แผนปฏิรูปประเทศ PDF
Document Details
Uploaded by SharperFife201
Chonradsadornumrung School
ศิริชัย วิชชุวัชรากร
Tags
Summary
เอกสารนี้เป็นแผนปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วยแผนปฏิรูปประเทศ, นโยบายไทยแลนด์ 4.0, และกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ.
Full Transcript
เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! แผนปฏิรูปประเทศ ๑. ด้านการเมือง ๒. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ๓. ด้านกฎหมาย ๔. ด้านกระบวนการยุติธรรม...
เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! แผนปฏิรูปประเทศ ๑. ด้านการเมือง ๒. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ๓. ด้านกฎหมาย ๔. ด้านกระบวนการยุติธรรม ๕. ด้านเศรษฐกิจ ๖. ด้านสังคม ๗. ด้านพลังงาน ๘. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๙. ด้านสาธารณสุข ๑๐. ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมชิ อบ ๑๒. ด้านการศึกษา ๑๓. ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๑ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) นโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ความหมายและวิวัฒนาการ ไทยแลนด์ ๔.๐ หมายถึง “วิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ” โดยมีวิวัฒนาการ ดังนี้ ประเทศไทย ๑.๐ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย เกษตรกรรม เช่น ผลิตและขาย พืชไร่ พืชสวน หมู หมา กา ไก่ เป็นต้น ประเทศไทย ๒.๐ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย อุตสาหกรรมเบา (ไม่สลับซับซ้อน) เช่น การผลิตและ ขายรองเท้า เครื่องหนัง เครื่องดื่ม เครื่องประดับ เครื่องเขียน กระเป๋า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ประเทศไทย ๓.๐ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย อตุสหกรรมหนัก (สลับซับซ้อน) เช่น การผลิตและขาย ส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ กลั่นนำมัน แยกก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น ประเทศไทย ๔.๐ ขั บ เคลื ่ อ นเศรษฐกิ จ ของประเทศด้ ว ยนวั ต กรรม (Value–Based Economy) หรื อ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยประเทศไทย ๓.๐ ทำมากแต่ได้น้อย ส่วนประเทศไทย ๔.๐ ทำน้อย แต่ได้ มาก เนื่องจากนำนวัตกรรมมาใช้ เหตุผลในการเปลี่ยนจากประเทศไทย ๓.๐ เป็นประเทศไทย ๔.๐ ๑. ประเทศติดกับดักรายได้ปานกลาง ๒. ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง อำนาจ และโอกาส ๓. ความไม่สมดุลของการพัฒนา กลไกขับเคลื่อน (Engines of Growth) ประกอบด้วย ๑. Productive Growth Engine เป้าหมายสำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนประเทศไทยสู่ประเทศที่มีรายได้สู ง (High Income Country) ที่ขับเคลื่อน ด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ กลไกดังกล่าว ประกอบไปด้วย การสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ การบริหารจัดการสมัยใหม่ และการสร้างคลัสเตอร์ทางด้านเทคโนโลยี การพัฒนาขีด ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม กิจการร่วมทุนรัฐและเอกชน ในโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงการบ่มเพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์ความพยายามในการ ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๒ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ๒) Inclusive Growth Engine เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และเป็นการกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งที่เกิดขึ้น โดยกลไกนี้ ประกอบด้วย การสร้างคลัสเตอร์เศรษฐกิจระดับกลุ่มจังหวัด การพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชน การส่งเสริม วิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อตอบโจทย์ประเด็นปัญหาและความท้าทายทางสังคมในมิติต่าง ๆ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ การส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้มแข็งและสามารถ แข่งขันได้ในเวทีโลก การสร้างงานใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การยกระดับขีดความสามารถ การ เสริมสร้างทักษะและการเติมเต็มศักยภาพของประชาชนให้ทันกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก และการจ่าย ภาษีให้แก่ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดแบบมีเงื่อนไข (Negative Income Tax) เพื่อแก้ไขกับดักความเหลื่อมล้ำที่ เกิดขึ้นในปัจจุบัน ๓) Green Growth Engine การสร้างความมั่งคั่งของไทยในอนาคต จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื ่ อ ตอบโจทย์ก ารหลุด ออกจากกับดักความไม่ ส มดุ ล ของการพั ฒนาระหว่า งคนกั บสภาพ แวดล้ อ ม โดยกลไกนี้ ประกอบด้วย การมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน การปรับแนวคิดจากเดิมที่คำนึงถึงความได้เปรียบเรื่องต้น ทุน (Cost Advantage) เป็นหลัก