Podcast
Questions and Answers
- การทำงานของคอมพิวเตอร์มี ๔ ขั้นตอน คือ ๑. การนำเข้าข้อมูล
๒. การประมวลผล ๓. การแสดงผลลัพธ์ ๔. การเก็บข้อมูล
- คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่
๑. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ ชิ้นส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ ๒. ซอร์ฟแวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่เขียนโดยโปรแกรมเมอร์เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
- เมนบอร์ด (Mainboard) คือ แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์
- ซีพียู (CPU) คือ หน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์
- แรม (RAM) คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้พักข้อมูลชั่วคราว
- รอม (ROM) คือ หน่วยความจำถาวร ที่ใช้บันทึกข้อมูลของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด
- อินเตอร์เนต (Internet) หมายถึง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงเครือข่ายมากมายทั่วโลกเข้าด้วยกัน เพื่อ อำนวยความสะดวกในการสืบค้น ข้อมูล คัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมมาใช้ รวมทั้งสื่อสารถึงกันทางอีเมล
- หน้าแรกของเว็บไซต์ต่าง ๆ เรียกว่า “โฮมเพจ” (Home Page)
- ๔G ย่อมาจาก Fourth Generation Wireless
- โปรแกรมสำนักงาน (Office Suite) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทำงานในสำนักงาน โดยมีการรวมซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เข้า ไว้ด้วยกัน โดยมีรูปแบบการใช้งานง่ายๆ และโดยปกติสามารถนำซอฟต์แวร์ในชุดมาใช้งานร่วมกันได้ เช่น Microsoft Word / Microsoft Excel / Microsoft Access / Microsoft PowerPoint เป็นต้น
๒. โดเมนเนม (Domain name)
- โดเมนเนม (Domain name) คือ ชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- โดเมนเนม แบ่งได้ ๒ ประเภท คือ
๑. โดเมนเนม ๒ ระดับ
ประกอบด้วย (ชื่อโดเมน + ประเภทของโดเมน) เช่น www.apple.com เป็นต้น ประเภทขององค์กรที่พบ บ่อย มีดังต่อไปนี้
.com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย
.org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร .edu คือ สถาบันการศึกษา
.gov คือ องค์กรของรัฐบาล .mil คือ องค์กรทางทหาร
๒. โดนเมนเนม ๓ ระดับ
ประกอบด้วย (ชื่อโดเมน + ประเภทของโดเมน + ประเทศ) เช่น www.google.co.th เป็นต้น ประเภทของ องค์กรที่พบบ่อยคือ
.co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ .ac คือ สถาบันการศึกษา
.go คือ องค์กรของรัฐบาล .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
.or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
.th คือ ประเทศไทย .cn คือ ประเทศจีน
.uk คือ ประเทศอังกฤษ .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
.au คือ ประเทศออสเตรเลีย
๓. เทคโนโลยี (Technology)
-
บล๊อกเชน (Blockchain) วิธีการเก็บข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงตามหลักการทางบัญชี โดยการเข้ารหัสและจัดเรียง ข้อมูลเหล่านี้ต่อกันตามลำดับเวลาที่ข้อมูลเข้ามา กลุ่มข้อมูลดังกล่าวจะเผยแพร่ไปให้ผู้ใช้ในเครือข่ายที่กำหนดได้ทราบ ทั่วกัน ทั้งนี้ ผู้ใช้ทุกคนจะทราบการแก้ไขเพิ่มเติมรายการเปลี่ยนแปลงในบล็อกเชนทุกรายการตลอดเวลา
-
คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) สินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรม ซึ่งใช้วิทยาการเข้ารหัสลับ สำหรับรับประกันความถูกต้องของธุรกรรมนั้น เพื่อควบคุมการสร้างหน่วยเงินดิจิทัลเพิ่ม และเพื่อยืนยันความถูกต้อง ของการโอนสินทรัพย์ เป็นเงินดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่ควบคุมโดยกระจายศูนย์กลางผ่านบล็อกเชน
-
บิ๊ก ดาต้า (big data) คือ ข้อมูลหลากหลายปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลดัชนีการค้นคืนของเว็บ ข้อมูลการสื่อสารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ข้อมูลในเครือข่ายสังคม ข้อมูลการพยากรณ์อากาศ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ฯลฯ
-
อวทาร์ (Avatar) คือ รูปแทนตัวผู้ใช้ในโลกเสมือนหรือเกม ซึ่งอาจเป็นสองมิติหรือสามมิติก็ได้
-
ระบบเอไอ (Artificial intelligence: AI) คือ สาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเน้นเรื่องที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ ทำงานได้ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น แบ่งย่อยออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น การแปลภาษาด้วยเครื่อง ระบบผู้เชี่ยวชาญ วิทยาการหุ่นยนต์ การรู้จำแบบ การรับรู้เยี่ยงมนุษย์ (human perception) ฯลฯ
