คู่มือการเรียนรู้ พฤกษศาสตร์เบื้องต้น PDF
Document Details
Uploaded by UnmatchedArtNouveau
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Tags
Summary
This document is a guide to basic botany, covering various aspects of plant structure, growth, and function. It includes information on different types of plants, their parts, and basic classification.
Full Transcript
คู่มือการเรียนรู้ “พฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ” จัดทำโดย ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สนับสนุนโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระท...
คู่มือการเรียนรู้ “พฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ” จัดทำโดย ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สนับสนุนโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น คู่มือการเรียนรู้ “พฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ” คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น คู่มือการเรียนรู้ “พฤกษศาสตร์เบื้องต้น” พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 500 เล่ม ISBN : 978-974-8144-88-7 จัดทำและเผยแพร่โดย ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ (สสวท.) สงวนลิขสิทธิ์ ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ติดต่อ ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เลขที่ 133 ถนนเทศบาล 3 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 โทรศัพท์ 0-7322-7151-160 ต่อ 1028 โทรสาร 0-7322-7128 E-mail [email protected] Website www.yru.ac.th พิมพ์ที่ บริษัท เอสพริ้นท์ (2004) จำกัด โทร. 0-7325-5555 ก คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น คำนำ พฤกษศาสตร์ (Botany) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาชีววิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชในด้านต่างๆ ได้แก่ ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืช การแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโต รูปร่างลักษณะโครงสร้างทั้ง ภายในและภายนอก ตลอดจนความสัมพันธ์ของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ดและต้นอ่อน กระบวนการ ต่ า งๆในการดำรงชีวิตของพืช เช่น การหายใจ การคายน้ำ การสังเคราะห์ด้วยแสง การลำเลียง พันธุกรรม วิวัฒนาการ และการจัดหมวดหมู่ ปัจจุบันการศึกษาในสาขาวิชาพฤกษศาสตร์มีการจัดการ เรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานจนถึงการศึกษาใน ระดับโมเลกุลของพืช ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์มีความเกี่ยวข้องอยู่กับพืชตลอดเวลาทั้งเป็นแหล่งอาหารของ สิ่งมีชีวิต ยารักษาโรค ทำที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงเครื่องนุ่งห่มอีกด้วย ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ เป็นหน่วย งานหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาทางด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ในพื้นที่หุบเขาลำพญา ร่วมอนุรักษ์ และพัฒนาการนำทรัพยากรที่พบในท้องถิ่นไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ศูนย์วิจัยความหลาก หลายทางชีวภาพฯ ยังมีภารกิจในการส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนให้แก่ครูและนักเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดใกล้เคียง ดังนั้นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านพฤกษศาสตร์จึงเป็น โครงการหนึ่งที่มีความสำคัญซึ่งมุ่งเน้นให้ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้รับความรู้และมี ทักษะในการฝึกปฏิบัติการเบื้องต้นพืช เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ในการเรียนการสอนโดยใช้ตัวอย่างพืชที่มี ใน ท้องถิ่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่ระดับการเรียนรู้ของนักเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ขอขอบคุณ สถาบั น ส่ ง เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่ ได้ ให้คำปรึกษาด้านวิชาการและ สนับสนุนงบประมาณในการจัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อประโยชน์ด้านการจัดการศึกษาต่อไป คณะผู้จัดทำ คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ข คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข สารบัญภาพ ค-ง สารบัญตาราง จ บทที่ 1 บทนำ 1 บทที่ 2 โครงสร้างภายนอกของพืช 8 บทที่ 3 การเก็บตัวอย่างพรรณไม้ 41 บทที่ 4 การจำแนกพรรณไม้เบื้องต้น 50 เอกสารอ้างอิง 53 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ค สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1. ป่าดิบชื้น 2 2. ป่าดิบแล้ง 2 3. ป่าดิบเขา 2 4. ป่าสน 3 5. ป่าพรุ หรือป่าบึงน้ำจืด 3 6. ป่าชายเลน หรือ ป่าบึงน้ำเค็ม 3 7. ป่าชายหาด 4 8. ป่าเมฆ 4 9. ป่าเบญจพรรณ 4 10. ป่าเต็งรัง 4 11. ป่าหญ้า 5 12. ส่วนประกอบของพืช 8 13. ลักษณะวิสัยของพืช 9 14. ส่วนประกอบของพืช 10 15. ตำแหน่งและชนิดของราก 11 16. ลำต้น 13 17. ลักษณะลำต้นที่เปลี่ยนรูปร่างไป : ลำต้นบนดิน 14 18. ลักษณะลำต้นที่เปลี่ยนรูปร่างไป : ลำต้นใต้ดิน 15 19. ส่วนประกอบของใบ 17 20. ชนิดของใบ 19 21. การเรียงใบบนลำต้น 20 22. การเรียงตัวของเส้นใบ 21 23. รูปร่างใบ 22-24 24. ลักษณะปลายใบ 25 25. ลักษณะโคนใบ 26 26. ลักษณะขอบใบ 