ชุดที่ 13 พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้าง PDF
Document Details
Uploaded by SharperFife201
Chonradsadornumrung School
2560
Tags
Summary
This document details Thailand's Public Procurement Act (ชุดที่ 13 พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้าง). It outlines regulations, procedures, and provisions associated with government procurement practices. The document covers topics like avoiding conflicts of interest and promoting transparency in public sector purchasing.
Full Transcript
หน้า ๑๘ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ให้ใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย คณะก...
หน้า ๑๘ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ให้ใช้หลักการตามวรรคหนึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการวินิจฉัย คณะกรรมการราคากลาง คณะกรรมการ ค.ป.ท. และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยอนุโลม มาตรา ๙ การกําหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะทําการจัดซื้อจัดจ้าง ให้หน่วยงานของรัฐ คํานึงถึงคุณภาพ เทคนิค และวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุนั้น และห้ามมิให้กําหนดคุณลักษณะเฉพาะ ของพัสดุให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง หรือของผู้ขายรายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ เว้นแต่พัสดุที่จะทํา การจัดซื้อจัดจ้างตามวัตถุประสงค์นั้นมียี่ห้อเดียวหรือจะต้องใช้อะไหล่ของยี่ห้อใด ก็ให้ระบุยี่ห้อนั้นได้ มาตรา ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๖ ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญและเป็นข้อมูลทางเทคนิคของผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ระหว่างผู้ยื่นข้อเสนอด้วยกันต่อผู้ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นหรือต่อผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการดําเนินการตามกฎหมาย มาตรา ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐจัดทําแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจําปี และประกาศเผยแพร่ ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น เว้นแต่ (๑) กรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนหรือเป็นพัสดุที่ใช้ในราชการลับ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๕๖ (๑) (ค) หรือ (ฉ) (๒) กรณีที่มีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรือมีความจําเป็นต้องใช้พัสดุ โดยฉุกเฉินหรือเป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด ทั้งนี้ ตามมาตรา ๕๖ (๒) (ข) (ง) หรือ (ฉ) (๓) กรณี ที่ เ ป็ น งานจ้ า งที่ ป รึ ก ษาที่ มี ว งเงิ น ค่ า จ้ า งตามที่ กํ า หนดในกฎกระทรวงหรื อ ที่ มี ความจําเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๗๐ (๓) (ข) หรือ (ฉ) (๔) กรณีที่เป็นงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่มีความจําเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับ ความมั่นคงของชาติตามมาตรา ๘๒ (๓) หลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และรายละเอี ย ดการจั ด ทํ า แผนการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งตามวรรคหนึ่ ง และการเปลี่ยนแปลงแผน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด มาตรา ๑๒ หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณารายละเอียด วิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการตรวจดูข้อมูล เมื่อมีการร้องขอ การจั ดทํ าบั น ทึกรายงานผลการพิจ ารณา รายละเอีย ดวิ ธีก ารและขั้น ตอนการจั ดซื้ อ จั ดจ้ า ง และการร้องขอเพื่อตรวจดูบันทึกรายงานดังกล่าว ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด มาตรา ๑๓ ในการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า ง ผู้ ที่ มี ห น้ า ที่ ดํ า เนิ น การต้ อ งไม่ เ ป็ น ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย กั บ ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในงานนั้น หน้า ๑๙ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ในกรณี ที่ ป รากฏในภายหลั ง ว่ า ผู้ ที่ มี ห น้ า ที่ ดํ า เนิ น การตามวรรคหนึ่ ง เป็ น ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย กั บ ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้าง หรือเป็นกรรมการในคณะกรรมการ การจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป มาตรา ๑๔ เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปโดยเรียบร้อยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ทําการจัดซื้อจัดจ้างขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดผิดพลาด หรือผิดหลงเล็กน้อยและไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป มาตรา ๑๕ ผู้มีอํานาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างพัสดุโดยวิธีใดตามพระราชบัญญัตินี้จะเป็น ผู้ดํารงตําแหน่งใดและภายในวงเงินเท่าใด ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด หมวด ๒ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต มาตรา ๑๖ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้ ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ ตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๗ ในการดําเนินการตามมาตรา ๑๖ คณะกรรมการ ค.ป.ท. อาจกําหนดให้มี การจั ด ทํ า ข้ อ ตกลงคุ ณ ธรรมตามโครงการความร่ ว มมื อ ป้ อ งกั น การทุ จ ริ ต ในการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งภาครั ฐ ตามมาตรา ๑๘ ก็ไ ด้ ทั้ง นี้ การจัดซื้ อจั ดจ้ างที่ต้อ งจั ดทํ าข้ อ ตกลงคุณ ธรรมดั งกล่าวให้เป็ นไปตามที่ คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยอย่างน้อยให้คํานึงถึงวงเงินของการจัดซื้อ จัดจ้าง มาตรการป้องกันการทุจริต การจัดซื้อจัดจ้างที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริต และความคล่องตัว ในการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย คณะกรรมการ ค.ป.