-
ระบบเออาร์ (Augmented reality: AR) คือ สภาวะจริงที่แต่งเติมขึ้นด้วยเทคโนโลยี เช่น ผู้ใช้กำลังดูรถยนต์อยู่และ ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ ก็อาจจะใช้แว่นตาชนิดพิเศษซึ่งสามารถแสดงข้อมูลรถยนต์ซ้อนลงบนภาพรถยนต์ ที่กำลังมองอยู่ได้
-
ระบบบวีอาร์ (Virtual reality: VR) คือ การจำลองภาพให้เสมือนจริง แบบ ๓๖๐ องศา ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะต้องใช้ ควบคู่ไปกับอุปกรณ์สำคัญ คือ แว่นตา โดยผ่านการรับรู้ของเราไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น เสียง การสัมผัส หรือแม้กระ ทั้งกลิ่น และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้
-
จะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่าง AR และ VR ทำให้การนำไปประยุกต์ใช้งานนั้นแตกต่างกัน โดย AR นั้นจะเน้นไปที่ การผสานรวบรวมระหว่างวัตถุเสมือนรอบตัวเราเข้ากับสภาพแวดล้อมขณะนั้นจริงๆ ส่วน VR นั้นจะเน้นที่ตัดขาดออก จากโลกจริงเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งทั้ง VR และ AR สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การบันเทิง การสื่อสาร และ การศึกษา เป็นต้น
-
FinTech ย่อมาจากคำว่า “Financial Technology” เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้การดำเนิน กิจกรรมทางการเงินมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
แร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตชิปคอมพิวเตอร์
-
แร่ธาตุหลักที่ใช้ในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ คือ ลิเทียม และโคบอลต์แมงกานีส
-
ATM. ย่อมาจาก automatic teller machine.
-
QR Code ย่อมาจาก Quick Response คือ สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนข้อมูลต่าง ๆ ถือกำเนิดจาก ประเทศญี่ปุ่น
๔. ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการดำเนินงาน ดังนี้
๑. ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems: TPS) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรือ
งานขั้นพื้นฐานขององค์การ เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะ เกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้า ที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
๒. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)
คือ ระบบในการให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก รวมถึงสารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้ผู้บริหารสามารถ ตัดสินใจในการวางแผนการควบคุมและการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง โดยระบบนี้จะให้รายงานที่สรุป สารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท
๓. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS)
เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ MIS อีกระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบ MIS ของบริษัท แต่บ่อยครั้งที่ผู้ตัดสินใจโดยเฉพาะผู้บริหารในระดับสูง
จะเผชิญกับการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวล เข้าด้วยกันได้ อย่างถูกต้อง จึงทำให้เกิดระบบนี้ขึ้น
๔. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information System: EIS) เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ เป็นระบบที่
พัฒนามาจากระบบ DSS ขึ้นมาเป็นพิเศษเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการใช้งาน
๕. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)
คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มี ความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมา วิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรค ระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ เป็นต้น
๖. ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ เป็นระบบ
คอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบ อื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มากกว่าสารสนเทศ
๗. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS)
เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่าง เครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน QAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ แต่ส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูล อิเล็