27 27. ส่วนประกอบของดอก 29 28. ตำแหน่งของรังไข่ 30 ง คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 29. ชนิดของช่อดอก 33 30. ส่วนประกอบของผล 34 31. ประเภทของผล 35 32. ส่วนประกอบของเมล็ด 39 33. พัฒนาการของรังไข่หลังการปฏิสนธิ 39 34. กระดาษบันทึกข้อมูล 42 35. การตัดกิ่งต้องตัดให้ก้านใบติดกับส่วนของลำต้น 45 36. เก็บตัวอย่างพืช 45 37. การจัดเรียงตัวอย่างพรรณไม้ลงในกระดาษและแผงอัด 47 38. แผงอัดพรรณไม้ที่มัดเรียบร้อยแล้ว 47 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น จ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1. ลักษณะรากที่ดัดแปลงไป 12 2. ผลสดประเภทต่างๆ 36 3. ผลแห้งแก่ ไม่แตกประเภทต่างๆ 37 4. ผลแห้งแก่แตกประเภทต่างๆ 38 5. ลักษณะของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ 40 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น บทที่ 1 ป่าไม้ถือเป็นแหล่งรวมพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่และสำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งของ โลกโดยเฉพาะพืช ซึ่งพืชเป็นจำนวนมากที่อยู่ ในป่าซึ่งมนุษย์ยังไม่รู้จัก สิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะมีค่าอย่าง มหาศาลต่อชีวิตมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งวัตถุดิบของยารักษาโรคและสารเคมีตามธรรมชาติที่สำคัญ เป็น แหล่งพันธุกรรมเพื่อใช้ ในการปรับปรุงพันธุ์ และยังอำนวยประโยชน์นานัปการทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อมวลมนุษย์โดยส่วนรวม เช่น ช่วยลดภาวะโลกร้อน พืชบางชนิดเป็นดัชนีชี้วัดระบบนิเวศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายของชนิดป่าเขตร้อนมากที่สุดประเทศหนึ่ง สังคมป่าเขตร้อนของเราประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าผลัดใบชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะป่า ในภาคใต้ เป็นสะพานเชื่อมระหว่างป่าเขตร้อนชื้นอย่างแท้จริงของมาเลเซียและป่าดิบแล้ง ซึ่งปรากฏ ส่วนใหญ่ ในประเทศไทย ลาว พม่า และเขมร จึงทำให้ประเทศไทยมีพรรณไม้ที่มีค่าของสังคมป่าทั้งสอง ประเทศจำนวนมาก เช่น พรรณไม้ ในวงศ์ ไม้ยางมีมากกว่า 50 ชนิด ซึ่งพรรณไม้เหล่านี้ปรากฏเฉพาะใน ภูมิภาคแถบนี้เท่านั้น สภาพทางนิเวศวิทยาของป่าแต่ละชนิดแตกต่างกันมาก จึงทำให้ส่วนประกอบของสังคมป่า แต่ละชนิดแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนประกอบของพรรณไม้ชั้นล่างซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อ ชีวิตของสัตว์ป่า โดยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ยังมีความน่าสนใจในแง่ของการเป็นทรัพยากรด้านการท่อง เที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปชื่นชมศึกษาตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่อุทยานแห่ง ชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้จัดทำไว้ด้วย ชนิดป่าของเมืองไทย สภาพภูมิอากาศที่เป็นแบบเขตร้อนและกึ่งร้อนมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน มีสภาพภูมิประเทศตั้งแต่หาดทรายชายทะเลจนถึงยอดเขาสูงถึง 2,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บางพื้นที่มีความแห้งแล้งและมี ไฟป่าเป็นประจำ บางพื้นที่มีความชุ่มชื้นน้ำ ท่วมขังตลอดปี ดินมีความแปรผันไปมากมายหลายชนิด คุณลักษณะและความอุดมสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน ไปจึงทำให้ประเทศไทยมีป่าหลายชนิดเมื่อใช้เกณฑ์การผลัดใบของพรรณพืช สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest) 2. ป่าผลัดใบ (Decideous forest) คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ป่าไม่ผลัดใบ ป่าที่ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ ให้ความเขียวชอุ่มตลอดปีมีความชุ่มชื้นสูง พืชแต่ละกลุ่มผลัดใบไม่พร้อมกัน ป่ากลุ่มนี้มีประมาณร้อยละ 30 ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย จำแนก เป็นชนิดย่อย ๆ ได้ดังนี้ 1. ป่าดิบชื้น พบในภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ข องประเทศ ที่ มี ค วามสู ง ตั้ ง แต่ ร ะดั บ เดียวกันกับน้ำทะเล จนถึงระดับ 100 เมตรจากระดับ น้ำทะเล มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,500 มิลลิเมตร ต่อปี พรรณไม้ที่ขึ้นมีมากชนิด เช่น พวกไม้ยางต่าง ๆ พืชชั้นล่างจะเต็มไปด้วยพวกปาล์ม หวาย ไผ่ต่าง ๆ และเถาวัลย์นานาชนิด ภาพที่ 1 ป่าดิบชื้น 2. ป่ า ดิ บ แล้ ง พบทั่ ว ไปตามภาคต่ า งๆ ของประเทศ บริ เ วณที่ ร าบและหุ บ เขาที่ มี ค วามสู ง 100-500 เมตรจากระดั บ น้ ำ ทะเล มี ป ริ ม าณน้ ำ ฝน ระหว่าง 1,000-2,000 มิลลิเมตรต่อปี มีพรรณไม้หลัก มากชนิ ด ด้ ว ยกั น เช่ น กระบาก ยางนา ยางแดง ตะเคียนหิน เต็งตานี พะยอม สมพง มะค่า ยางน่อง กระบก พลวง เป็นต้น พืชชั้นล่างก็มีพวกปาล์มพวก หวาย พวกขิง ข่า แต่ปริมาณไม่หนาแน่นนัก ภาพที่ 2 ป่าดิบแล้ง 3. ป่าดิบเขา คือป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำ ทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป มีกระจัดกระจายอยู่ ตามภูเขาสูงในภาคต่าง ๆ ของประเทศ มีปริมาณน้ำ ฝนระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิเ มตรต่อปี พรรณไม้ หลักค่อนข้างจำกัด เช่น ก่อชนิดต่างๆ ทะโล้ ยมหอม กำลั ง เสื อ โคร่ ง นางพญาเสื อ โคร่ ง สนสามพั น ปี พญาไม้ พญามะขามป้อมดง สนแผง กุหลาบป่า ฯลฯ ผสมปนกันไป ตามต้นไม้มีพวกไลเคนส์และมอส