ท. อาจกําหนดวิธีการนอกเหนือจากวรรคหนึ่งเพื่ออํานวยความสะดวก ให้ ภ าคประชาชนมี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งภาครั ฐ ก็ ไ ด้ ทั้ ง นี้ ตามที่ ค ณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๘ ข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ ให้จัดทําเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้า ยื่นข้อเสนอ โดยฝ่ายหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและฝ่ายผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอต้อง ตกลงกันว่าจะไม่กระทําการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง และให้มีผู้สังเกตการณ์ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ที่จําเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ ขั้นตอนการจัดทําร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทําการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสาร เชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ โดยผู้สังเกตการณ์ต้องมีความเป็นกลางและไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในโครงการการจัดซื้อจัดจ้างนั้น แล้วให้รายงานความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท. ทราบด้วย หน้า ๒๐ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ แนวทางและวิธีการในการดําเนินงานโครงการ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทํารายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๙ ผู้ ป ระกอบการที่ อ ยู่ ใ นประเภทหรื อ มี ว งเงิ น ในการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งตามที่ คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกํ า หนดในราชกิ จ จานุ เ บกษา หากประสงค์ จ ะเข้ า ยื่ น ข้ อ เสนอกั บ หน่วยงานของรัฐในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องจัดให้มีนโยบายในการป้องกันการทุจริต และมีแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสม มาตรฐานขั้นต่ําของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการ ต้องจัดให้มีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา หมวด ๓ คณะกรรมการ ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มาตรา ๒๐ ให้ มี ค ณะกรรมการนโยบายการจั ด ซื้ อ จั ด จ้ า งและการบริ ห ารพั ส ดุ ภ าครั ฐ ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังซึ่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตํ า แหน่ ง ได้ แ ก่ ปลั ด สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ปลั ด กระทรวงการคลั ง ปลั ด กระทรวงดิ จิ ทั ล เพื่ อ เศรษฐกิ จ และสั ง คม เลขาธิ ก ารคณะกรรมการกฤษฎี ก า ผู้ อํ า นวยการ สํ า นั ก งบประมาณ อั ย การสู ง สุ ด อธิ บ ดี ก รมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่ น ผู้ อํ า นวยการสํ า นั ก งาน คณะกรรมการนโยบายรัฐ วิสาหกิจ ผู้ ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเลขาธิ การคณะกรรมการป้องกั น และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จากสภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แห่งละหนึ่งคน ในส่วนที่เหลือให้แต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบาย ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ข้าราชการของกรมบัญชีกลาง ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมายจํานวนสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ หน้า ๒๑ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปี (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิด ที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๗) ไม่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งโดยตรงกับการปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งกรรมการ มาตรา ๒๒ กรรมการผู้ ท รงคุ ณวุ ฒิ มีว าระอยู่ ในตํ าแหน่ง คราวละสามปี และอาจได้ รั บ แต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ภายใน หกสิบวัน ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจาก ตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๒๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ (๔) คณะรั ฐ มนตรี ใ ห้ อ อก เพราะหย่ อ นความสามารถ บกพร่ อ งหรื อ ทุ จ ริ ต ต่ อ หน้ า ที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระหรือมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตําแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้น หรือแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งนั้นดํารงตําแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งไว้แล้วนั้น ทั้งนี้ ในกรณีการแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง หากวาระที่เหลืออยู่ไม่ถึง เก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการนโยบายประกอบด้วย กรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคสอง มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการนโยบายมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี หน้า ๒๒ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (๒) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (๓) กํากับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไป ตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ (๔) วินิจ ฉัยความเป็นโมฆะของสั ญญาหรือ ข้อตกลงตามมาตรา ๑๐๔ รวมทั้ งตีค วามและ วินิจฉัยปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับประกาศที่คณะกรรมการนโยบายออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๕) กําหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ (๖) กําหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ แบบหรือตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบที่ออก ตามความในพระราชบัญญัตินี้ (๗) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละ หนึ่งครั้ง (๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี มอบหมาย ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการนโยบายอาจเชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลอื่นใดมาแสดงความคิดเห็น ชี้แจง หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบ การพิจารณาได้ ผลการดําเนินการตาม (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้ประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด มาตรา ๒๕ การประชุมคณะกรรมการนโยบาย ต้อ งมี กรรมการมาประชุมไม่ น้อ ยกว่ า กึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการซึ่งมาประชุมคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องซึ่งที่ประชุม พิจารณา ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมหรือมีมติในเรื่องนั้น ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้นั้นมีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องซึ่งที่ประชุมพิจารณาหรือไม่ ให้ที่ประชุม พิจารณาตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด ซึ่งในระหว่างที่ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้นั้นเมื่อได้ชี้แจงและตอบข้อซักถามแล้วจะต้องออกจากที่ประชุม และให้ถือว่าคณะกรรมการนโยบาย ประกอบไปด้วยประธานกรรมการและกรรมการทุกคน แล้วแต่กรณี ที่ไม่ใช่ผู้ต้องออกจากที่ประชุม เพราะเหตุดังกล่าว