- การทำงานของคอมพิวเตอร์มี ๔ ขั้นตอน คือ ๑. การนำเข้าข้อมูล ๒. การประมวลผล ๓. การแสดงผลลัพธ์ ๔. การเก็บข้อมูล
- คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่ ๑. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ ชิ้นส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ ๒. ซอร์ฟแวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่เขียนโดยโปรแกรมเมอร์เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
- เมนบอร์ด (Mainboard) คือ แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์
- ซีพียู (CPU) คือ หน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์
- แรม (RAM) คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้พักข้อมูลชั่วคราว
- รอม (ROM) คือ หน่วยความจำถาวร ที่ใช้บันทึกข้อมูลของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด
- อินเตอร์เนต (Internet) หมายถึง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงเครือข่ายมากมายทั่วโลกเข้าด้วยกัน เพื่อ อำนวยความสะดวกในการสืบค้น ข้อมูล คัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมมาใช้ รวมทั้งสื่อสารถึงกันทางอีเมล
- หน้าแรกของเว็บไซต์ต่าง ๆ เรียกว่า “โฮมเพจ” (Home Page)
- ๔G ย่อมาจาก Fourth Generation Wireless
- โปรแกรมสำนักงาน (Office Suite) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทำงานในสำนักงาน โดยมีการรวมซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เข้า ไว้ด้วยกัน โดยมีรูปแบบการใช้งานง่ายๆ และโดยปกติสามารถนำซอฟต์แวร์ในชุดมาใช้งานร่วมกันได้ เช่น Microsoft Word / Microsoft Excel / Microsoft Access / Microsoft PowerPoint เป็นต้น ๒. โดเมนเนม (Domain name)
- โดเมนเนม (Domain name) คือ ชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- โดเมนเนม แบ่งได้ ๒ ประเภท คือ ๑. โดเมนเนม ๒ ระดับ ประกอบด้วย (ชื่อโดเมน + ประเภทของโดเมน) เช่น www.apple.com เป็นต้น ประเภทขององค์กรที่พบ บ่อย มีดังต่อไปนี้ .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย
.org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร .edu คือ สถาบันการศึกษา .gov คือ องค์กรของรัฐบาล .mil คือ องค์กรทางทหาร ๒. โดนเมนเนม ๓ ระดับ ประกอบด้วย (ชื่อโดเมน + ประเภทของโดเมน + ประเทศ) เช่น www.google.co.th เป็นต้น ประเภทของ องค์กรที่พบบ่อยคือ .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ .ac คือ สถาบันการศึกษา .go คือ องค์กรของรัฐบาล .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร .th คือ ประเทศไทย .cn คือ ประเทศจีน .uk คือ ประเทศอังกฤษ .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น .au คือ ประเทศออสเตรเลีย ๓. เทคโนโลยี (Technology)
-
บล๊อกเชน (Blockchain) วิธีการเก็บข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงตามหลักการทางบัญชี โดยการเข้ารหัสและจัดเรียง ข้อมูลเหล่านี้ต่อกันตามลำดับเวลาที่ข้อมูลเข้ามา กลุ่มข้อมูลดังกล่าวจะเผยแพร่ไปให้ผู้ใช้ในเครือข่ายที่กำหนดได้ทราบ ทั่วกัน ทั้งนี้ ผู้ใช้ทุกคนจะทราบการแก้ไขเพิ่มเติมรายการเปลี่ยนแปลงในบล็อกเชนทุกรายการตลอดเวลา
-
คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) สินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรม ซึ่งใช้วิทยาการเข้ารหัสลับ สำหรับรับประกันความถูกต้องของธุรกรรมนั้น เพื่อควบคุมการสร้างหน่วยเงินดิจิทัลเพิ่ม และเพื่อยืนยันความถูกต้อง ของการโอนสินทรัพย์ เป็นเงินดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่ควบคุมโดยกระจายศูนย์กลางผ่านบล็อกเชน
-
บิ๊ก ดาต้า (big data) คือ ข้อมูลหลากหลายปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลดัชนีการค้นคืนของเว็บ ข้อมูลการสื่อสารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ข้อมูลในเครือข่ายสังคม ข้อมูลการพยากรณ์อากาศ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ฯลฯ
-
อวทาร์ (Avatar) คือ รูปแทนตัวผู้ใช้ในโลกเสมือนหรือเกม ซึ่งอาจเป็นสองมิติหรือสามมิติก็ได้
-
ระบบเอไอ (Artificial intelligence: AI) คือ สาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเน้นเรื่องที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ ทำงานได้ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น แบ่งย่อยออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น การแปลภาษาด้วยเครื่อง ระบบผู้เชี่ยวชาญ วิทยาการหุ่นยนต์ การรู้จำแบบ การรับรู้เยี่ยงมนุษย์ (human perception) ฯลฯ