หรือ ตะไคร่น้ำเกาะอยู่ พืชชั้นล่างมีพวกไม้ดอกล้มลุก เฟิร์น และไผ่ชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไป ภาพที่ 3 ป่าดิบเขา คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 4. ป่ า สน มั ก กระจายเป็ น หย่ อ มๆ ทาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200- 1,600 เมตร มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 มิลลิเมตร พรรณไม้ที่ขึ้นมีไม่มากชนิด มีสนสองใบและ สนสามใบเป็นหลัก นอกนั้นก็มีพวกไม้เหียง ไม้พลวง ก่อ กำยาน ไม้เหมือด พืชชั้นล่างมักเป็นพวกหญ้าต่างๆ และพืชกินแมลงบางชนิด เช่น น้ำเต้าลม หยาดน้ำค้าง ภาพที่ 4 ป่าสน 5. ป่าพรุ หรือป่าบึงน้ำจืด ป่าตามที่ลุ่ม และมีน้ำขังอยู่เสมอ พบกระจายทั่วไปและพบมากทาง ภาคใต้ อยู่ระดับเดียวกับระดับน้ำทะเลเป็นส่วนมาก เป็นป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ สูง เท่าที่มีการสำรวจพบว่ามีพรรณไม้ ไม่น้อยกว่า 470 ชนิ ด และในจำนวนนี้ เ ป็ น ชนิ ด ที่ พ บครั้ ง แรกของ ประเทศถึง 50 ชนิด ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 2,300- 2,600 มิ ล ลิ เ มตรต่ อ ปี พรรณไม้ ห ลั ก มี พ วกมะฮั ง ภาพที่ 5 ป่าพรุ หรือป่าบึงน้ำจืด สะเตียว ยากา ตารา อ้ายบ่าว หว้าน้ำ หว้าหิน ช้างไห้ ตีนเป็ดแดง จิกนม เป็นต้น พืชชั้นล่าง เป็นพวกปาล์ม เช่น หลุมพี ค้อ หวายน้ำ ขวน สาคู รัศมีเงิน กระจูด เตยต่าง ๆ เป็นต้น 6. ป่าชายเลน หรือ ป่าบึงน้ำเค็ม เป็นป่า น้ำทะเลท่วมถึงพบตามชายฝั่งที่เป็นแหล่งสะสมดินเลน ทั่วไป ผิวหน้าดินเป็นที่สะสมของมวลชีวภาพมีพรรณ พื ช ซึ่ ง เป็ น เอกลั ก ษณ์ น้ อ ยชนิ ด และขึ้ น เป็ น กลุ่ ม ก้ อ น สำรวจพบประมาณ 70 ชนิด พรรณไม้หลักมี โกงกาง ใบเล็กและโกงกางใบใหญ่ นอกนั้นเป็นพวกแสม ไม้ถั่ว ประสัก โปรง ลำพูลำแพน ถอบแถบน้ำ ปรงทะเล และจาก เป็นต้น ภาพที่ 6 ป่าชายเลน หรือ ป่าบึงน้ำเค็ม คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 7. ป่ า ชายหาด เป็ น ป่ า ที่ อ ยู่ ต ามชายฝั่ ง ทะเลที่มีดินเป็นกรวด ทราย และโขดหิน พรรณไม้ น้อยชนิด และผิดแผกไปจากป่าอื่นอย่างเด่นชัด ถ้าเป็น แหล่ ง ดิ น ทรายพบพวกสนและพรรณไม้ เ ลื้ อ ยอื่ น ๆ บางชนิ ด เช่ นผักบุ้งทะเล ฝอยลม ถ้าเป็นกรวดหิน พรรณไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกระทิง ไม้เมา หูกวาง และเกด เป็นต้น ภาพที่ 7 ป่าชายหาด 8. ป่าเมฆ เป็นป่าที่มีความชื้นสูงมาก มี เมฆปกคลุมตลอดปี พบที่นครศรีธรรมราช ป่าผลัดใบ เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วย พรรณพื ช ที่ ผ ลั ด ใบหรื อ ทิ้ ง ใบพร้ อ มๆกั น เป็ น องค์ ประกอบสำคัญ การผลัดเปลี่ยนใบใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในฤดู แ ล้ ง สั ง คมพื ช กลุ่ ม นี้ มี ประมาณร้ อ ยละ 70 ของเนื้ อ ที่ ป่ า ของประเทศไทย และแยกเป็นชนิดย่อยๆ ดังนี้ 1. ป่ า เบญจพรรณ มี อ ยู่ ทั่ ว ไปตามภาค ต่าง ๆ ของประเทศ ลักษณะเป็นทีร่ าบหรือตามเนินเขา ภาพที่ 8 ป่าเมฆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ระหว่าง 50-600 เมตร ดินพบ ได้ตั้งแต่ดินเหนียว ดินร่วน จนถึงดินลูกรัง ปริมาณน้ำ ฝนไม่เกิน 1,000 มิลลิเ มตร ต่อปี เป็นสังคมพืชที่มี ความหลากหลายทางมวลชี ว ภาพมากสั ง คมหนึ่ ง พรรณไม้จะผลัดใบมากในฤดูแล้ง เป็นเหตุให้พรรณไม้ เหล่ า นี้ มี ว งปี ใ นเนื้ อ ไม้ พรรณไม้ ที่ เ ป็ น ไม้ ห ลั ก ก็ มี สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง พยุง ชิงชัน พฤกษ์ถ่อน ตะเคียนหนู หาม-กราย รกฟ้า พี้จั่น และไผ่ ภาพที่ 9 ป่าเบญจพรรณ 2. ป่ า เต็ ง รั ง มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ที่ เ ป็ น ที่ ร าบหรื อ ตามเนิ น เขาที่ สู ง จาก ระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร ดินมักเป็นดินทรายและ ดินลูกรัง มีปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 1,000 มิลลิเมตรต่อปี พรรณไม้ ที่ ขึ้ น มั ก เป็ น ชนิ ด ที่ ท นแล้ ง ทนไฟป่ า เช่ น เต็ ง รั ง เหี ย ง พลวง กราด ประดู่ แสลงใจ เม่ า มะขามป้ อ ม มะกอก ผั ก หวาน เป็ น ต้ น พื ช ชั้ น ล่ า ง ภาพที่ 9 ป่าเต็งรัง คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ส่วนใหญ่เป็นพวกหญ้า ไผ่ต่างๆ ที่พบมากที่สุดคือไผ่ เพ็ ก หรื อ หญ้ า เพ็ ก พวกปรง พวกขิ ง ข่ า กระเจี ย ว เปราะ เป็นต้น 3. ป่าหญ้า เป็นป่าที่เกิดภายหลังจากที่ป่า ธรรมชาติอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้ถูกทำลายไปหมด ดิ น มี ส ภาพเสื่ อ มโทรมจนไม้ ต้ น ไม่ อ าจขึ้ น หรื อ เจริ ญ งอกงามต่อไปได้ พวกหญ้าต่าง ๆ จึงเข้ามาแทนที่ พบ ได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาค ภาพที่ 11 ป่าหญ้า ตะวั น ออกของไทย หญ้ า ที่ ขึ้ น ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น หญ้ า คา แฝก หญ้าพง อ้อ แขม เป็นต้น ไม้ต้นมีขึ้นกระจายห่าง ๆ กันบ้าง เช่น กระโดน กระถินป่า สีเสียดแก่น ประดู่ ติ้ว แต้ว ตานเหลือง และปรงป่า เป็นต้น ไม้เหล่านี้ทนแล้งและทนไฟป่าได้ดี เมื่อประเทศไทยมีความหลากหลายของระบบนิเวศมากมาย พรรณพืชที่พบในแต่ละระบบ นิเวศ จึงมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น พืชที่อยู่ในน้ำ ลำต้นและก้านใบมีรูพรุนเพื่อให้ลอยน้ำได้ ไม้ยืนต้นที่ ขึ้นบริเวณลาดเอียงมักมีรากที่แผ่กระจายเป็นพื้นที่กว้าง เพื่อยืดดินให้ลำต้นตั้งตรง ไม้ยืนต้นที่ขึ้นในดิน นิ่ม ๆ ลำต้นที่อยู่ส่วนบริเวณคอดินมีการแผ่บานออกเป็นพูพอน ซึ่งลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์นี้ถือว่า เป็นการปรับตัวของพืชให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของพืช 1. ความสำคัญของพืชที่มีต่อมนุษย์ การดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในสังคมอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมจะอาศัยพืชเป็นปัจจัย พื้นฐาน เนื่องจากพืชเป็นแหล่งของปัจจัยสี่ ประโยชน์ต่าง ๆ ที่มนุษย์ ได้รับจากพืชนั้นจะมีความแตกต่าง กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหรือคุณสมบัติของส่วนประกอบต่างๆของพืช โดยใช้เป็นอาหาร มนุษย์ จะนำส่วนของราก ลำต้น เปลือก ใบ ดอก ผล และเมล็ดของพืชมาเป็นอาหารโดยตรง ทั้งกินสด นำมา ปรุงอาหารหรือนำมาแปรรูปหรือสกัด เป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหาร ยารักษาโรค ก่อสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือนเครื่องใช้ต่าง ๆ ทำเครื่องนุ่งห่มและสามารถสร้างรายได้ ให้แก่มนุษย์ ได้ เช่นกัน นอกจากนี้ พื ช ยั ง คงให้ ป ระโยชน์ แ ก่ ม นุ ษ ย์ ใ นแง่ ข องการพั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ เพราะโดย ธรรมชาติของพืชแล้วจะเต็มไปด้วยสีเขียวชอุ่ม บางชนิดมีกลิ่นหอม สีสันสวยงาม เมื่อมองดูแล้วจะทำให้ มนุษย์ ได้รับความสดชื่น ผ่อนคลายความตึงเครียด เป็นร่มเงาบังแสงแดดให้เกิดความร่มรื่น และยังช่วย ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อใช้ ในการสังเคราะห์อาหาร แล้วปล่อยก๊าซออกซิเจนมาให้กับมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจน โดยพื ช มี ค วามสามารถในการดู ด กลื น ก๊ า ซคาร์ บ อนมอนอกไซด์ แ ล้ ว เปลี่ ย นแปลงเป็ น ก๊ า ซคาร์ บ อน ไดออกไซด์ปล่อยออกสู่บรรยากาศแล้วดึงกลับมาใช้ ในการสังเคราะห์อาหารในเวลากลางวัน อีกทั้งพืชจะ คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น คายก๊าซออกซิเจนออกมาในเวลากลางวัน ทำให้มนุษย์ ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ อันส่งผลให้มนุษย์มีสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่ดี 2. ความสำคัญของพืชที่มีต่อสัตว์ พืชมีประโยชน์ต่อสัตว์ในแง่ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลบภัย พบสัตว์อยู่ ได้ทุกส่วนประกอบ ของพืช ทั้งราก บนลำต้น ใต้เปลือกลำต้น กิ่ง ใบ ดอก ผล และแหล่งอาหารที่สำคัญ สัตว์แต่ละชนิดอาจ กินโครงสร้างของพืชแตกต่างกัน เช่น หนอนกินยอดหรือใบอ่อน กระรอกกินผลสุก พืชต้นหนึ่ง ๆ อาจ เกิดห่วงโซ่อาหารหลาย ๆ ห่วง เช่น ใบพืชถูกหนอนกิน นกมากินหนอน งูกินนก นอกจากนี้ สัตว์ยังได้รับ ประโยชน์จากก๊าซออกซิเจนที่พืชปล่อยออกมา 3. ความสำคัญของพืชที่มีต่อสภาพแวดล้อม พื ช มี ป ระโยชน์ ต่ อ สภาพแวดล้ อ มในแง่ ที่ เ ป็ น ส่ ว นที่ ส ำคั ญ มากส่ ว นหนึ่ ง ของวั ฏ จั ก รน้ ำ ออกซิเจน คาร์บอน และไนโตรเจนในระบบนิเวศ ทำให้เกิดความสมดุลแห่งระบบด้วยการหมุนเวียน เปลี่ยนแปลงแร่ธาตุและสสารให้เป็นอินทรียสารในระบบนิเวศ อีกทั้งพืชมีส่วนช่วยปรับสภาพบรรยากาศ ได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากพืชช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นของดิน ร่มเงาที่ ได้จากพืชช่วยป้องกันความร้อน จากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ตกกระทบผิวดินโดยตรง ในส่วนของลำต้นและใบของพืชจะคายน้ำออกมาเป็นไอน้ำ จำนวนมาก ในขณะเดียวกันเมื่ออุณหภูมิอากาศลดลงไอน้ำจะรวมตัวกัน เกิดเป็นเมฆจำนวนมาก และใน ที่สุดฝนก็จะตกลงมา นอกจากนี้พืชยังมีส่วนช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ กล่าวคือ เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนบางส่วนจะถูก พืชดูดซับไว้แล้วค่อยๆ ปล่อยไหลลงสู่ผิวดิน และอีกส่วนหนึ่งจะซึมลงสู่ดินชั้นล่าง ซึ่งลดการพังทลาย ของดิน และลดการกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร หรือแหล่งกักเก็บน้ำตาม ธรรมชาติ ในทางตรงกันข้ามสามารถป้องกันการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และลดความรุนแรงของการเกิด อุทกภัย รวมทั้งเป็นแนวป้องกัน หรือกีดขวางแนวทางของลมพายุที่พัดผ่านให้ความเร็วลดลง 4. ประโยชน์อื่น ๆ ของพืช นอกจากพืชจะมีความสำคัญต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ในการศึกษา กระบวนการพื้นฐานต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตสามารถนำพืชซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเหมาะสม และสะดวก ในการศึกษา โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางจริยธรรมจากการศึกษา นอกจากนี้พืชยังช่วยให้เกิดความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากหลายทาง ไม่ ว่าจะเป็น 1) ความเข้าใจในการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย และการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความสำคัญ ต่อการจัดหมวดหมู่และการศึกษาอนุกรมวิธานของพืชได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 2) เนื่องจากพืชมีการตอบสนองต่อรังสีอุลตราไวโอเลต จึงใช้ศึกษาและตรวจสอบการลดลง ของโอโซนได้ คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 3) การศึกษาวิเคราะห์ละอองเกสรจากซากดึกดำบรรพ์ของพืช ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ จำลองสภาพภูมิอากาศในอดีต และทำนายสภาพอากาศในอนาคตได้ 4) การบันทึกและวิเคราะห์ช่วงเวลาของวัฏจักรชีวิตของพืช