มาสู่การคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้จากการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งระบบ (Lost Advantage) หัวใจสำคัญอยู่ที่การพัฒนากระบวนการผลิตให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อันจะเกิดประโยชน์กับประเทศ และประชาคมโลกด้วยในเวลาเดียวกัน เปลี่ยนองค์ประกอบที่สำคัญ ๔ องค์ประกอบ ๑. เปลี่ยนจากเกษตรดั้งเดิม เป็นเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยี และเกษตรกรต้อง เป็นผู้ประกอบการ ๒. เปลี่ยนจาก SME เป็น Startups หรือ Smart Enterprises ๓. เปลี่ยนจากบริการดั้งเดิม เป็นบริการสมัยใหม่ที่เน้นมูลค่าสูงขึ้น ๔. เปลี่ยนจากแรงงานทีม่ ีทักษะต่ำ ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะสูง ประเทศไทย ๔.๐ นำมาใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ๕ กลุ่ม ๑. กลุ่มเกษตรและอาหาร เช่น เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร เป็นต้น ๒. กลุ่มอุตสาหกรรม บริการ และวัฒนธรรมที่มีมลู ค่าสูง เช่น เทคโนโลยีการออกแบบ ธุรกิจไลฟ์สไตล์ เทคโนโลยีการท่องเที่ยว การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ เป็นต้น ๓. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีการแพทย์ เช่น พัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ สปา เป็นต้น สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๓ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เนื้อหาครอบคลุมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารด้วยวิธีการคัดเลือกและสอบคัดเลือก (รอบ ๔) ๔. กลุ่มอุปกรณ์อจั ฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เป็นต้น ๕. กลุ่มดิจิตอลและอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อระบบบปัญญาประดิษฐ์ เช่น เทคโนโลยีด้านการเงิน อุปกรณ์ เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน เทคโนโลยีการศึกษา อี–มาร์เก็ตเพลส อี–คอมเมิร์ซ เป็นต้น สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๔ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law เอกสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของนายศิริชัย วิชชุวัชรากร ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาด !! ประชารัฐ นโยบายประชารัฐ เป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะ เป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งมี แนวคิดว่า การพัฒนาประเทศต้องอาศัยความร่วมมือทุกฝ่ายและ จะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” แบ่งได้เป็น 2 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ 1) “รัฐบาล” กับ “ประชาชน” : โดย “รัฐ” หรือรัฐบาล จะเป็นผู้อำนวยความสะดวก สนับสนุน และเปิด ช่องทางให้ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป เข้ามามีส่วนร่วมตามกระบวนการประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนเข้าใจการ บริหารงานของรัฐบาลในเรื่องต่าง ๆ และไม่สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับรัฐบาล 2) “ประชาชน” กับ “เจ้าหน้าที่รัฐ” คือ การทำงานร่วมกันของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน โดยการสร้าง “เครือข่ายประชารัฐ” ในทุกด้าน ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงและเสริมสร้างการมี ส่วน ร่วมของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน อันเป็นแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลปัจจุบัน เพื่อให้การบริหาร จัดการงบประมาณของรัฐมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อการพัฒนาประเทศการพัฒนา ชุมชน และการพัฒนาสิทธิและสวัสดิการของรัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ไม่ให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำใน สังคมเช่นที่ผ่านมา นโยบายประชารัฐแตกต่างจากนโยบายประชานิยม ดังนี้ 1. ประชารัฐเป็นการร่วมมือ 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน แต่นโยบายประชานิยมไม่มี การร่วมมือ หรือ การร่วมกันรังสรรค์ กล่าวคือ รัฐบาลเป็นผู้ให้ประโยชน์กับภาคเอกชนกับภาคประชาชน เพียงฝ่าย เดียว 2. นโยบายประชารัฐ จะทําให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สังคมควบคุมรัฐ” เพราะประชาชนและภาคเอกชน จะมีบทบาทในการพัฒนาประเทศอย่างมาก แต่นโยบายประชานิยมทําให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า“รัฐควบคุมสังคม” เพราะรัฐมีบทบาทในการพัฒนาประเทศเพียงฝ่ายเดียว 3. นโยบายประชารัฐ จะเป็นผลดีในระยะยาว Long Term Gain แต่ในระยะสั้นจะทําให้เกิดผลเสีย Short Term Loss อยู่บ้าง เพราะประชาชนจะยังไม่ได้รับประโยชน์ในทันที แต่ในทางกลับกันหากใช้นโยบาย ประชานิยม ประชาชนจะได้รับประโยชน์แค่ในระยะสั้นเท่านั้น (Short Term Gain) แต่ในระยะยาวจะเกิดผลเสีย ต่อประชาชน (Long Term Loss) สมัครติวโทร ๐๘๙-๒๗๑๐-๗๗๗ / ๐๘๑-๘๗๖๕-๘๗๗ ๕ ID LINE: NareeNadear / Sichai_Law