-
ระบบเออาร์ (Augmented reality: AR) คือ สภาวะจริงที่แต่งเติมขึ้นด้วยเทคโนโลยี เช่น ผู้ใช้กำลังดูรถยนต์อยู่และ ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ ก็อาจจะใช้แว่นตาชนิดพิเศษซึ่งสามารถแสดงข้อมูลรถยนต์ซ้อนลงบนภาพรถยนต์ ที่กำลังมองอยู่ได้
-
ระบบบวีอาร์ (Virtual reality: VR) คือ การจำลองภาพให้เสมือนจริง แบบ ๓๖๐ องศา ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะต้องใช้ ควบคู่ไปกับอุปกรณ์สำคัญ คือ แว่นตา โดยผ่านการรับรู้ของเราไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น เสียง การสัมผัส หรือแม้กระ ทั้งกลิ่น และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้
-
จะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่าง AR และ VR ทำให้การนำไปประยุกต์ใช้งานนั้นแตกต่างกัน โดย AR นั้นจะเน้นไปที่ การผสานรวบรวมระหว่างวัตถุเสมือนรอบตัวเราเข้ากับสภาพแวดล้อมขณะนั้นจริงๆ ส่วน VR นั้นจะเน้นที่ตัดขาดออก จากโลกจริงเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งทั้ง VR และ AR สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การบันเทิง การสื่อสาร และ การศึกษา เป็นต้น
-
FinTech ย่อมาจากคำว่า “Financial Technology” เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้การดำเนิน กิจกรรมทางการเงินมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
แร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตชิปคอมพิวเตอร์
-
แร่ธาตุหลักที่ใช้ในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ คือ ลิเทียม และโคบอลต์แมงกานีส
-
ATM. ย่อมาจาก automatic teller machine.
-
QR Code ย่อมาจาก Quick Response คือ สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนข้อมูลต่าง ๆ ถือกำเนิดจาก ประเทศญี่ปุ่น ๔. ระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการดำเนินงาน ดังนี้ ๑. ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems: TPS) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรือ งานขั้นพื้นฐานขององค์การ เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะ เกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้า ที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า ๒. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) คือ ระบบในการให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก รวมถึงสารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้ผู้บริหารสามารถ ตัดสินใจในการวางแผนการควบคุมและการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง โดยระบบนี้จะให้รายงานที่สรุป สารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท ๓. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ MIS อีกระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบ MIS ของบริษัท แต่บ่อยครั้งที่ผู้ตัดสินใจโดยเฉพาะผู้บริหารในระดับสูง
จะเผชิญกับการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวล เข้าด้วยกันได้ อย่างถูกต้อง จึงทำให้เกิดระบบนี้ขึ้น ๔. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information System: EIS) เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ เป็นระบบที่ พัฒนามาจากระบบ DSS ขึ้นมาเป็นพิเศษเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการใช้งาน ๕. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มี ความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมา วิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรค ระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ เป็นต้น ๖. ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ เป็นระบบ คอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบ อื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มากกว่าสารสนเทศ ๗. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS) เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่าง เครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน QAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ แต่ส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูล อิเล็