วัคซีน ชีวเภสัชภัณฑ์ และสารสกัดจากสมุนไพร การเพิ่มการผลิตและส่งเสริมการใช้พลาสติกชีวภาพ แปลงของเหลือทิ้ง จากเกษตรและอุตสาหกรรม ให้ เป็ นสารเคมีและพลั งงานชีวภาพที่มีมูลค่า โดยใช้ประโยชน์จากวัตถุชีวมวล ในการผลิตพลังงานไฟฟูาอย่างคุ้มค่า เพื่อลดปัญหาโลกร้อน และสร้างรายได้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น การเน้น การวิจัยและพัฒนา และนาผลงานวิจัยมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ความสาคัญกับระบบนวัตกรรม แบบเปิด เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพได้เร็วขึ้น ๒๑ ๔.๒.๒ อุ ต สาหกรรมและบริ ก ารการแพทย์ ค รบวงจร อาศั ย ความเชี่ ย วชาญด้ า นบริ ก าร การแพทย์ของไทยเพื่อสร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในประเทศเพื่อรองรับความต้องการใช้บริการการแพทย์ ที่จะเพิ่มมากขึ้นทั้งจากสังคมผู้สูงอายุ และความต้องการการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนาไปสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ ครอบคลุ มการผลิ ตเครื่ องมือและอุป กรณ์การแพทย์ การผลิตอวัยวะเทียม การผลิ ตเวชภัณฑ์แ ละครุภัณฑ์ การแพทย์ การผลิตเภสัชภัณฑ์ซึ่งรวมถึงชีวเภสัชภัณฑ์ และการให้บริการการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย การนา เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในบริการการแพทย์ เพื่อลดต้นทุ นการรักษาพยาบาล ยกระดับการให้บริการการแพทย์ อย่างมีคุณภาพในระดับ สากล และสร้างความมั่นคงให้กับระบบสาธารณสุขของไทย พร้อมทั้งการเชื่อมโยง อุตสาหกรรมทางการแพทย์และบริการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและดูแลสุขภาพและ รักษาผู้ปุวยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ๔.๒.๓ อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ในการเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและบริการ ครอบคลุม ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของ ภาคเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ สร้างแพลตฟอร์มสาหรับเศรษฐกิจในอนาคต และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยการสร้างอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทย และส่งเสริมการลงทุนระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนไทย และบริษัทชั้นนาของโลกในอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่อให้ ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการวิจัยและพัฒนา การสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ประชาชน และ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ สาหรับภาคการผลิตและบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างนวัตกรรม และดาเนินธุรกิจใหม่ ๆ การผลักดันให้ผู้ประกอบการได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม ในระดับสากล และสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อขยายธุรกิจไทยในอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะให้ครอบคลุมตลอดทั้งห่ วงโซ่มูลค่า ระดับโลก การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของผู้ประกอบการที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ในเชิง พาณิชย์ได้ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และสนับสนุนการใช้ข้อมูล เปิดที่ไม่กระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การวิ จัยและพัฒนา และการต่อยอดทางธุรกิจ พร้อมทั้งการสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะความรู้เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ และสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญจากทั่ วโลกให้มาทางานในไทย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วของเทคโนโลยี ๔.๒.๔ อุต สาหกรรมและบริ การขนส่ง และโลจิส ติก ส์ ใช้ ต าแหน่ง ที่ตั้ ง ทางภู มิศ าสตร์ข อง ประเทศไทยในการส่งเสริมการคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์ ให้เป็นฐานการผลิตของภูมิภาคเพื่อการส่งออก สู่ตลาดโลก และศูน ย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภ าค ลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ และเพิ่มมูลค่าจากการเป็น ศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ ส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้อง โดยการส่งเสริมการสร้างศูนย์กลางด้าน โลจิสติกส์ระดับภูมิภาคและเชื่อมต่อกับเครือข่ายโลจิสติกส์ของโลก การผลักดันการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรม ยานยนต์ทั้งระบบไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟูาอัจฉริยะ ส่งเสริมเทคโนโลยีและพัฒนาอุตสาหกรรมระบบ กักเก็บพลั งงาน รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่เน้ นการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒน า อุตสาหกรรมการบินและอวกาศเพื่อรองรับ การเติบโตของอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องโดยยกระดับ บริการซ่อมบารุงอากาศยาน และการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ซึ่งจะต่อยอดไปยังชิ้นส่วนยานอวกาศในที่สุด ๒๒ และสนั บสนุ นการลงทุน ด้ านบริก ารดู แ ลรั ก ษาและซ่ อมแซมอากาศยานเพื่อ ขยายตลาดบริ การดูแ ลรัก ษา และซ่อมแซมอากาศยาน ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีสาหรับการบินและอวกาศ การส่งเสริมและพัฒนาการขนส่ง รูปแบบใหม่ที่สอดคล้ องกับบริบทของไทยในอนาคต รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวเนื่อง พร้อมทั้ง การพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญตรงกับความต้องการของอุต สาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม การบินและอวกาศ และบริการโลจิสติกส์ การอานวยความสะดวกสาหรับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญต่างชาติให้เข้ามา ทางานในไทย และจัดตั้งศูนย์ให้คาปรึกษา ตลอดจนการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยานยนต์ การบินและอวกาศ และโลจิสติกส์ ตลอดจนหน่ว ยงานกากับดูแล ให้ ได้รับมาตรฐานสากลและสร้างความร่วมมือในการรับรอง มาตรฐานอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ๔.๒.๕ อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ พัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ ที่ไทยมีศักยภาพ เพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ และพัฒนาต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมส่งออกต่อไป โดยการ ต่อยอดพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงด้านต่าง ๆ จากอุตสาหกรรมของประเทศที่ไทยมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ ในบริ บ ทด้านความมั่น คงและเชิงพาณิช ย์ ตลอดจนพัฒ นาบุ คลากรทางด้า นวิจั ยและพัฒ นา การออกแบบ และการผลิตเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการจั ดการภั ยพิบั ติ ซึ่งรวมถึงระบบการเตื อนภัย การเตรียมตัว รับ ภัยพิบั ติ และการให้ ความช่ว ยเหลื อ ระหว่า งและหลั ง เกิ ด ภัย พิ บั ติ พร้ อ มทั้ง การสร้า งอุต สาหกรรมที่ส่ ง เสริ ม ความมั่ น คงปลอดภัย ทางไซเบอร์ เพื่อลดผลกระทบจากภัยคุกคามไซเบอร์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม และปกปูองอธิปไตยทางไซเบอร์ เพื่อรักษา ผลประโยชน์ของชาติจากการทาธุรกิจดิจิทัล ส่งเสริมการจัดหาพลังงานให้เพียงพอ เพื่อเป็นฐานความมั่นคง ด้านพลั งงานของประเทศ พร้ อมไปกับ การเพิ่มสั ดส่ ว นการใช้ พลั งงานทดแทนและพลั งงานทางเลื อก ให้ มี ความสมดุล และเกิดความมั่น คง สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านพลั งงาน ตลอดจนพัฒ นาอุตสาหกรรมด้าน พลั ง งานที่ มี มู ล ค่ า เพิ่ ม อุ ต สาหกรรมเทคโนโลยี พ ลั ง งานใหม่ และอุ ต สาหกรรมและบริ ก ารที่ เ กี่ ย วเนื่ อ ง การพัฒนาอุตสาหกรรมปูองกันประเทศ รวมทั้งการผลิตยุทโธปกรณ์และยุทธภัณฑ์ทางการทหาร ไปพร้อมกับ อุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีสองทาง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน ๔.๓ สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว โดยรักษาการเป็นจุดหมายปลายทางที่สาคัญของ การท่องเที่ยวระดับโลกที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับและเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง มุ่งพัฒนา ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวให้มีมูลค่าสูงเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยอัตลักษณ์และวัฒนธรรมไทย และใช้ประโยชน์จากข้อมูล และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางเศรษฐกิจและความหลากหลายของการท่องเที่ยวให้สอดรับกับ ทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่ โดยการสร้างและใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งเทคโนโลยีและ นวัตกรรมในการส่งเสริมการตลาด การดูแลความปลอดภัยและอานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม รวมถึงคนพิการและผู้สูงอายุ การใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวให้เอื้อต่อผลิตภัณฑ์ชุมชนและเศรษฐกิจต่อเนื่อง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยคานึงถึงศักยภาพของแต่ละ พื้นที่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวพานักระยะยาว ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบนิเวศ และ ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเติบโตของการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เพื่อกระจายโอกาสในการสร้างรายได้ไปสู่ชุมชนและ เมืองอย่างทั่วถึงและยั่งยืน และพัฒนาการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไทยกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เพื่อการเป็น แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างประทับใจตลอดการท่องเที่ยวจนเกิดการท่องเที่ยวซ้าและแนะนาต่อ ๒๓