การส่งเสริมการคิดขั้นสูงของผู้เรียน PDF

Summary

เอกสารนี้กล่าวถึงทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเชิงระบบ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหา เอกสารยังได้อธิบายแนวทางในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Full Transcript

1 ทักษะการคิด การคิด เป็นกระบวนการทำงานของสมองที่มีความสลับซับซ้อน โดยมีสาเหตุมาจากสิ่งเร้า สภาพแวดล้อม เช้ามากระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง การคิดสามารถแบ่งได้ 2 ระดับคือ 1. การคิดขั้นพื้นฐาน เป็นการคิดเกี่ยวกับความจำ...

1 ทักษะการคิด การคิด เป็นกระบวนการทำงานของสมองที่มีความสลับซับซ้อน โดยมีสาเหตุมาจากสิ่งเร้า สภาพแวดล้อม เช้ามากระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง การคิดสามารถแบ่งได้ 2 ระดับคือ 1. การคิดขั้นพื้นฐาน เป็นการคิดเกี่ยวกับความจำ การทำความเข้าใจ การเรียกใช้ข้อมูล การให้ข้อมูลจาก สิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นการคิดที่ไม่ซับซ้อน ไม่มีรายละเอียดมากนัก และไม่ต้องใช้เหตุผลในการอธิบายหรือนำเสนอมาก นัก กล่าวได้ว่า เป็นการคิดที่ใช้ทักษะการคิดไม่หลากหลาย 2. การคิดขั้นสูง เป็นการคิดที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ หรือเรียกว่า “กระบวนการคิด” เป็นการคิดที่ ซับซ้อน ใช้ทักษะการคิดหลากหลาย ประกอบด้วย การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเชิงระบบ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ความซับซ้อนของการคิดสามารถพิจารณาได้จาก - ปริมาณข้อมูลที่นำมาคิด - เป้าหมายของการคิด - ความยากง่ายของการตีความสิ่งเร้า - ปริมาณทักษะการคิดที่นำมาใช้ - ปริมาณข้อจำกัดหรือเงื่อนไขของการคิด - ความหลากหลายในการเชื่อมโยง - ระยะเวลาที่ใช้ในการคิด - ความยากง่ายของการนำเสนอข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำกรอบหลักสูตร โครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดขั้นสูง เพื่อให้สามารถปรับตัวทันการ เปลี่ยนแปลงด้านความรู้และเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยกำหนดเป็นสมรรถนะการคิดขั้นสูงที่มีองค์ประกอบการคิด ดังนี้ สมรรถนะการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking Skills: HOTS) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์สังเคราะห์ และตัดสินใจอย่างมีวิจารญาณโดยใช้เหตุผลอย่างรอบด้าน มีคุณธรรมกำกับการตัดสินใจ ใช้ ความเป็นเหตุเป็นผลที่ตั้งอยู่บนความเข้าใจในความเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ ใช้จินตนาการ และความรู้สร้างทางเลือก ใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีเป้าหมาย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking : HOT-CTC) หมายถึง การคิดพิจารณาไตร่ตรอง อย่างมีเหตุผลที่มีจุดประสงค์เพื่อตัดสินว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือควรกระทำ โดยอาศัยการใช้ทักษะหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ของผลลัพธ์จากการตัดสินใจที่ดี เช่น ทักษะการตีความ ประเมิน วิเคราะห์ สรุปความ และ อธิบาย ตามหลักฐาน แนวคิด วิธีการ กฎเกณฑ์ หรือบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่รวบรวมหรือข้อมูลจากการ สังเกต ประสบการณ์ การใช้เหตุผล การสะท้อนคิด การสื่อสาร และการโต้แย้ง 2. การคิดเชิงระบบ (System Thinking : HOT-STM) หมายถึง การคิดที่แสดงให้เห็นโครงสร้าง ทั้งหมดที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้บริบท/ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่เกิดปัญหานั้น ๆ โดยมอง ปัญหาให้ลึกลงไปกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้เห็นถึงแบบแผนหรือรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นให้เห็นรากเหง้าของ 2 สถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น ๆ จนเกิดความเข้าใจในสถานการณ์ของระบบนั้นอย่าง ลึกซึ้ง นำไปสู่การแก้ปัญหาที่รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง 3. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking : HOT-CRT) หมายถึง การคิดที่หลากหลาย ริเริ่ม ประเมิน ปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาต่ อ ยอดความคิ ด เพื ่ อ การแก้ ป ั ญ หาหรื อ สร้ า งทางเลื อ กที ่ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ การสร้ า ง ความก้าวหน้าในความรู้ หรือการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยอาศัยจินตนาการและทักษะพื้นฐานด้านการคิด ริเริ่ม คิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ คิดหลากหลาย คิ ดวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่า แตกต่างไปจากเดิม มีประโยชน์ และมีคุณค่าต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมมากกว่าเดิม 4. การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking : HOT-PRB) หมายถึง การคิดของบุคคลในการ ระบุปัญหา นิยามปัญหา รวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เลือกทางเลือกในการแก้ปัญหา และดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจนและครอบคุลมทุกมิติ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) คือ การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดวิเคราะห์ หรือการใช้ วิจารณญาณในการคิดเรื่องต่างๆ เป็นการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเพื่อทำความเข้าใจปัญหาหรือเรื่องราวอย่างละเอียด โดยทั่วไปกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล ช่วยเพิ่มมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ และเพิ่มโอกาสหรือความเป็นไป ได้ทางความคิด แนวทางการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 1. ระบุปัญหา เป็นขั้นทำความเข้าใจปัญหา ข้อคำถาม ข้ออ้าง หรือข้อโต้แย้งต่างๆ เพื่อกำหนดประเด็นข้อ สงสัย 2. รวบรวมข้อมูล เป็นขั้นเลือกเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือสถานการณ์ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น เอกสารหรือการสรุปจากทัศนะของบุคคลอื่น พร้อมทั้งพิจารณาความครบถ้วนสมบูรณ์ และความน่าเชื้อถือของ ข้อมูล 3. จัดระบบข้อมูล เป็นการระบุลักษณะของข้อมูล จำแนกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการ พิจารณาแยกแยะ เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูล การตีความข้อมูล การประเมินข้อเท็จจริงจากข้อมูลที่ รวบรวมได้ 4. ตั้งสมมติฐาน เป็นความสามารถในการคาดคะเนคำตอบของปัญหาจากสถานการณ์ปัญหา โดยมอง หาทางเลือกจากความสัมพันธ์เชิงเหตุผลหลายๆ ทางในการแก้ปัญหา และเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาได้ 5. สรุป เป็นความสามารถในการสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล ซึ่ง อาจใช้การสรุปเหตุผลเชิงอุปนัย โดยพิจารณาข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปสู่กฎเกณฑ์ หรือสรุปเหตุผลเชิงนิรนัย โดยพิจารณาจากกฎเกณฑ์และหลักการทั่วไป ไปสู่เรื่องเฉพาะ 6. ประเมินสรุปผล เป็นการประเมินความถูกต้อง สมเหตุสมผลของข้อสรุป พิจารณาข้อมูลหรือหลักฐาน ในการให้เหตุผลเกี่ยวกับประเด็นปัญหาจากสถานการณ์ปัญหาว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ มีการตัดสิน คุณค่าอย่างไร 3 ประโยชน์ของการคิดอย่างมีวิจารญาณ - ช่วยกำหนดเป้าหมายให้คิดอย่างถูกทาง - สามารถระบุประเด็นในการคิดได้อย่างชัดเจน - มีการประมวลข้อมูลทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิดทั้งทางกว้าง ทางลึก - วิเคราะห์ข้อมูลและเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้ - มีการพิจารณาประเมินข้อมูลและทางเลือกที่หลากหลาย - ใช้หลักเหตุผล พิจารณาข้อมูลและเสนอคำตอบ หรือทางเลือกที่สมเหตุสมผลได้ - เลือกลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้ ลักษณะของผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ - เป็นคนใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล ไม่ยึดความคิดเห็นของตนเองเป็น หลัก - เมื่อต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งต้องมีข้อมูลหลักฐานเพียงพอ - เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูลและความรู้อยู่เสมอ - เป็นผู้ที่มีเหตุผล ไม่ใช้อคติหรืออารมณ์ของตนเองเป็น - สามารถรับรู้สถานการณ์ความคิด ความรู้สึกของผู้อื่นได้ดี การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงระบบ (System Thinking) เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์ เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพื่อให้เกิด ความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วในองค์รวม โดยไม่มองเฉพาะองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งแต่จะมองภาพใหญ่ ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นปัญหา แล้วแก้ปัญหาทั้งในภาพใหญ่และภาพย่อย เชื่อมโยง สร้างสรรค์และทำงาน เป็นทีมอย่างเป็นระบบ การคิดเชิงระบบเป็นการมองปัญหาที่ลึกลงไปกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการมองให้เห็นถึงแบบแผนหรือ รูปแบบพฤติกรรที่เกิดขึ้น หากเปรียบเทียบการคิดเชิงระบบกับภูเขาน้ำ แข็งที่โผล่เหนือน้ำจะสามารถวิเคราะห์วิธี คิดเชิงระบบได้ 4 ระดับ 4 ระดับการคิดของวิธีคิดเชิงระบบ ที่มา: https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=3327&context=educujournal 1. การคิดในระดับสถานการณ์ (even) เป็นการคิดตามเหตุการณ์หรือสถานการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้น โดยไม่ คำนึงถึงสาเหตุของสถานการณ์นั้น การแก้ปัญหาจึงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้สถานการณ์ นั้นสิ้นสุดลง ไปโดยยังไม่ได้ทำในสิ่งที่เป็นต้นเหตุของปัญหาหรือสถานการณ์นน้ั ๆ 2. การคิดในระดับแบบแผน (pattern) เป็นการคิดที่แสดงให้เห็นถึง ภาพนิ่งของเหตุการณ์ เป็นการทำ ความเข้าใจกับความจริงที่เกิดขึ้น ในระดับที่ลึกลงไปถึงแนวโน้มของเหตุการณ์นั้นๆ โดยมีการใช้ข้อมูลทางสถิติมา ประกอบการมองสถานการณ์ และมีการสืบค้นข้อมูลที่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปั ญหานั้นภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง ทำ ให้เข้าใจถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งนำไปสู่การคิดในระดับโครงสร้างต่อไป 3. การคิดระดับโครงสร้าง (structure) เป็นการเข้าถึงโครงสร้างต่าง ๆ ของปัญ หา ทำให้ได้คำตอบหรือ คำอธิบายเกี่ยวกับแบบแผนที่เกิดขึ้น ทำให้เข้าใจว่าแบบแผนพฤติกรรที่เกิดขึ้นเกิดจากโครงสร้างใดบ้าง ทำให้ เกิด ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงสาเหตุของปัญหา 4. ระดับภาพจำลองของความคิด (mental model) เป็นส่วนที่ซ่อนอยู่ใต้สุดของภูเขาน้ำแข็ง แต่เป็นสิ่งที่ มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากสุด เช่น ค่านิยม ทั ศนคติ ความเชื่อ เปรียบเสมื อนความคิดในระดับลึก ที่ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันต่อการกระทำสิ่งต่างๆ ได้ 5 แนวทางการพัฒนาการคิดเชิงระบบ 1. ระบุประเด็นปัญหา โดยการกระตุ้นให้ผู้เรีนนได้เผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทาย ช่วยให้เกิดการคิดเชิง ระบบในการแก้ปัญหาหรือหาคำตอบ ซึ่งควรเป็นสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการคิดหลายแนวทาง 2. การรวบรวมข้อมูลและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการค้นหาข้อมูลเพื่อจัดหมวดหมู่และกำหนดเป็นตัว แปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา อาจทำเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อให้มองเห็นทิศทางความสัมพันธ์ของ ตัวแปรต่างๆ 3. การพิจารณาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและผลของปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ เชิงเหตุและผลกของข้อมูลแต่ละชุด นำมเชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบของวงจรป้อนกลับ ทำให้เกิดความ เข้าใจกับปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มองเห็นองค์รวมขององค์ประกอบต่างๆ ในสถานการณ์นั้นๆ 4. การสร้างสรรค์แผนการแก้ปัญหา และพิจารณาความเป็นไปได้ เป็นขั้นตอนการพิจารณาแนวทางการ แก้ปัญหาที่เกิดจากการมองปัญหาแบบองค์รวม เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง ประโยชน์ของการคิดเชิงระบบ - มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นองค์รวมมากกว่าเห็นเพียงเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง - เห็นและเกิดความตระหนักว่าส่วนย่อยของระบบทำงานร่วมกันอย่างไร สัมพันธ์กนั อย่างไร - เห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยว่ามีอิทธิพลต่อแบบแผนพฤติกรรม และเหตุการณ์อย่างไร - ช่วยให้เข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้นตากเหตุการณ์ แม้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นนานแล้ว - ทำให้เริ่มคิดว่าการกระทำของตนเองมีผลกระทบระยะสัน้ และระยะยาวต่อสิง่ ต่างๆ อย่างไร - ปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีและถาวร ไม่เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่เป็นการ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์มาจากกระบวนการของสมอง เป็นความสามารถในการคิดแบบกระจายความคิดได้ กว้างหลายแง่มุม เพื่อนำไปสู่การจัดรูปแบบความคิด ใหม่ๆ นำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่ งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้ เกิดขึ้น ความคิดสร้างสรรค์จึงมีความสำคัญ 4 ระดับ คือ 1. ความสำคัญต่อปัจเจกบุคคล บุคคลเป็นแหล่งกำเนิดความคิดสร้ างสรรค์ ทำให้สามารถพัฒนาตนเอง พัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ความสำคัญต่อองค์กร ความคิ ดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชน เนื่องจากทุกหน่วยงานใช้เทคนิคการคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพ เช่น ปรับปรุงพัฒนา ผลิตภัณฑ์ หรือการออกแบบองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศในการทำงานได้ 3. ความสำคัญต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากการเจริญเติบโตทางสังคมและ เศรษฐกิจของประเทศในยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีรู ปแบบแนวคิดแบบองค์รวม ประชากรในประเทศที่มี ความคิด สร้างสรรค์จะช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรมที่ช่วยสร้างรายได้ทั้งแก่ตนเองและสร้างการส่งออก ของประเทศได้ 6 4. ความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ โลกมนุษย์ต้องการผู้ที่สามารถคิดเพื่อคนอื่น ๆ สามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ ตามความคิดและประสบการณ์ของตนเอง เพื่อการดำรงชีวิต และพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น กว่าเดิม รวมถึงมี ความสามารถในการพัฒนาสังคม พัฒนาประเทศ และพัฒนาโลกให้มีลักษณะที่เหมาะสมมากที่สุด องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 1. ความคิ ด คล่ อ งตั ว (Fluency) หมายถึ ง ความสามารถของสมองในการคิ ด หาคำตอบได้ อ ย่ า ง คล่องแคล่วรวดเร็วหรือคล่องตัวในการคิดตอบสนองต่อสิ่งเร้าให้ได้มากที่สุด โดยไม่ซ้ำกัน แบ่งเป็น 1.1 ความคล่องแคล่วทางด้านภาษาหรือถ้อยคำ (Work Fluency) เป็นนความสามารถใน การใช้ถ้อยคำ ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว 1.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เน้นความสามารถที่จะคิดหา ถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่ กำหนด 1.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความสามารถ ในการใช้วลี หรือประโยคคือความสามารถที่จะนำาคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ 1.4 ความคล่องในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดสิ่งที่ต้องการ ภายในเวลาที่ กำหนด 2. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของความคิด แบ่งออกเป็น 2.1. ความคิดยืดหยุ่นที่ที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้ หลายทางอย่างอิสระ 2.2 ความคิดเห็นยืดหยุ่นทางการดัดแปลง (Adapter Flexibility) หมายถึงความสามารถในการดัดแปลง ความรู้หรือประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์หลาย ๆ ด้าน 3. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึงความสามารถทางสมองในการหาคำตอบที่แปลกใหม่และเป็น คำตอบที่ไม่ซ้ำกับคำตอบของผู้อื่น เป็นความคิดที่แตกต่างไปจากความคิดธรรมดา 4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึงความคิดเกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง เพื่อ ทำให้คิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึน้ ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ - สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่จำเจทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลง - สร้างความฉลาดเฉียบคม จากการฝึกคิดหรือพยายามคิดเรื่องแปลกๆ ใหม่ๆ เป็นประจำ - สร้างความเชื่อมั่นและความน่านับถือ กลายเป็นผู้นำความคิด เพิม่ ความเชื่อมั่นในตนเองได้ - สร้างความคิดใหม่เสมอ ช่วยให้สมองเกิดการพัฒนาได้แนวทางการแก้ปัญหาและเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ - สร้างรายได้ บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะนำไปสู่ช่องทางที่สร้างรายได้ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำ ใคร - สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ช่วยพัฒนาปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตประจำงวันของมนุษย์ให้ง่ายมากขึ้น แนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 1. ขั้นความรู้ความเข้าใจ (Cognition) เป็นขั้นที่รู้ความต้องการที่จะแก้ปัญหา เข้าใจว่าสิ่งใดเป็นปัญหา 2. ขั้นหามโนมติ (Conception) เป็นขั้นตอนที่จะทำการศึกษา สำรวจ แสวงหาแนวคิดด้วย วิธีการต่าง ๆ หาจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละแนวคิดเหล่านั้น 7 3. ขั้นการค้นพบ (Combustion) เป็นขั้นที่ค้นพบวิธีแก้ปัญหาด้วยวิจารณญาณ จิตสำนึก เป็นขั้นตอน แห่งการสร้างสรรค์ของความคิด 4. ทบทวนแก้ไข (Consummation) เป็นขั้นตอนที่เป็นการทบทวนดัดแปลง แก้ไขความคิดที่เกิดจากการ ค้นพบ 5. ขั้นการสื่อสารและเผยแพร่ผลงาน (Communication) เป็นขั้นตอนที่จะเกิดการแลกเปลี่ยน ความคิด และแนวทางการคิดหรือการทำงานกับผู้อื่น เพื่อให้รู้จักผลการคิดของเรา ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ - เป็นคนที่สนใจปัญหา ยอมรับการเปลี่ยนแปลง กล้าที่จะเผชิญปัญหา - เป็นคนที่มคี วามสนใจกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์รอบด้าน ต้อการเอาใจใส่ในการศึกษาหาความรู้จาก สิ่งต่างๆ เพิ่มเติมเสมอ - เป็นคนชอบคิดหาทางแก้ปัญหาไว้หลายทาง มีความสามานถในการรวบรวมข้อมูล - มีความสามารถในการคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆ การคิดแก้ปัญหา การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking) เป็นกระบวนการหรือขั้นตอนที่ผ่านการคิด โดยอาศัย ความรู้ประสบการณ์ในการขจัดอุปสรรค หรือปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ต้องการ การคิดแก้ปัญหา จะมีลักษณะสำคัญ คือ เป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมาย มีลำดับขั้นตอน กระทำด้วยความรู้คิด และทำเป้าหมายย่อย ให้สำเร็จ โดยการคิดแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้ - ประสบการณ์เดิม จะทำให้บุคคลเกิดชุดของการแก้ปัญหาหนึ่งๆ ขึ้นภายในสมอง ทำให้ยึดติดกับ วิธีการแก้ปัญหาเดิม ทำให้อาจเกิดทั้งผลด้านบวกและด้านลบ โดยผลทางด้า นบวก คือ สามารถคิดแก้ปัญหาได้ อย่างรวดเร็ว แต่ในด้านลบจะทำให้เกิดการขัดขวางการคิดแก้ปัญหา ทำให้ไม่เกิด แนวการแก้ปัญหาใหม่ๆ หรือ วิธีการอื่นที่อาจเหมาะสมกว่า - แรงจูงใจและอารมณ์ แรงจูงใจภายในของบุคคลที่คิดจะแก้ปัญหาหรือมีความพยายามเร้าให้ บุคคลนั้นคิดแก้ปัญหา หรือบุคคลที่สามารถควบคุมอารมณ์ ของตนเองและใส่ใจในการหาคำตอบของปัญหาจะ สามารถแก้ปัญหาได้เร็วและมีประสิทธิภาพ - ความเชี ่ ย วชาญ ความสามารถในการแก้ ปั ญ หาระหว่ า งผู้ ที ่ มี ค วามเชี ่ ยวชาญกั บ ผู ้ ที่ เริ่ มคิด แก้ปัญหามีความแตกต่างกัน ทั้งในแนวทางที่ใช้ในการคิด และลักษณะของปัญหาที่ทำการคิด เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ จะมีความสามารถสูงและกว้างขวางในการจัดระบบความรู้ของตน อย่างเป็นขั้นตอนมากกว่าผู้ที่ไม่เคยคิดแก้ปัญหา เลย - ความสามารถในการคิดแบบอเนกนัย คนที่มีความสามารถในการคิดแบบอเนกนัยจะมีส่วนช่วยให้ค้นพบ วิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ หรือคิดได้หลายแนวทาง 8 แนวทางการพัฒนาการคิดแก้ปัญหา 1. ขั้นระบุปัญหา โดยระบุว่าปัญ หาใดเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไข เพราะเมื่อรู้ว่ามีสิ่งใดเป็น ปัญหา เกิดขึ้นอาจมีหลายปัญหาต่อเนื่องตามมา จึงควรแยกแยะแต่ละเรื่องและระบุได้ว่าปัญหาใดควรเร่งแก้ไขก่อน 2. ขั้นกำหนดความชัดเจนของปัญหา ควรนิยามปัญหาให้ชัดเจนเพียงพอที่ จะทำความเข้าใจแนวทางการ แก้ปัญหานั้น 3. ขั้นกำหนดกลยุทธ์การแก้ปัญหา เป็นการวางแผนในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยใช้ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การคิด แบบอเนกนัยและเอกนัยเพื่อหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายแล้วผสมผสาน แนวความคิดทีห่ ลากหลายนั้นให้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด 4. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อ แก้ปัญ หา เป็นการจัดระบบสารสนเทศที่ห ามาได้ให้สามารถนำมา ประยุ ก ต์ ใช้ในกลยุ ท ธ์ต ่ างๆ ให้ ไ ด้ ม ากที ่ส ุ ด โดยการบู ร ณาการข้ อมู ลทั ้ง หมดเพื ่อ นำไปแก้ ไขปั ญ หาอย่างมี ประสิทธิภาพ 5. ทำการจัดสรรทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหา ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เช่น เวลา เงิน เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการใช้แก้ปัญหาทั้งสิ้น การจัดการทรัพยากรให้เพียงพอต่อการใช้แก้ปัญหาจึงเป็นสิ่งที่ช่วยเสริม ให้การแก้ปัญหาสำเร็จลงได้ 6. การกำกับติดตามผลการแก้ปัญหา ควรติดตามการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ ตลอดเวลาที่ ปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจว่า แนวทางการแก้ปัญหาสามารถไปสู่เป้าหมายได้ ซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าไม่สามาถไปสู่ เป้าหมาย ผู้แก้ปัญหาควรพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ และค้นหาสาเหตุของความผิดพลาดและกำหนดแนวทาง ใหม่ 7. การประเมินผลการแก้ปัญหา อาจทำการประเมินผลทันทีที่แก้ปัญหาเสร็จ หรือทิ้งไว้ระยะหนึง่ แล้วค่อย ประเมินผลการแก้ปัญหา จะทำให้เกิดข้อค้นพบที่เป็นความรู้ใหม่ๆ ได้ เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สมรรถนะการคิดขั้นสูง. สืบค้นจาก https://cbethailand.com ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2017). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์สอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. Journal of Education Studies, 45 (2), สืบค้นจาก https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=3327&context=educujournal ทิพย์วัลย์สีจันทร์. (2549). การคิดและการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน ดุสิต. ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด. ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2565). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์. ครุศาสตร์สาร, 16 (1), 14- 3, สืบค้น จาก https://edujournal.bsru.ac.th/publishes/20/articles/381.

Use Quizgecko on...
Browser
Browser