มีความสำคัญต่อการศึกษา ปรากฏการณ์และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ 5) ไลเคนส์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ ไวต่อสภาพอากาศ สามารถใช้ตรวจวัดมลภาวะทางอากาศ เบื้องต้นได้ ปัจจุบันต้นไม้ ในส่วนต่างๆของโลก ได้ลดจำนวนลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะประชากร เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การบุกรุกพื้นที่ป่าทำเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งทำมาหากินของมนุษย์ ความต้องการ ในการนำต้นไม้มาใช้ประโยชน์จึงมีมากขึ้น สิ่งสำคัญ 3 ประการ ที่พวกเราจะช่วยกันอนุรักษ์ต้นไม้ ไว้ ให้ เป็นประโยชน์แก่มนุษย์มากที่สุด และเป็นระยะเวลายาวนาน คือ 1. ดูแลต้นไม้ที่มีอยู่ ไว้ ให้นานที่สุด 2. ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมให้มากที่สุด 3. ลดปริมาณการใช้ประโยชน์จากไม้ และใช้อย่างรู้คุณค่า เพื่อการใช้อย่างยั่งยืน คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น บทที่ 2 ส่วนประกอบของพืช พืช (plant) พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์อาหารด้วยตนเองได้ มีประมาณ 300,000 ชนิด ถูกจัด อยู่ ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) ประกอบด้วยหลายวิสัย ได้แก่ ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ไม้ล้มลุก พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อ ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีเยื่อหุ้ม เคลื่อนที่ ไม่ ได้ ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับการรับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ ลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็คือ การสร้างอาหารด้วยตนเองได้ (Autotrophic organism) โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช 1. สามารถสร้างอาหารได้เอง เพราะมีคลอโรฟิลล์ 2. เคลื่อนที่ ไม่ ได้ แต่เคลื่อนไหวได้ 3. มีการดำรงชีวิตแบบผู้ผลิต (producer) 4. สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีได้ 5. เซลล์เป็นแบบยูคาริโอต (Eukaryotic cell) คือมีเยือ่ หุม้ นิวเคลียส และเยือ่ หุม้ ออร์แกเนลล์ 6. เซลล์ มีผนังเซลล์ 7. มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า เพราะไม่มีระบบประสาท ภาพที่ 12 ส่วนประกอบของพืช คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น วิสัยพืช Plant Habit ไม้เถา (Climber) ลำต้ น มั ก จะเล็ ก เรี ย วเลื้ อ ยพั น กั บ ไม้ ห รื อ วั ต ถุ อื่ น เพื่ อ พยุ ง ลำต้ น มี ทั้ ง ที่ เ ป็ น ไม้ เ นื้ อ อ่ อ น (herbaceous) และไม้เนื้อแข็ง (woody) * ตัวอย่างไม้เถา : พวงชมพู รสสุคนธ์ เถาวัลย์ ไม้ล้มลุก (Herb) มีลำต้นอ่อนนุ่ม เนื่องจากประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่เป็นเนื้อไม้เพียงเล็กน้อย ลำต้นอ่อนนุ่ม จะตายเมื่อหมดฤดูของการเจริญเติบโต * ตัวอย่างไม้ล้มลุก : ผักกระสัง ผักเสี้ยน ไม้พุ่ม (Shrub) ไม้ต้นที่มีความสูงไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นมีเนื้อไม้แข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลาง มักมีหลาย ลำต้น แต่ ไม่มีลำต้นหลัก แตกกิ่งก้านบริเวณใกล้ผิวดิน * ตัวอย่างไม้พุ่ม : หัสคุณ ต้นเข็ม โคลงเคลง ไม้ต้น (Tree) มีลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นสูงมากกว่า 5 เมตร มีลำต้นหลักเพียงลำต้นเดียว แตกกิ่งก้าน บริเวณยอด มีอายุยืนหลายปี * ตัวอย่างไม้ต้น : กะออก สะตอ ชะมวงป่า ไม้เถา (Climber) ไม้ล้มลุก (Herb) ไม้พุ่ม (Shrub) ไม้ต้น (Tree) ภาพที่ 13 ลักษณะวิสัยของพืช คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 10 ส่วนประกอบของพืช Parts of Plants ส่วนประกอบของพืช ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล 4. ดอก 3. ใบ 5. ผล 2. ลำต้น 1. ราก ภาพที่ 14 ส่วนประกอบของพืช 11 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ราก Root ราก เป็นอวัยวะของพืชที่ ไม่มี ข้อ ปล้อง ตา และใบ เจริญเติบโตลงสู่ดินตามแรงโน้มถ่วง ของโลก รากส่วนใหญ่ ไม่มีคลอโรฟิลล์ ยกเว้น รากสังเคราะห์ด้วยแสงของพวกกล้วยไม้ หน้าที่ของราก * ยึดลำต้นให้ติดกับพื้นดิน * ดูดซึมธาตุอาหารและอินทรียวัตถุต่าง ๆ ให้แก่พืช * เป็นทางผ่านของสารที่ดูดซึมเข้ามาไปยังส่วนลำต้น ชนิดของรากแบ่งออกได้ดังนี ้ - รากแก้ว เป็นรากแรกของพืชที่งอกจากเมล็ดและหยั่งลึกลงไปในดินทางแนวดิ่งทำให้ ต้นไม้ยืนต้นอยู่ ได้ - รากแขนง เป็นรากที่แตกจากรากแก้ว แผ่ออกไปตามแนวระดับ - รากพิเศษ เป็นรากที่เกิดตามใบหรือลำต้นทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน รากพิเศษ รากแก้ว รากแขนง รากแก้ว รากฝอย ภาพที่ 15 ตำแหน่งและชนิดของราก คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 12 รากที่ดัดแปลงไป Modified Roots รากของพืชนอกจากเจริญจากรากแรกเริ่มแล้ว ยังพบงอกจากส่วนต่าง ๆ เช่น ลำต้น ใบ ทำหน้าที่แตกต่างจากรากแก้วและรากแขนง ตารางที่ 1 ลักษณะรากที่ดัดแปลงไป รากค้ำจุน คื อ รากที่ แ ตกจากข้ อ ของลำต้ น ที่ อ ยู่ เ หนื อ พื้นดินแล้วพุ่งลงสู่ดิน ทำหน้าที่ค้ำยันลำต้นไม่ ให้ล้ม เช่น รากโกงกาง รากเตยทะเล รากต้นข้าวโพด รากสังเคราะห์ด้วยแสง คื อ รากที่ แ ตกจากลำต้ น หรื อ กิ่ ง ห้ อ ยอยู่ ใ น อากาศ ส่วนปลายมีสีเขียว ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคลอโรฟิลล์ ช่วยให้สร้างอาหารได้ เช่น รากกล้วยไม้ รากหายใจ คือ รากที่งอกจากรากแก้ว แทงตั้งฉากขึ้นมา จากผิวดิน ทำหน้าที่ช่วยหายใจ พบในพืชที่อยู่ ในที่ชื้นแฉะ มี น้ ำ ท่ ว มขั ง เช่ น รากลำพู รากแสม รากลำแพน รากประสัก รากเกาะ คื อ รากที่ แ ตกออกมาจากข้ อ ของลำต้ น ทำ หน้าที่ช่วยยึดเกาะกับหลักหรือไม้อื่นเพื่อชูลำต้นขึ้นสูง เช่น รากพลู รากพริกไทย รากสะสมอาหาร คือ รากแก้วหรือรากฝอยที่อยู่ ใต้ดิน ทำหน้าที่ สะสมอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและโปรตีน ทำให้รากมี ขนาดใหญ่ ลักษณะอวบ อุ้มน้ำ เช่น รากแก้วสะสมอาหาร : แครอท หัวผักกาด รากฝอยสะสมอาหาร : กระชาย มันเทศ มันสำปะหลัง 13 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ลำต้น Stem ลำต้น คืออวัยวะหรือส่วนของพืชซึ่งโดยปกติเจริญอยู่เหนือพื้นดินมีทิศทางตรงข้ามกับการ เจริญของราก ลำต้นมีขนาด รูปร่าง และลักษณะต่างๆ กัน ลำต้นประกอบด้วย * ข้อ (node) เป็นส่วนของลำต้นบริเวณที่มี ใบหรือกิ่งงอกออกมา และเป็นรอยต่อของ ปล้องแต่ละปล้อง โดยสังเกตได้ว่าส่วนที่เป็นข้อจะมีขนาดโตหรือนูนกว่าส่วนอื่นของลำต้น * ปล้อง (internode) เป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อ * ตา (bud) เป็นที่เกิดของกิ่ง ใบ ดอก และผล หน้าที่ของลำต้น 1. เป็นแกนสำหรับช่วยพยุงกิ่ง ก้าน ใบ ดอก 2. เป็นตัวกลางสำหรับลำเลียงน้ำ ธาตุอาหาร และสารต่าง ๆ ส่งผ่านไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช 3. สร้างเนื้อเยื่อและส่วนต่าง ๆ ของพืชใหม่ เช่น ใบ ดอก ผล ลำต้น แบ่งตามที่อยู่ ได้ 2 ประเภท คือ ลำต้นเหนือดิน (Aerial stem) ลำต้นใต้ดิน (Subterranean stem) ลำต้นเหนือดิน ลำต้นใต้ดิน ภาพที่ 16 ลำต้น คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 14 ลำต้นที่เปลี่ยนรูปร่างไป Modified Stems ลำต้นนอกจากเป็นที่ติดของใบและดอกแล้ว ลำต้นอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่ ไปได้ ทั้งลำต้นบนดินและลำต้นใต้ดิน ลำต้นบนดิน (Aerial stems) ไหล (Stolon หรือ runner) คือ ลำต้นที่แตกออกจากลำต้นเดิม เลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ มีปล้องยาว ที่ข้อมีราก ใบ ดอก และสามารถงอกเป็นต้นใหม่ ได้ * ตัวอย่าง : บัวบก ผักกระเฉด ผักบุ้ง ลำต้นคล้ายใบ (Phylloclade หรือ cladophyll) คือ ลำต้นที่ทำหน้าที่คล้ายใบมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้คล้ายใบ * ตัวอย่าง : ลำต้นสลัดได กระถินณรงค์ มือพัน (Stem tendril) คือ ลำต้นอ่อน ยาว บิดเป็นเกลียวทำหน้าที่เกาะหรือยึดกับสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง * ตัวอย่าง : ลำต้นตำลึง ลำต้นพวงชมพู ลำต้นฟักทอง ไหล ลำต้นคล้ายใบ มือพัน ภาพที่ 17 ลักษณะลำต้นที่เปลี่ยนรูปร่างไป : ลำต้นบนดิน 15 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ลำต้นใต้ดิน Subterranean Stems เหง้า (Rhizome) คือ ลำต้นทรงกระบอกเจริญเติบโตขนานไปกับพื้นดิน มีลักษณะอวบน้ำ มีข้อ ปล้องชัดเจน มี ใบเกล็ด (scale leaf) คลุมที่ข้อ มีรากและตาที่ข้อซึ่งจะเติบโตเป็นใบและแทงขึ้นสู่พื้นดิน * ตัวอย่าง : เช่น ขิง ข่า ขมิ้น หัวแบบมันฝรั่ง (Tuber) คือ ลำต้นใต้ดินที่มีขนาดใหญ่และอวบน้ำ ข้อและปล้องเห็นไม่ชัดเจน ไม่มี ใบเกล็ด มีตา ประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญโดยรอบซึ่งมักจะบุ๋มลงไป * ตัวอย่าง : มันฝรั่ง มันมือเสือ หัวแบบเผือก (Corm) คือ ลำต้นอวบอ้วนตั้งตรงบริเวณส่วนกลางมักพองโต มีข้อและปล้องสั้น ๆ เห็นชัดเจน มีตา ตามข้อสามารถงอกเป็นใบโผล่ขึ้นเหนือดินหรือแตกเป็นลำต้นใต้ดิน มีใบเกล็ดคลุมที่ข้อ * ตัวอย่าง : แห้ว เผือก หัวแบบหอม (Bulb) คือ ลำต้นตั้งตรง ตามปล้องมี ใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้นหุ้มลำต้นไว้ ใบเกล็ดด้านนอกบาง เพราะไม่มีอาหารสะสมไว้ ส่วนในสุดเป็นลำต้นที่แท้จริง มีข้อและปล้องสั้น ๆ มีรากงอกออกมาด้วย * ตัวอย่าง : หัวหอม กระเทียม พลับพลึง เหง้า (Rhizome) หัวแบบมันฝรั่ง (Tuber) หัวแบบเผือก (Corm) หัวแบบหอม (Bulb) ภาพที่ 18 ลักษณะลำต้นที่เปลี่ยนรูปร่างไป : ลำต้นใต้ดิน คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 16 ใบ Leaf ใบเป็นส่วนของพืชหรือรยางค์ที่เจริญออกไปทางด้านข้าง โดยมีตำแหน่งอยู่ที่ข้อของลำต้น และกิ่ง ใบส่วนใหญ่มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ หน้าที่หลักของใบ คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ และคายน้ำ นอกจากนี้ ใบยัง อาจเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่พิเศษอื่น ๆ เช่น สะสมอาหาร สืบพันธุ์ช่วยยึดและค้ำจุนลำต้น ป้องกัน ยอดอ่อนและใบอ่อน เป็นต้น ส่วนประกอบของใบ ใบ ประกอบด้วย แผ่นใบ( blade หรือ lamina) ก้านใบ (petiole หรือ leaf stalk) และหูใบ (stipule) แผ่นใบ ลักษณะเป็นแผ่นแบนบาง ภายในแผ่นใบมีคลอโรพลาสต์ ช่วยให้สร้างอาหารได้ แผ่นใบมีขนาด รูปร่าง และเนื้อใบแตกต่างกันไป แผ่นใบประกอบด้วย เส้นกลางใบ เส้นใบ ปลายใบ โคนใบ ขอบใบ ก้านใบ เป็นส่วนที่ยึดแผ่นใบให้ติดกับลำต้น ก้านใบติดกับแผ่นใบตรงโคนใบ ยกเว้นบางชนิด ก้านใบติดลึกเข้ามาจากโคนใบ เช่น ใบบัว พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด ตอนโคนของก้านใบหรือก้านใบ ทั้งหมดแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น เรียกว่า กาบใบ พืชบางชนิดกาบใบอัดแน่นมองคล้ายลำต้น เรียกว่า ลำต้น เทียม เช่น กล้วย ขิง ข่า หูใบ เป็นรยางค์หนึ่งคู่ที่มีลักษณะคล้ายใบขนาดเล็กติดอยู่ตรงโคนก้านใบ หูใบมีรูปร่าง แตกต่างกันตามชนิดของพืช พืชที่มีหูใบ เช่น ใบจำปาดะ พืชบางชนิดอาจไม่มีหูใบ เช่น ใบมะม่วง ใบแท้ที่สมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยแผ่นใบ ก้านใบ และหูใบครบทั้ง 3 ส่วน เช่นใบขนุน ใบที่ไม่สมบูรณ์ คือใบที่ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งดังกล่าว เช่น * ใบกระถินณรงค์ ไม่มีแผ่นใบ * ใบมะม่วง ไม่มีหูใบ * ใบวาสนา ไม่มีก้านใบ 17 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ส่วนประกอบของใบ Parts of Leaf แผ่นใบ (Lamina หรือ Blade) ก้านใบ (Petiole หรือ Leaf Stalk) ปลายใบ (Apex) ซอกใบ เส้นกลางใบ (Midrib) (Axile) เส้นใบ (Vein) ขอบใบ (Margin) โคนใบ (Base) หูใบ (Stipule) ภาพที่ 19 ส่วนประกอบของใบ คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 18 ชนิดของใบ Types of Leaf เมื่อจำแนกตามจำนวนใบที่ติดบนก้านใบ สามารถแบ่งชนิดของใบออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ใบเดี่ยว (Simple leaf) คือใบที่มีแผ่นใบเดียวและมีก้านใบเดียว ตัวอย่าง : ใบมะม่วง 2. ใบประกอบ (Compound leaves) คือ ใบที่ประกอบด้วยแผ่นใบมากกว่า 1 เรียกใบเหล่านี้ว่าใบย่อย (leaflets) มีหลายแบบ ดังนี้ * ใบประกอบแบบขนนก (Pinnately compound leaves) เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยออก 2 ข้างของแกนกลาง (rachis) ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อจากก้านใบ แบ่งย่อยเป็น - ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (Odd-pinnately compound leaves) ใบย่อยปลายสุดของก้านใบมีเพียงใบเดียว เช่น ใบประดู่ - ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ (Even-pinnately compound leaves) ใบย่อยปลายสุดของก้านใบมี 2 ใบ เช่น ใบมะขาม * ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น (bi-pinnately compound leaves) เป็นใบประกอบที่ แกนกลางแตกแขนงออกเป็ น แกนกลางที่ ส องแล้ ว จึ ง จะมี ใ บย่ อ ยแบบขนนก เช่ น ใบกระถิน ใบหางนกยูง * ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น (tri-pinnately compound leaves) เป็นใบประกอบที่ แกนกลางที่ 2 แตกออกเป็นแกนกลางที่ 3 จึงจะมี ใบย่อยแบบขนนก เช่น ใบมะรุม ใบเพกา * ใบประกอบแบบนิ้วมือ (palmately compound leaves) เป็นใบประกอบที่ก้านใบย่อยทุก ใบออกจากตำแหน่งเดียวกับตรงปลายก้านใบ เช่น ใบหนวดปลาหมึก ใบมันสำปะหลัง 19 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ใบเดี่ยว ใบประกอบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ ภาพที่ 20 ชนิดของใบ คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 20 การเรียงใบบนลำต้น Phyllotaxy การเรียงใบบนลำต้น มีการเรียงหลายลักษณะ ดังนี้ * เรียงสลับ ใบเรียงสลับบนกิ่ง ไม่เป็นระเบียบ ช่วงระยะห่างไม่เท่ากัน * เรียงสลับระนาบเดียว ใบเรียงสลับระนาบเดียวกันบนกิง่ อย่างมีระเบียบ ช่วงระยะห่างเท่ากัน * เรียงตรงข้าม ใบเรียงตรงข้ามกันบนกิ่งในระนาบเดียวกัน * เรียงตรงข้ามสลับตัง้ ฉาก ใบเรียงตรงข้ามสลับกันแต่ละข้อบนกิง่ แต่ละคูต่ งั้ ฉากซึง่ กันและกัน * เรียงวงรอบ ใบเรียงเป็นวงรอบที่จุดเดียวกันบนกิ่ง มากกว่า 2 ใบ ขึ้นไป * เรียงด้านเดียว ใบเรียงด้านเดียว เรียงกันเป็นเกลียวคล้ายก้นหอย * เรียงแบบมีกาบหุ้ม โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน เรียงสลับ เรียงสลับระนาบเดียว เรียงตรงข้าม เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียงวงรอบ เรียงด้านเดียว เรียงแบบมีกาบหุ้ม ภาพที่ 21 การเรียงใบบนลำต้น 21 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น การเรียงตัวของเส้นใบ Leaf Venation การเรียงตัวของเส้นใบ บนแผ่นใบ มี 2 แบบ คือ 1. เส้นใบขนาน (Parallel vein) ส่วนมากพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มี 2 แบบ 1.1 เส้นใบขนานตามความยาวของใบ (longitudinal parallel vein) คือเส้นใบที่เรียงขนานกัน ตั้งแต่ฐานใบถึงปลายใบ เช่น ใบหญ้า ใบอ้อย ใบข้าวโพด 1.2 เส้นใบเรียงขนานกันแบบขนนก (pinnately parallel vein) คือ เส้นใบที่เรียงขนานกันจาก เส้นกลางใบไปสู่ขอบใบ เช่น ใบกล้วย ใบขิง ใบข่า ใบพุทธรักษา 2. เส้นใบร่างแห (Netted vein) มี 3 แบบ 2.1 เส้นใบร่างแหแบบขนนก (pinnately netted vein) คือ เส้นใบที่แยกจากเส้นกลางใบทั้ง 2 ข้าง เช่น ใบมะม่วง ใบขนุน ใบลองกอง 2.2 เส้นใบร่างแหแบบขนนกปลายโค้งจรดกัน (dentate netted vein) คือ ปลายของเส้นใบ โค้งเชื่อมกัน 2.3 เส้นใบร่างแหแบบนิ้วมือ (palmately netted vein) คือ เส้นใบที่ออกจากจุดเดียวกันที่ โคน ใบไปถึงปลายใบ เช่น ใบมะละกอ ใบโคลงเคลง ใบฟักทอง ใบเชียด เส้นใบขนานตามความยาวของใบ เส้นใบเรียงขนานกันแบบขนนก เส้นใบร่างแหแบบขนนก เส้นใบร่างแหแบบขนนก เส้นใบร่างแหแบบนิ้วมือ ปลายโค้งจรดกัน ภาพที่ 22 การเรียงตัวของเส้นใบ คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 22 รูปร่างใบ Leaf Shape ใบ มีรูปร่างต่างๆกันดังนี้ คือ รูปขอบขนาน รูปหอก รูปร่างใบหอกกลับ รูปรี รูปไข่ รูปไข่กลับ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด รูปไต ภาพที่ 23 รูปร่างใบ 23 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น รูปวงกลม รูปหัวใจ รูปเคียว รูปเงี่ยงใบหอก รูปใบเบี้ยว รูปใบหอกสั้น รูปหัวใจกลับ รูปใบแฉก ภาพที่ 23 รูปร่างใบ (ต่อ) คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 24 ใบแฉกกลาง ใบแฉกกลางคล้ายผีเสื้อ ใบสามแฉก ใบห้าแฉก ใบเจ็ดแฉก ใบแฉกไม่เป็นระเบียบ ภาพที่ 23 รูปร่างใบ (ต่อ) 25 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ปลายใบ Leaf apex ปลายใบมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ คือ ปลายยาวคล้ายหาง ปลายติ่งแหลม ปลายติ่งหนาม ปลายแหลม ปลายเรียวแหลม ปลายมน ปลายเว้าลึก ปลายเว้าตื้น ปลายสอบเรียว ปลายกลม ปลายติ่งแหลมอ่อน ปลายม้วน ปลายแหลมทู่ ภาพที่ 24 ลักษณะปลายใบ คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 26 โคนใบ Leaf base โคนใบ มีลักษณะต่างๆดังนี้ คือ โคนรูปลิ่ม โคนสอบเรียว โคนเฉียง โคนแหลม โคนตัด โคนรูปหัวใจ โคนรูปเงี่ยงลูกศร โคนรูปเงี่ยงใบหอก โคนก้นปิด โคนกลม โคนป้าน โคนรูปติ่งหู โคนสอบ โคนเบี้ยว โคนเรียวแหลม ภาพที่ 25 ลักษณะโคนใบ 27 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ขอบใบ Leaf margin ขอบใบมีลักษณะต่างๆ ดังนี้ คือ ขอบใบเรียบ ขอบใบเป็นคลื่น ขอบใบคลื่นใหญ่ ขอบใบหยัก ขอบใบหยักมน ขอบใบจักฟันเลื่อย ขอบใบจักฟันเลื่อยซ้อน ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่ ขอบใบมีหนาม ขอบใบหยักหนาม ขอบใบหยักหนามถี ่ ขอบใบจักซี่หวี ขอบใบขนครุย ขอบใบมีหนามสั้น ขอบใบเว้า ภาพที่ 26 ลักษณะของใบ คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 28 ดอก Flower ดอกไม้เป็นส่วนของพืชที่เจริญและเปลี่ยนแปลงมาเพื่อทำหน้าที่สืบพันธุ์ ส่วนต่างๆ ของดอกไม้ Parts of Flower ดอกไม้ทั่วไปประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะเรียงกันเป็นชั้นหรือเป็นวงบน ฐานรองดอก 1. วงกลีบเลี้ยง (Calyx) แต่ละกลีบเรียกว่า กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุด มักมีสีเขียวเนื่องจากเจริญมาจากใบ ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายแก่ดอกตูมและช่วยในการสังเคราะห์ ด้วยแสง มีทั้งดอกที่กลีบเลี้ยงแยกจากกันและดอกที่กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน 2. วงกลีบดอก (Corolla) แต่ละกลีบเรียกว่า กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัด จากกลีบเลี้ยงเข้ามาข้างใน มีสีสันต่าง ๆ สวยงาม ทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อช่วยในการผสมเกสร มีทั้งดอกที่ กลีบดอกแยกจากกันและดอกที่กลีบดอกเชื่อมติดกัน 3. วงเกสรเพศผู้ (Stamen) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป เกสรเพศผู้มีหลายอัน เรียงกันเป็นชั้น เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์ ประกอบด้วย - อับเรณู (Anter) เป็นโครงสร้างที่อยู่ปลายสุดของก้านชูอับเรณู - ก้านชูอับเรณู (Filament) มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาว ทำหน้าที่ชูอับเรณู - ละอองเรณู (Pollen grin) อยู่ภายในอับเรณู 4. วงเกสรเพศเมีย (Pistil or carpel) เป็นส่วนที่อยู่ในสุดของดอก แต่ละดอกส่วนใหญ่จะ มีเกสรเพศเมียเพียง 1 อัน เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์ ประกอบด้วย - รังไข่ (Ovary) มีลักษณะพองโต ภายในรังไข่มีไข่หรือ ออวุล - ก้านเกสรเพศเมีย (Style) มีลักษณะเป็นแท่ง ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างรังไข่และยอด เกสรเพศเมีย - ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดมักมีน้ำเหนียว ๆ ทำหน้าที่จับ ละอองเรณูของเกสรเพศผู้ นอกจากส่วนประกอบสำคัญ 4 ส่วนแล้วดอกยังมีส่วนประกอบอื่นอีก เช่น * ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนติดต่อกับก้านดอก โครงสร้างนี้มีขนาดใหญ่กว่า ก้านใบ มีทั้งรูปแบน เว้ารูปถ้วย หรือโค้งนูน * กลีบประดับ (Bract) เป็นส่วนล่างสุดของฐานรองดอก มีลักษณะเป็นแผ่นแบน เรียว ขนาดเล็ก พบในพืชบางชนิด * ก้านดอก (Peduncle) ทำหน้าที่ชูดอกให้ติดกับกิ่ง 29 คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น ส่วนประกอบของดอก Parts of Flower เกสรเพศผู้ (Stamen) เกสรเพศเมีย (Pistil) ก้านชูอับเรณู (Filament) ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma) อับเรณู (Anther) ก้านเกสรเพศเมีย (Style) รังไข่ (Ovary) ฐานรองดอก (Receptacle) กลีบดอก (Petal) ก้านดอก (Peduncle) กลีบเลี้ยง (Sepal) ริ้วประดับ (Bract) ภาพที่ 27 ส่วนประกอบของดอก คู่ มื อ การเรี ย นรู้ พ ฤกษศาสตร์ เ บื้ อ งต้ น 30 ตำแหน่งของรังไข่ Position of Ovary ชนิดของรังไข่ เป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ ในการจำแนกชนิดพรรณพืช แบ่งออกเป็น 1. รังไข่เหนือวงกลีบ (Superior ovary) * เป็นดอกที่วงกลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรเพศผู้ ติดอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าฐานของรังไข่ และไม่เชื่อมติดกับรังไข่ * ตัวอย่าง : ดอกพริก ดอกมะเขือ 2. รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ (Half-inferior ovary) * เป็นดอกที่กลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรเพศผู้ ติดอยู่บริเวณปลายฐานรองดอก และ อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางรังไข่ * ตัวอย่าง : ดอกกุหลาบ 3. รังไข่ใต้วงกลีบ (Inferior ovary) * เป็นดอกที่ส่วนฐานรองดอกเจริญหุ้มรังไข่ ไว้ทั้งหมด กลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรเพศผู้ ติดอยู่บนปลายสุดของฐานรองดอกเหนือรังไข่ * ตัวอย่าง : ดอกฝรั่ง ดอกพลับพลึง รังไข่